มะเร็งแบบอื่น

นอกเหนือจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ หรือมะเร็งที่พบได้บ่อยจนคุ้นหูแล้ว ยังคงมี มะเร็งแบบอื่น ที่คุณอาจไม่เคยได้ยิน แต่ก็ควรให้ความสำคัญ และใส่ใจดูแลป้องกันอยู่อีกมาก Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ มะเร็งแบบอื่น ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

มะเร็งแบบอื่น

ทำความรู้จักกับ มะเร็งท่อน้ำดี โรคที่หลายคนอาจไม่ค่อยได้ยิน

มะเร็งถือเป็นโรคเรื้อรังก็ว่าได้ เพราะบางครั้งมักจะไม่ค่อยมีอาการใด ๆ แสดงออกมา หรือแสดงอาการออกมาก็มักจะอยู่ในระยะที่การรักษาค่อนข้างจะลำบากแล้ว สำหรับ มะเร็งท่อน้ำดี ก็เป็นโรคมะเร็งอีกชนิดที่สามารถพบเจอได้ แต่โดยส่วนมากมักจะไม่ค่อยได้ยินมะเร็งชื่อนี้สักเท่าไร งั้นไปทำความรู้จักกันเถอะ คำจำกัดความมะเร็งท่อน้ำดี คืออะไร ท่อน้ำดี คือ ท่อขนาดเล็กที่เชื่อมระหว่างตับกับถุงน้ำดีไปยังลำไส้เล็ก โดยมีหน้าที่หลัก คือ ปล่อยของเหลวที่เรียกว่า “น้ำดี” โดยน้ำดีนั้นจะถูกสร้างจากตับ แล้วถูกนำมาเก็บไว้ในถุงน้ำดี และส่งเข้าไปในลำไส้เล็ก ซึ่งช่วยในเรื่องของการย่อยไขมันในอาหาร สำหรับ โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma) เป็นก้อนเนื้อร้ายที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังของท่อทางเดินน้ำดี ซึ่งรวมถึงท่อน้ำดีภายในตับ และท่อน้ำดีภายนอกตับ ซึ่งอาจไปกดทับหรือเบียดจนลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ซึ่งประกอบด้วยตับ ตับอ่อน หรือลําไส้เล็กส่วนต้น ชนิดของ โรคมะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดี สามารถแบ่งชนิดได้จากตำแหน่ง เนื่องจาก ท่อน้ำดีมีส่วนที่อยู่ภายในตับและข้างนอกตับ จึงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ มะเร็งท่อน้ำดีภายในตับ เกิดจากเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีในตับ ขยายออกมาสู่เนื้อตับข้าง ๆ ทำให้มีลักษณะเหมือนโรคมะเร็งตับ ดังนั้น บางครั้งก็อาจมีการวินิจฉัยที่ผิดว่าเป็น “มะเร็งตับ” ได้ มะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับ เกิดจากท่อน้ำดีใหญ่ตั้งแต่ขั้วของตับไปจนถึงท่อน้ำดีส่วนปลาย มะเร็งชนิดนี้ ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดี พบได้บ่อยแค่ไหน โรคมะเร็งท่อน้ำดี ส่งผลกระทบต่อผู้คนในสหรัฐอเมริกาประมาณ 8,000 คนในแต่ละปี มะเร็งชนิดนี้เกิดขึ้นบ่อยในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น […]

สำรวจ มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งโคนลิ้น (Base of Tongue Cancer)

มะเร็งโคนลิ้น เป็นมะเร็งปากหรือมะเร็งในช่องปากชนิดหนึ่ง มักเกิดจากสเควมัสเซลล์ (Squamous Cell) ที่อยู่บนผิวลิ้น และอาจทำให้เกิดแผลหรือเนื้องอกที่ลิ้นของคุณได้ คำจำกัดความ มะเร็งโคนลิ้น คืออะไร โรคมะเร็งโคนลิ้น เป็นมะเร็งปากหรือมะเร็งในช่องปากชนิดหนึ่ง มักเกิดจากสเควมัสเซลล์ (Squamous Cell) ที่อยู่บนผิวลิ้น และอาจทำให้เกิดแผลหรือเนื้องอกที่ลิ้นของคุณ สัญญาณที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของมะเร็งโคนลิ้น คือ อาการเจ็บลิ้นที่ไม่หาย หากมะเร็งโคนลิ้นเกิดบริเวณด้านหน้าของลิ้นจะเรียกว่า “มะเร็งลิ้นในช่องปาก” แต่หากเกิดที่โคนลิ้นใกล้กับที่ติดกับปากล่างจะเรียกว่า “มะเร็งช่องปาก” มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma) เป็นมะเร็งโคนลิ้นชนิดที่พบบ่อยที่สุด มะเร็งชนิดนี้มักเกิดในบริเวณต่อไปนี้ ด้านบนสุดของผิวหนัง ในเยื่อบุปาก จมูก กล่องเสียง ไทรอยด์ และลำคอ ในเยื่อบุทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร เนื้องอกที่เกิดขึ้นจาก โรคมะเร็งโคนลิ้น สามารถพัฒนาได้ในต่อมที่ผลิตน้ำลาย ต่อมทอนซิลที่ด้านหลังของปาก และส่วนของลำคอที่เชื่อมต่อปากของคุณกับหลอดลม (คอหอย) มะเร็งโคนลิ้น พบบ่อยเพียงใด โรคมะเร็งโคนลิ้น เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยกว่าชนิดอื่น ๆ และพบได้น้อยในเด็ก นอกจากนั้น โรคมะเร็งโคนลิ้นจะพบได้บ่อยในผู้ชายที่มีอายุมากกว่าในผู้หญิง และมักพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี อาการอาการของ โรคมะเร็งโคนลิ้น อาการของ โรคมะเร็งโคนลิ้น ในระยะแรก มักจะสังเกตได้ค่อนข้างยาก อาการเริ่มต้นที่พบได้บ่อยที่สุดของมะเร็งโคนลิ้น คือ อาการเจ็บที่ลิ้นไม่หาย และเลือดออกง่าย นอกจากนั้น คุณอาจสังเกตเห็นอาการปวดปากหรือลิ้นร่วมด้วย […]


มะเร็งแบบอื่น

วิธี ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อย่างเข้าใจ และถูกต้อง ต้องทำอย่างไรบ้าง

การดูแล ผู้ป่วยมะเร็ง เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะคุณจะต้องดูแลทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของ ผู้ป่วยมะเร็ง ไปพร้อม ๆ กัน การดูแลผู้ป่วยมะเร็งมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งการช่วยเหลือพาไปพบคุณหมอ การจัดเตรียมยา หรือทำอาหารให้ผู้ป่วยรับประทาน วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง มาฝากกันค่ะ วิธีดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่เหมาะสมจะมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย เตรียมตัวเองอย่างไรเมื่อต้อง ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง การดูแล ผู้ป่วยมะเร็ง ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและท้าทาย ผู้ดูแลจะต้องมีความพร้อมในการช่วยฟื้นฟู ผู้ป่วยมะเร็ง ทั้งยังต้องพร้อมปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ก่อนเริ่มดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ดูแลควรความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ จัดการกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองก่อน เมื่อทราบข่าวคนใกล้ชิดเป็นมะเร็ง ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะมีความรู้สึกหลายอย่างปนเปกัน ทั้งความรู้สึกสับสน เศร้า เสียใจ การเข้าไปพูดคุยกับ ผู้ป่วยมะเร็ง ทั้ง ๆ ที่คุณยังไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกตนเองได้ มีแต่จะยิ่งทำให้ทั้งคุณและผู้ป่วยรู้สึกเครียด ฉะนั้น หากคุณต้องดูแลคนใกล้ชิดที่ป่วยเป็นมะเร็ง สิ่งแรกที่คุณควรทำก็คือ การจัดการความรู้สึกของตัวเองให้ได้เสียก่อน คุณจะได้พูดคุยกับเขาอย่างมีสติมากขึ้น และสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้รับมือกับโรคได้ดีขึ้นด้วย ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคมะเร็ง การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นประเภทของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง จะช่วยให้คุณวางแผนในการดูแล ผู้ป่วยมะเร็ง ได้ดีขึ้น ทั้งการทำกิจกรรม และรูปแบบอาหารที่ผู้ป่วยควรรับประทาน นอกจากนี้ การถามถึงอาการของผู้ป่วยบ่อย ๆ […]


มะเร็งแบบอื่น

มาทำความรู้จักกับ มะเร็งหลอดลม (Bronchial Cancer)

หลอดลมเป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่ในการนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอด และแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด ดังนั้นมาทำความรู้จักกับ มะเร็งหลอดลม (Bronchial Cancer) หนึ่งในมะเร็งที่พบได้ยาก คำจำกัดความ มะเร็งหลอดลม (Bronchial cancer) คืออะไร มะเร็งหลอดลม (Bronchial cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบยาก เกิดขึ้นบริเวณเซลล์เยื่อเมือกของหลอดลมซึ่งเป็นทางเดินไปยังปอด โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการสูบบุหรี่ หรือสัมผัสกับสารพิษชนิดต่าง ๆ  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด มีอาการไอปนเลือด  พบได้บ่อยเพียงใด โรคมะเร็งหลอดลม สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศชายที่สูบบุหรี่ อาการอาการของ โรคมะเร็งหลอดลม ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงออก ทำให้เราไม่สามารถสังเกตอาการได้จนกว่าเชื้อมะเร็งจะเริ่มแพร่กระจาย โดยมีลักษณะอาการที่พบได้บ่อยดังนี้ มีอาการไอเรื้อรัง หายใจไม่ออก ไอเป็นเลือดและมีน้ำมูก มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อสูดลมหายใจเข้า หัวเราะ หรือไอ ชีพจรเต้นเร็ว เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต อาการชาบริเวณแขนและขา ปวดบริเวณสะโพกหรือบริเวณหลัง น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หากมีคำถามหรือข้อกังวล โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติม ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ โรคมะเร็งหลอดลม โรคมะเร็งหลอดลม โดยส่วนใหญ่เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ การสูบบุหรี่ และการสัมผัสกับสารพิษ สารกัมตรังสี รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ การหายใจนำสารเคมีอันตรายเข้าสู่ร่างกาย เช่น นิกเกิล ยูเรเนียม แคดเมียม  การสัมผัสกับควันเสียหรือมลพิษในอากาศ ดื่มน้ำที่มีสารหนูปนเปื้อนในปริมาณสูง ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งหลอดลม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งหลอดลม ซึ่งอาจจะเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น พันธุกรรม […]


มะเร็งแบบอื่น

ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร เกิดได้จากการสูบบุหรี่

“การสูบบุหรี่” นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง และยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ อีกด้วย ยิ่งถ้าสูบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจมี ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร โดยไม่รู้ตัว บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคมะเร็งหลอดอาหาร ให้มากขึ้น โรคนี้เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่อย่างไร ติดตามอ่านได้ในความนี้เลย ทำความรู้จัก มะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer) โรคมะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหาร โดยหลอดอาหารจะมีลักษณะเป็นท่อกลวงยาว ทอดจากลำคอไปถึงกระเพาะอาหาร เมื่อมะเร็งเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหาร จะทำให้หลอดอาหารแคบลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น รู้สึกลำบากในการกลืนอาหาร อาหารไม่ย่อย  กินเหล้า สูบบุหรี่เพิ่ม ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร จากผลการศึกษาการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Gastroenterology ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้ ยิ่งถ้าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ควบคู่กัน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งหลอดอาหาร มากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว  8 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร หากคุณมีอาหารดังต่อไปนี้ คุณอาจเข้าข่ายเป็น โรคมะเร็งหลอดอาหาร  […]


มะเร็งแบบอื่น

เซลล์มะเร็ง เซลล์ต้นเหตุโรคร้าย แล้วเรามีเซลล์นี้ไหมนะ

โรคมะเร็งเป็นโรคไม่ติดต่อสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะแทบทุกส่วนภายในร่างกาย โรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง และถึงแม้เราจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับโรคมะเร็งกันมานานแล้ว แต่เราเชื่อว่า หลาย ๆ คนน่าจะยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เซลล์มะเร็ง อย่างจำกัด วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจเรื่องเซลล์มะเร็งให้มากขึ้น พร้อมทั้งยังมีเคล็ดลับในการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งง่าย ๆ มาฝากคุณด้วย เซลล์มะเร็ง ต่างจากเซลล์ปกติอย่างไร วัฏจักรของเซลล์ปกตินั้นเป็นไปอย่างมีระบบชัดเจน เริ่มจากร่างกายสร้างเซลล์ขึ้นมา เซลล์จะเจริญเติบโตและแบ่งตัว เพื่อทดแทนเซลล์ที่เสียหายหรือเสื่อมสภาพเท่านั้น เซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่ หรือที่เรียกว่า เซลล์เจริญวัย (Mature cell) มีหน้าที่เฉพาะเจาะจง และเมื่อเซลล์เหล่านั้นทำหน้าที่ของตัวเองเสร็จ ก็จะตายลง ถือเป็นการจบวัฏจักรของเซลล์ แต่เซลล์มะเร็ง คือเซลล์กลายพันธุ์ที่มีวัฏจักรของเซลล์ผิดแปลกไปจากปกติ และไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงเหมือนเซลล์ปกติ กล่าวคือ เซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สูญเสียคุณสมบัติในการควบคุมการเจริญเติบโต การแบ่งตัว และการตาย เซลล์มะเร็งจึงสามารถเจริญเติบโตและแบ่งตัวไปได้เรื่อย ๆ ไม่ได้ตายลงอย่างที่ควรจะเป็น เมื่อร่างกายมีเซลล์มะเร็งในปริมาณมาก จึงทำให้เกิดโรคมะเร็งขึ้น เราทุกคนมี เซลล์มะเร็ง ในร่างกายหรือเปล่า คำตอบสำหรับคำถามนี้คือ “ไม่” เราทุกคนไม่ได้มีเซลล์มะเร็งอยู่ในร่างกาย […]


มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) มะเร็งชนิดหายาก

มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) เป็นมะเร็งชนิดหายากซึ่งก่อตัวในเนื้อเยื่ออ่อน โดยเฉพาะเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อลาย และยังสามารถพบได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระเพาะปัสสาวะ มดลูก แขนและขา บริเวณศีรษะและคอ คำจำกัดความมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) คืออะไร มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) เป็นมะเร็งชนิดหายากซึ่งก่อตัวในเนื้อเยื่ออ่อน โดยเฉพาะเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อลาย และยังสามารถพบได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระเพาะปัสสาวะ มดลูก แขนและขา บริเวณศีรษะและคอ อย่างไรก็ตามมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ตาบวม มีเลือดออกในจมูกและหู รวมไปถึงแขนและขาบวม พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมาสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัยและทุกช่วงอายุ โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี อาการอาการของมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา สัญญาณและอาการของมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง โดยมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ บริเวณศีรษะและลำคอ ปวดศีรษะ ตาโปนหรือบวม เลือดออกในจมูกและหู ระบบทางเดินปัสสาวะหรือระบบสืบพันธุ์ ปัสสาวะลำบาก มีเลือดปนในปัสสาวะ มีเลือดออกทางช่องคลอด แขนและขา มีอาการบวม ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม สามารถปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา โดยมีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของดีเอ็นเอ เซลล์ที่ผิดปกติสามารถแตกออกและแพร่กายจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ เกิดเป็นก้อนเนื้อไปทับเนื้อเยื่อของร่างกาย (เนื้องอกกดทับอวัยวะร่างกาย) ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา สมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว กลุ่มอาการทางพันธุกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง […]


มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma)

มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma)  เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ยาก จัดอยู่ในกลุ่มมะเร็งของหลอดเลือด ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมน เฮอร์ปีส์ชนิดที่ 8  (Human Herpesvirus 8 หรือ HHV-8) มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ  นอกจากนี้ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้เข้าสู่ระยะของโรคเอดส์แล้ว คำจำกัดความมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma) คืออะไร มะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma) เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ยาก จัดอยู่ในกลุ่มมะเร็งของหลอดเลือด ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมน เฮอร์ปีส์ชนิดที่ 8  (Human Herpesvirus 8 หรือ HHV-8) มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ  นอกจากนี้ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้เข้าสู่ระยะของโรคเอดส์แล้ว อย่างไรก็ตามหากคุณป่วยเป็น โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา นั้นไม่ได้แสดงว่าคุณเป็นโรคเอดส์ เพราะโรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่มีสุขภาพดีเช่นกัน โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา พบได้บ่อยเพียงใด ผู้ที่ป่วยเป็น โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา พบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ อาการ อาการ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา ผู้ป่วย โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา ไม่ได้มีอาการแสดงปรากฏออกมาให้เห็นทุกคน โดยอาการเบื้องต้นส่วนใหญ่ผิวหนังของผู้ป่วยจะมีรอยแดง […]


มะเร็งแบบอื่น

โรคมะเร็งจิสต์ โรคร้ายที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร

แนวโน้มผู้ที่เสียชีวิตจาก โรคมะเร็ง ทั่วโลกนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย ขาดการออกกำลังกายรวมถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆได้  วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามาทำความรู้จักกับ โรคมะเร็งจิสต์ (GIST : Gastrointestinal Stromal Tumor) มะเร็งชนิดหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร โดยสามารถพบผู้ป่วยเป็นโรคนี้เพียง 10-15 ราย ต่อประชากรหนึ่งล้านคนเท่านั้น และยังพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ในประเทศไทยอีกด้วย เราไปทำความรู้จักโรคมะเร็งจิสต์กันค่ะ ทำความรู้จักโรคมะเร็งจิสต์ (GIST) โรคมะเร็งจิสต์  (GIST : Gastrointestinal Stromal Tumor) หรือ มะเร็งทางเดินอาหารชนิดจิสต์ เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร โดยมีความแตกต่างจากมะเร็งทางเดินอาหาร คือมะเร็งจิสต์เกิดจากเซลล์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ จึงเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินอาหาร ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โรคนี้มักพบในผู้ป่วยสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โรคมะเร็งจิสต์สาเหตุเกิดจากอะไรกันนะ สาเหตุของการเกิดมะเร็งจิสต์เกิดจากความผิดปกติของโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่าคิท (Kit) ที่อยู่บนผิวหนังของเซลล์ ซึ่งโปรตีน ที่ผิดปกตินี้จะส่งสัญญาณเตือนจำทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นมะเร็งจิสต์ โดยมะเร็งจิสต์นั้นจะอยู่ได้นานกว่าเซลล์ปกติและเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ซึ่งหากเซลล์มะเร็งนี้ยิ่งอยู่นานเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากขึ้น โดยผู้ป่วยบางรายที่ป่วยเป็นมะเร็งจิสต์จะมีอาการที่พบบ่อย 3 ประการ คือ […]


มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งไต (Kidney Cancer)

มะเร็งไต เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในไต มักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ ในระยะเริ่มแรก ต่อเมื่อมะเร็งลุกลามจึงมีอาการ ประเภทของมะเร็งไตที่พบได้มากที่สุด คือ มะเร็งคาร์ซิโนมาของเนื้อเยื่อไต คำจำกัดความมะเร็งไต คืออะไร มะเร็งไต (Kidney Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในไต ไตเป็นอวัยวะภายในรูปร่างคล้ายถั่วแดงสองข้าง โดยแต่ละข้างมีขนาดเท่ากับหนึ่งกำมือ อยู่บริเวณหลังอวัยวะในช่องท้อง โดยไตข้างหนึ่งจะอยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลัง การตรวจพบมะเร็งไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีทีซีสแกน โดยส่วนมากเป็นการตรวจพบมากโดยบังเอิญ มะเร็งไต พบได้บ่อยเพียงใด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Cancer Institute) ประมาณการว่า พบผู้ป่วยมะเร็งไตรายใหม่มากกว่า 61,000 รายในสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2558 ในกลุ่มผู้ใหญ่ ประเภทของมะเร็งไตที่พบได้มากที่สุด คือ มะเร็งคาร์ซิโนมาของเนื้อเยื่อไต (Renal Cell Carcinoma) มะเร็งไตประเภทอื่นที่พบได้น้อยกว่าก็สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้พบว่า เด็กมีโอกาสมากกกว่าในการเป็นมะเร็งไตชนิด Wilms tumor โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งไต สัญญาณบ่งชี้และอาการของ โรคมะเร็งไต มีความหลากหลายตามระยะของโรค มะเร็งไตมักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ ในระยะเริ่มแรก ต่อเมื่อมะเร็งลุกลาม อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดหลังเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณใต้ซี่โครง มีเลือดปนในปัสสาวะ ปวดท้อง ท้องบวม มีก้อนในช่องท้อง อ่อนเพลีย ปวดเอว เป็นไข้ซ้ำ น้ำหนักลด ท้องผูก ผิวซีด ทนต่ออากาศหนาวไม่ได้ มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น มีขนขึ้นมากเกินไปในผู้หญิง ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น […]


มะเร็งแบบอื่น

เนื้องอกไขมัน (Lipoma)

เนื้องอกไขมัน เป็นชั้นไขมันที่ค่อย ๆ สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ระหว่างชั้นผิวกับชั้นกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นบริเวณคอ หลัง ไหล่ แขนและน่อง และบริเวณอื่นของร่างกาย เป็นเนื้องอกแบบไม่อันตราย         คำจำกัดความเนื้องอกไขมัน คืออะไร เนื้องอกไขมัน (Lipoma) เป็นชั้นไขมันที่ค่อย ๆ สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ระหว่างชั้นผิวกับชั้นกล้ามเนื้อ เนื้องอกไขมันมักเกิดขึ้นบริเวณคอ หลัง ไหล่ แขน และน่อง มันสามารถเกิดขึ้นในบริเวณอื่นของร่างกายได้ เช่น ลำไส้ เนื้องอกไขมันเป็นเนื้องอกธรรมดา และพบได้มากที่สุดในผู้ใหญ่ เนื้องอกไขมัน พบบ่อยแค่ไหน โรคเนื้องอกไขมัน ส่งผลเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงทุกวัย อย่างไรก็ตาม โรคนี้มักเกิดขึ้นในหญิงวัยกลางคน สถานะและสภาพของโรคอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อนัดเข้ารับการตรวจ การรักษาและวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ อาการอาการของ โรคเนื้องอกไขมัน โรคเนื้องอกไขมัน ในช่วงแรก จะมีลักษณะเป็นก้อนนิ่มกลม และเกิดใต้ผิวหนังโดยไม่มีอาการเจ็บใด ๆ ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่ามีก้อนเนื้อเกิดขึ้น เนื้องอกอาจมีลักษณะเหลวหรือหยุ่น นิ่มหรือแข็งก็ได้ แต่สามารถกลิ้งไปมาเมื่อกดลงไป เนื้องอกที่เกิดขึ้นอาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่ง และอาจทำให้เกิดการเจ็บปวด หากเกิดขึ้นบริเวณที่กดทับเส้นประสาท หรือเนื้องอกมีกลุ่มหลอดเลือดอยู่ภายใน ขนาดของเนื้องอกไขมันแตกต่างกันไป แต่จะมีขนาดไม่ใหญ่กว่า 8 เซนติเมตร มักเกิดขึ้นบริเวณแขน ขา หลัง และคอ แต่สามารถเกิดบริเวณอื่นได้ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม