backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มาทำความรู้จักกับ มะเร็งหลอดลม (Bronchial Cancer)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 4 สัปดาห์ก่อน

มาทำความรู้จักกับ มะเร็งหลอดลม (Bronchial Cancer)

หลอดลมเป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่ในการนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอด และแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด ดังนั้นมาทำความรู้จักกับ มะเร็งหลอดลม (Bronchial Cancer) หนึ่งในมะเร็งที่พบได้ยาก

คำจำกัดความ

มะเร็งหลอดลม (Bronchial cancer) คืออะไร

มะเร็งหลอดลม (Bronchial cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบยาก เกิดขึ้นบริเวณเซลล์เยื่อเมือกของหลอดลมซึ่งเป็นทางเดินไปยังปอด โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการสูบบุหรี่ หรือสัมผัสกับสารพิษชนิดต่าง ๆ  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด มีอาการไอปนเลือด 

พบได้บ่อยเพียงใด

โรคมะเร็งหลอดลม สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศชายที่สูบบุหรี่

อาการ

อาการของ โรคมะเร็งหลอดลม

ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงออก ทำให้เราไม่สามารถสังเกตอาการได้จนกว่าเชื้อมะเร็งจะเริ่มแพร่กระจาย โดยมีลักษณะอาการที่พบได้บ่อยดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรัง
  • หายใจไม่ออก
  • ไอเป็นเลือดและมีน้ำมูก
  • มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อสูดลมหายใจเข้า หัวเราะ หรือไอ
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • อาการชาบริเวณแขนและขา
  • ปวดบริเวณสะโพกหรือบริเวณหลัง
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หากมีคำถามหรือข้อกังวล โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติม

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคมะเร็งหลอดลม

โรคมะเร็งหลอดลม โดยส่วนใหญ่เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ การสูบบุหรี่ และการสัมผัสกับสารพิษ สารกัมตรังสี รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

  • การหายใจนำสารเคมีอันตรายเข้าสู่ร่างกาย เช่น นิกเกิล ยูเรเนียม แคดเมียม 
  • การสัมผัสกับควันเสียหรือมลพิษในอากาศ
  • ดื่มน้ำที่มีสารหนูปนเปื้อนในปริมาณสูง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งหลอดลม

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งหลอดลม ซึ่งอาจจะเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น พันธุกรรม หรือคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งมาก่อน รวมไปถึงการสูบบุหรี่ และอาจจะได้รับพวกสารเคมีจากในอุตสาหกรรม

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดลม

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย และทำการวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เพื่อยืนยันโรค

  • เอกซเรย์ (X-ray) ใช้รังสีในปริมาณต่ำ ๆ เพื่อตรวจดูเชื้อมะเร็ง
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) การทดสอบร่างกายโดยการสร้างภาพเพื่อตรวจดูความผิดปกติในร่างกาย 

ใช้รังสีในปริมาณต่ำเพื่อสร้างภาพโครงสร้างภายในร่างกายของคุณ การเอกซเรย์ทรวงอกสามารถค้นหาเนื้องอกในปอดของคุณได้

การรักษาโรคมะเร็งหลอดลม

วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดลม จะขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล โดยมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ 

  • การผ่าตัด แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ออก เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  • การฉายรังสี แพทย์จะฉายรังสีเอกซ์พลังงานสูงเพื่อฆ่าเชื้อเซลล์มะเร็ง แต่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียง เช่น ไอ หายใจถี่ เจ็บคอและปาก 
  • เคมีบำบัด หรือที่เรียกว่า “การทำคีโม” โดยสารละลายจะไหลผ่านทางหลอดเลือดดำ ยาคีโมจะกระจายไปทั่วร่างกาย เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง วิธีการรักษาด้วยเคมีบำบัด อาจส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียง เช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ผมร่วง ท้องร่วง ความอยากอาหารลดลง 
  • การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดลม มีดังต่อไปนี้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 4 สัปดาห์ก่อน

    ad iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    ad iconโฆษณา
    ad iconโฆษณา