backup og meta

โรคมะเร็งที่พบได้ยาก มีอะไรบ้าง วิธีการรักษาเป็นอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 22/06/2021

    โรคมะเร็งที่พบได้ยาก มีอะไรบ้าง วิธีการรักษาเป็นอย่างไร

    เมื่อพูดถึง “มะเร็ง” หลายคนคงรู้ดีว่า เป็นโรคที่เมื่อเป็นแล้วอาจจะรักษาหายได้ยาก หรือบางครั้งถ้าตรวจพบช้าก็สามารถคร่าชีวิตได้ มะเร็งนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งปอด มะเร็งตับ หรือมะเร็งลำไส้ เป็นต้น นอกจากมะเร็งที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ยังมี โรคมะเร็งที่พบได้ยาก อยู่ด้วย ว่าแต่โรคมะเร็งที่พบได้ยากนั้นมีอะไรบ้าง ลองมาติดตามกัน

    โรคมะเร็ง คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

    โรคมะเร็ง (Cancer) คือ ภาวะที่เซลล์ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เซลล์มีการเจริญเติบโตมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุม และจำกัดขอบเขตได้ ทำให้มีการลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เช่น เข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าหลอดเลือด กระแสเลือด และหลอดน้ำเหลืองไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย มะเร็งบางชนิดอาจไม่มีความผิดปกติของร่างกายใดๆ ให้เห็น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการการตรวจคัดกรอง (Screening For Cancer) เป็นการตรวจโรคในระยะต้น สาเหตุการเกิดนั้นยังไม่ระบุได้แน่ชัด ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือการรับสารเคมี รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ

    โรคมะเร็งที่พบได้ยาก มีอะไรบ้าง 

    สำหรับ โรคมะเร็งที่พบได้ยาก นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคมะเร็งชนิดหายากแต่ละประเภท สำหรับตัวอย่างของโรคมะเร็งที่พบได้ยาก ได้แก่

    1. มะเร็งจิสต์ (GIST) เป็นมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนชนิดหนึ่งที่เกิดบริเวณระบบทางเดินอาหาร ที่แตกต่างจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ
    2. มะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคม่า หรือมะเร็งกระดูกยูวิงซาร์โคม่า เป็นมะเร็งชนิดหายากที่ส่งผลต่อกระดูก หรือเนื้อเยื่อรอบกระดูก ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นที่กระดูกขา และในกระดูกเชิงกราน แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในกระดูกส่วนใดก็ได้ ส่วนมากมักพบในวัยเด็ก และวัยรุ่น แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้
    3. มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมไทรอยด์เป็นมะเร็งชนิดหายากที่มีผลต่อต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมขนาดเล็กที่โคนคอ สำหรับอาการที่สามารถพบได้ คือ ต่อมบวมที่คอ เสียงแหบโดยไม่ทราบสาเหตุ เจ็บคอเรื้อรัง และกลืนลำบาก
    4. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟบลาสติกเฉียบพลัน (ALL) เซลล์ลิมโฟไซต์ที่ผิดปกติสะสมในต่อมน้ำเหลือง และยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง ได้อีกด้วย
    5. มะเร็งช่องปาก เป็นหนึ่งในมะเร็งหลายชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทที่เรียกว่า “มะเร็งศีรษะและลำคอ”

    การรักษาโรคมะเร็ง ทำอย่างไรบ้าง

    1. เคมีบำบัด ตัวเลือกนี้จะใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง และหยุดยั้งไม่ให้เติบโต โดยฉีดเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งแพทย์อาจใช้เคมีบำบัดมากกว่าหนึ่งชนิดในคราวเดียว หรือใช้ร่วมกับการผ่าตัด และการฉายรังสี
    2. การผ่าตัด เพื่อตัดเนื้อส่วนที่เป็นมะเร็งออกจากร่างกาย
    3. การฉายรังสี ทำลายเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้องอกหดตัว

    และการรักษาแบบอื่น ๆ ตามที่แพทย์เห็นสมควร กับการรักษาตามโรคมะเร็งชนิดนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งทั่วไป หรือ โรคมะเร็งชนิดหายาก

    การรักษามะเร็งนั้น ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งอะไรก็ตามควรไปตามกำหนดที่แพทย์ได้ทำการนัดไว้ เพื่อให้แพทย์ติดตามผล และดูอาการข้างเคียงหลังรับการรักษา สิ่งสำคัญของการรักษา คือ ผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลตัวเองให้ดี ไม่ว่าจะเรื่องของอาหาร  สุขภาพต่าง ๆ รวมไปถึงกำลังใจที่ดี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 22/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา