backup og meta

มะเร็งลิ้น (Tongue cancer)

คำจำกัดความอาการสาเหตุปัจจัยเสี่ยงการวินิจฉัยและการรักษาการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

คำจำกัดความ

มะเร็งลิ้น (Tongue cancer) คืออะไร

โรคมะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) สามารถเรียกอีกชื่อได้ว่า “มะเร็งลิ้นในช่องปาก’ ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดจากเซลล์ Squamous Cell Carcinoma (SCC) ที่มักปรากฏอยู่มากบนบริเวณลิ้น ที่สำคัญเซลล์มะเร็งชนิดนี้ยังอาจลุกลาม แพร่กระจายตัวก่อให้เกิดแผล หรือก้อนเนื้อเพิ่มเติมได้ทั่วทั้งศีรษะ ลำคอ ต่อมไทรอยด์ ระบบทางเดินหายใจ ลงไปยังสู่ปอดของคุณได้อีกด้วย

ทางการแพทย์ได้ทำการแบ่งประเภทของมะเร็งออกเป็น 3 แบบ เพื่อเป็นการวัดระยะในการประเมินการรักษาได้อย่างสะดวก ดังนี้

  1. ประเภท T เป็นประเภทที่บ่งบอกถึงขนาดของเนื้องอกซึ่งมีทั้งหมด 4 ระดับ ด้วยกัน เช่น T1 คือ เนื้องอกขนาดเล็ก T4 คือ ขนาดของเนื้องอกที่ใหญ่ที่สุด
  2. ประเภท N เป็นประเภทที่บ่งบอกถึงการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือที่คอ โดยมีทั้งหมด 3 ระดับ เช่น N0 คือยังไม่พบการแพร่เชื้อไปยังต่อมน้ำเหลือง N3 คือพบเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในจำนวนมาก
  3. ประเภท M เป็นประเภทที่บ่งบอกถึงว่าเซลล์มะเร็งนี้แร่กระจายไปยังบริเวณอื่นทั่วทั้งร่างกายแล้วหรือไม่

มะเร็งลิ้น สามารถพบบ่อยได้เพียงใด

โรคมะเร็งลิ้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยากกว่ามะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่คนส่วนใหญ่ที่มักจะประสบนั้น มักอยู่ช่วงวัยผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุในเพศชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มากกว่าช่วงวัยเด็ก

อาการ

อาการของ โรคมะเร็งลิ้น

ในระยะแรกของ โรคมะเร็งลิ้น อาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้อ และรู้สึกเจ็บเล็กน้อยอยู่บริเวณโคนลิ้น จากนั้น ก้อนมะเร็งหรือเซลล์มะเร็ง อาจลุกลามส่งผลให้คุณเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ในระยะเวลาถัดมา

  • มีแผลปรากฏอยู่บนลิ้น
  • รู้สึกเจ็บปวดเมื่อกลืน หรือเคี้ยวอาหาร
  • อาการเจ็บคอ หรือรู้สึกมีอะไรบางอย่างติดภายในลำคอ
  • รู้สึกในช่องปากเริ่มชา
  • มีเลือดออกบนบนลิ้นของคุณโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ลิ้นและกรามรู้สึกแข็งตัว

หากอาการเหล่านี้หายไปในระยะเวลาไม่นาน คุณอาจรอดพ้นจากการเป็น โรคมะเร็งลิ้น ได้ แต่หากมีอาการที่ยาวนานกว่า 2-3 สัปดาห์ โปรดรีบเข้ารับการรักษา และการตรวจสอบอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน ก่อนเซลล์มะเร็งจะลุกลามไปทำลายอวัยวะทั่วทั้งร่างกาย

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิด โรคมะเร็งลิ้น

โรคมะเร็งลิ้น อาจมีเหตุที่แตกต่างกันออก ตามแต่ปัญหา และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล แต่อาจเป็นไปได้ว่ามะเร็งลิ้นอาจมาจากเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus หรือ HPV) ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก เป็นต้น หรืออาจมีการได้รับเชื้อทางพันธุกรรมต่อกันมาตามประวัติทางสุขภาพของบุคคลในครอบครัวคุณ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลิ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการพัฒนาของก้อนเนื้อมะเร็งที่ลุกลาม อาจมาจากพฤติกรรมบางอย่างของคุณที่ไม่ทันระมัดระวังร่วมด้วย ดังนี้

โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่อย่างเป็นประจำนั้น ยิ่งมีความเสี่ยงที่ โรคมะเร็งลิ้น อาจถามหาคุณได้มากกว่าบุคคลอื่น ๆ ถึง 15 เท่าเลยทีเดียว

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรคมะเร็งลิ้น

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจมีการซักถามปัญหาทางสุขภาพอย่างละเอียดก่อนเสมอ ดังนั้น คุณจึงจำเป็นที่ต้องให้ความร่วมมือกับทางแพทย์ในการตอบคำถามอย่างไม่มีการปิดบังข้อมูลใด ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการรักษา โรคมะเร็งลิ้น ในช่องปากคุณ

เมื่อแพทย์ทำการระบุข้อมูลประวัติทางสุขภาพของคุณเรียบร้อยแล้ว อาจมีการตรวจชิ้นเนื้อด้วยการเอกซเรย์ หรือการทำซีทีสแกน (Computerized Tomography Scan หรือ CTS) ให้ทั่วทุกมุมในช่องปาก และลำคอคุณ พร้อมทั้งตรวจต่อมน้ำเหลืองเพิ่มเติมว่ามีการพบเซลล์มะเร็งหรือไม่ร่วมด้วย

การรักษา โรคมะเร็งลิ้น

เมื่อแพทย์ทำการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้วว่า ค้นพบเซลล์มะเร็งในช่องปากคุณ ขั้นตอนต่อไปแพทย์จะเริ่มทำการรักษา โดยการรักษานี้ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนเนื้อ และอาการข้างเคียงของแต่ละบุคคล บางกรณีสำหรับผู้ที่มีเนื้องอกออกมาเด่นชัดก็อาจใช้การผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้องอก

แต่สำหรับผู้ที่มีเนื้องอกอยู่บริเวณด้านหลังของลิ้นที่อาจทำให้มองเห็นได้ยาก แพทย์อาจปรับเปลี่ยนมาใช้การฉายรังสี ร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ในการเคลื่อนไหวของลิ้น และเพิ่มความสะดวกในการกลืนอาหารได้มากขึ้น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาโรคมะเร็งลิ้น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับ โรคมะเร็งลิ้น ได้

ถึงแม้จะเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ยากในบางบุคคล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า โรคมะเร็งลิ้น นี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้ และตระหนักในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไว้ เพื่อเพิ่มการป้องกันที่ดีที่ก่อนการเกิด โรคมะเร็งลิ้น ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ลดหรืองดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานผัก ผลไม้สด ที่ปลอดสารเคมี และงดอาหารที่ผ่านการแปรรูป
  • แปรงฟันเป็นประจำทุกวันหลังรับประทานอาหาร พร้อมกับนำไหมขัดซอกฟันมาขัดอย่างเป็นประจำ เพื่อกำจัดเศษอาหารติดค้างออก
  • หมั่นพบทันตแพทย์เป็นประจำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Mouth and oropharyngeal cancer: Coping. (2014). cancerresearchuk.org/about-cancer/mouth-cancer/living-with/coping. Accessed July 31, 2020

Mouth cancer. (2016). nhs.uk/conditions/mouth-cancer/treatment/. Accessed July 31, 2020

NCI directory of cancer terms: Squamous cell carcinoma. (n.d.). cancer.gov/publications/dictionaries/cancer-terms?cdrid=46595. Accessed July 31, 2020

Tongue Cancer Facts. https://www.webmd.com/cancer/tongue-cancer-facts#1. Accessed July 31, 2020

What are the early signs of tongue cancer?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/322519. Accessed July 31, 2020

What is tongue cancer?. https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/mouth-cancer/stages-types-grades/tongue-cancer/about. Accessed July 31, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/06/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในช่วงทำเคมีบำบัด

รู้หรือไม่ อาหารก่อมะเร็ง มีอะไรบ้าง?


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไข 14/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา