backup og meta

รู้หรือไม่ อาหารก่อมะเร็ง มีอะไรบ้าง?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 07/05/2020

    รู้หรือไม่ อาหารก่อมะเร็ง มีอะไรบ้าง?

    ด้วยพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย อุตสาหกรรมการผลิตอาหารก็มีการเปลี่ยนไปตาม ๆ กัน ปัจจุบันจึงดูเหมือนว่า อาหารก่อมะเร็ง จะมีมากมายหลายอย่าง บางอย่างก็เป็นที่รู้จักของบางคนแล้ว แต่สำหรับอาหารบางอย่าง คุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันเป็นอาการก่อมะเร็ง การรับประทานอะไรเข้าไปดูเหมือนจะต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ทาง Hello คุณหมอ จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอาหารก่อมะเร็งไว้ในบทความนี้ค่ะ

    อาหารก่อมะเร็ง มีอะไรบ้างนะ?

    ทุกวันนี้มีคำเตือนใหม่ ๆ เกี่ยวกับอาหารก่อมะเร็งออกมาบ่อยครั้ง ดังนั้นลองมาดูกันดีกว่าว่า อาหารอะไรบ้างที่เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งในร่างกายของเราได้บ้าง

    เนื้อสัตว์แปรรูป

    ทางด้านองค์กรอนามัยโลก(World Health Organization; WHO) ได้จัดให้เนื้อสัตว์แปรรูปเป็นอาการก่อมะเร็ง ในประเภทเดียวกับการสูบบุหรี่ หากคุณเป็นคนที่ชอบบริโภคไส้กรอก เบคอน ฮอทดอก และแฮม จะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้น การรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูปเพียง 50 กรัม ในแต่ละวัน สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 18% ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว แต่มันมาจากวิธีการในการแปรรูป อย่างเช่น การบ่ม การเติมเกลือ หรือสารกันบูดเข้าไป ซึ่งเมื่อเนื้อสัตว์บางอย่างสุกแล้ว จะก่อให้เกิดโซเดียมไนไตรท์ (Sodium Nitrites) รวมกับเอมีน (Amine) ธรรมชาติในเนื้อสัตว์ ก่อให้เกิดสารประกอบ สารเอ็นไนโตรโซ (N-nitroso compounds) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

    ข้าวโพดคั่วที่ใช้ไมโครเวฟ

    แม้ข้าวโพดคั่วที่ใช้ไมโครเวฟจะเป็นอาหารว่างที่อร่อยและทำได้อย่างรวดเร็ว แต่มันสามารถนำพามาซึ่งความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งอัณฑะได้ ถุงข้าวโพดที่ใช้ใส่ในไมโครเวฟนั้นเต็มไปด้วยสารเคมีที่ก่อมะเร็ง นอกจากนั้นตัวข้าวโพดคั่วเองก็มีสารเคมีผสมอยู่ ซึ่งใช้สำหรับสร้างรสชาติของเนยเทียม นั่นเอง

    แอลกอฮอล์

    เมื่อร่างกายเผาผลาญแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายผลิต แอซีทาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมีที่สามารถทำลายดีเอ็มเอ (DNA) ในร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่มะเร็งได้ นอกจากนั้นจากการวิจัยยังพบด้วยว่า ยิ่งคุณดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งศีรษะ มะเร็งลำคอ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็มีเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น

    ปลาแซลมอนที่เลี้ยงจากฟาร์ม

    ปลาแซลมอนที่เลี้ยงจากฟาร์มนั้นมักจะมีสารปนเปื้อนที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ในระดับที่สูง ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วปลาแซลมอนที่เพาะเลี้ยงจะมีโพลีคลอริเนตไบฟีนิล (Polychlorinated biphenyls หรือ PCBs) ปะปนอยู่ ซึ่งสารนี้จะพบในเนื้อวัว และพบในอาหารทะเลอื่นๆ อีกด้วย แม้ปลาแซลมอนจะอุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ กรดโอเมก้า 3 ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยควบคุมการอักเสบ น้ำหนัก และโรคอ้วน แต่มันก็ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคมะเร็งอีกหลายชนิด

    น้ำอัดลม

    โดยปกติแล้ว น้ำอัดลมนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากมันทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้เกิดการเพิ่มของน้ำหนัก การอักเสบ ทั้งยังทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลินอีกด้วย นอกจากนั้นในน้ำอัดลมยังมีสีและสารเคมีสังเคราะห์ผสมอยู่อีกด้วย ซึ่งเพิ่มการเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้

    เนื้อย่าง

    ยิ่งอุณหภูมิในการย่างสูงมากแค่ไหน กระบวนการย่างก็ยิ่งจะทำให้เกิดเฮเทอโรไซคลิกแอโรแมติกเอมีน (Heterocyclic aromatic amine) และ โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons หรือ PAHs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้นในถ่านเองก็มีสารก่อมะเร็งเช่นกัน ดังนั้นการย่างอาหารจึงต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยเน้นเพื่อสุขภาพเป็นหลัก ทั้งยังจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้อีกด้วย

    อาหารกระป๋อง

    ปัญหาหลักของอาหารกระป๋อง คือการเก็บรักษา เนื่องจากอาหารประป๋องทั้งหมดนิยมทำมาจากอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นตัวที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ทั้งยังทำให้เกิดสารบิสฟีนอล-เอ (bisphenol-A หรือ BPA) ได้อีกด้วย ยิ่งมะเขือเทศและอาหารอื่นๆ ที่มีความเป็นกรดสูง ก็ยิ่งอันตรายเป็นอย่างมาก การซื้อผักและผลไม้สดจึงถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

    ไขมันทรานส์ (Trans fats)

    ไขมันทรานส์เกิดขึ้นจากการที่น้ำมันของเหลวกลายเป็นไขมันแข็ง โดยผ่านกระบวนการไฮโดรจีเนชัน (Hydrogenation) ซึ่งสามารถเก็บรักษาและทำให้รสชาติของอาหารยังคงดีอยู่ ไขมันทรานส์เหล่านี้สามารถเพิ่มการอักเสบ ทั้งยังทำให้อัตราโรคอ้วนพุ่งสูงขึ้นอีกด้วย ซึ่งไขมันทรานส์ถือเป็นสารก่อมะเร็งอีกตัวก็ว่าได้

    มันฝรั่งแผ่นทอด

    มันฝรั่งแผ่นทอดไม่เพียงแต่มีไขมันและโซเดียมสูง มันยังมีรสชาติเทียม สารกันบูด และสีผสมอาหารที่ร่างกายไม่สามารถจำได้ว่าเป็นอาหารอีกด้วย แม้จะถูกทอดด้วยความร้อนที่สูง แต่ก็ยังคงสร้างสารอะคริลาไมด์ (Acrylamide) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เป็นที่รู้จักซึ่งพบได้ในบุหรี่ด้วย

    เนื้อแดง

    เนื้อแดงในที่นี่ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อลูกวัน เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อม้า และเนื้อแพะ การรับประทานเนื้อแดงเป็นจำนวนมากอาจก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งต่อมลูกหมากได้

    อาหารหมักดอง

    อาหารหมักดองเหล่านี้มีสารกันบูดหลายชนิด ทั้งยังมีไนเตรต (Nitrates) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย การบริโภคอาหารดองเป็นจำนวนมากจึงสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งต่อมไทรอยด์ และมะเร็งรังไข่ในผู้หญิงบางคนได้อีกด้วย

    แป้งแปรรูปสีขาว

    คุณอาจไม่เคยทราบว่าแป้งแปรรูปสีขาวนั้น เป็นแป้งที่ถูกฟอกโดยสารเคมีที่มีก๊าซคลอรีน (Chlorine) เป็นส่วนประกอบ เพื่อใช้ในการฆ่าสารอาหารเพื่อสุขภาพทั้งหมดออกจากแป้ง ซึ่งก๊าซคลอรีนนี้หากสูดดมเข้าไปสามารถทำให้เสียชีวิตได้ทันที นอกจากนั้นแป้งสีขาวยังสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลินสูงขึ้นได้อีกด้วย และเนื้องอกของมะเร็งมันจะกินน้ำตาลในกระแสเลือดเป็นอาหาร ดังนั้นการหลีกเลี่ยง แป้งสีขาว และอาหารแปรรูป ก็เท่ากับคุณสามารถเลี่ยงเนื้องอกร้ายแรงได้

    น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์

    เซลล์มะเร็งนั้นมักจะนิยมน้ำตาลทรายขาว เนื่องจากน้ำตาลทรายขาวสามารถขัดขวางระดับอินซูลิน และส่งเสริมการเติบโตของมะเร็งได้ ดังนั้นจึงไม่ค่อยน่าแปลกใจสักเท่าไหร่ที่ผู้คนจำนวนมากที่ติดใจในการทานหวานจะมีอัตรามะเร็งที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

    น้ำมันพืช

    น้ำมันพืชดูเหมือนจะดีต่อสุขภาพ แต่ถ้ามันไม่ได้ถูกสกัดมาจากแหล่งที่มาตามธรรมชาติ แต่ใช้กระบวนการสกัดทางเคมีแทน ก็จะทำให้น้ำมันพืชนั้นเกิดไฮโดรเจน เมื่อเกิดไฮโดนเจนขึ้นก็ต้องใช้วิธีการเพิ่มสีและดับกลิ่นเข้ามาช่วย เพื่อให้ผู้ซื้อรู้สึกพึงพอใจ นอกจากนั้น น้ำมันไฮโดรเจนนั้นยังพบได้ในอาหารแปรรูปหลากหลายชนิด ซึ่งมันส่งผลต่อโครงสร้างและความยืดหยุ่นของเซลล์ ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้

    Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 07/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา