งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Diabetes เมื่อพ.ศ. 2557 ทำการวิจัยปริมาณโซเดียมในอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น และการรับประทานอาหาโซเดียมสูงอาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานได้ง่ายขึ้น
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร The BMJ เมื่อพ.ศ. 2556 ทำการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผลไม้และความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า การรับประทานผลไม้สดทั้งผล (รับประทานทั้งเนื้อและเปลือก) โดยเฉพาะองุ่น แอปเปิ้ล บลูเบอร์รี่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
เครื่องดื่มบางชนิดอาจเติมน้ำตาลปริมาณมากเพื่อเพิ่มความหวานและความอร่อย แต่น้ำตาลปริมาณมากเกินไปในเครื่องดื่มอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้
เครื่องดื่มที่คนเป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยง เช่น
- เบียร์ ไวน์
- เครื่องดื่มชูกำลัง
- ชารสหวาน เช่น ชาเขียวเย็น ชานมเย็น ชานมไข่มุก
- นมรสหวาน
- กาแฟใส่น้ำตาลและครีม
- เครื่องดื่มช็อคโกแลต
- น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Nutrition เมื่อพ.ศ. 2559 ทำการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและโซดากับภาวะดื้ออินซูลินและภาวะก่อนเบาหวาน พบว่า ผู้ที่บริโภคเครื่องดื่มรสหวานมีแนวโน้มในการเกิดภาวะก่อนเบาหวานและภาวะดื้ออินซูลินมากขึ้น ทั้งยังอาจทำให้น้ำหนักเปลี่ยนแปลงและเสี่ยงเกิดโรคอ้วนได้ด้วย
งานวิจัยอีกชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร Arch Intern Med เมื่อพ.ศ. 2552 ทำการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้หญิงชาวแอฟริกันอเมริกัน โดยการติดตามผลตรวจสุขภาพจากผู้เข้าร่วมงานวิจัย 59,000 คนเป็นระยะเวลา 6 ปี พบว่า การบริโภคน้ำอัดลมและเครื่องดื่มผลไม้รสหวานที่มีน้ำตาลและแคลอรี่สูงเป็นประจำอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
เคล็ดลับการกินอาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน
การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ควรคำนึงถึงระดับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยพลังงานที่ได้รับต่อวันไม่ควรน้อยกว่า 1,200-1,600 กิโลแคลอรี่ และอาจจัดเมนูอาหารตามเมนูตัวอย่างเหล่านี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารครบถ้วน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
- คาร์โบไฮเดรต ประมาณ 12-15 กรัม/วัน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต คีนัว ผักโขม มันเทศอบ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธัญพืชไม่ขัดสีไม่ปรุงแต่งน้ำตาล เช่น ขนมปังโฮลวีท ซีเรียลโฮวีท
- ผักและผลไม้ ประมาณ 2.5 ถ้วย/วัน เช่น ผลไม้สด แยมไม่เติมน้ำตาล องุ่น แอปเปิ้ล บลูเบอร์รี่ ผักสด ผักย่างหรือปิ้ง คะน้า ผักปวยเล้ง ผักกระป๋องโซเดียมต่ำหรือรสจืด
- โปรตีน 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น เนื้อวัว ไก่ ปลา หมู ไก่งวง อาหารทะเล ถั่ว ชีส ไข่ ถั่วและเต้าหู้ นมไขมันต่ำ โยเกิร์ตไขมันต่ำ
- ไขมัน ไม่ควรเกินร้อยละ 25-30 ของพลังงานที่ต้องการต่อวัน หรือควรน้อยกว่า 70 กรัม/วัน เช่น ไขมันจากถั่วหรือเมล็ดพืช อะโวคาโด น้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดองุ่น หรือน้ำมันมะกอก กรดไขมันไอเมก้า 3 จากสัตว์อย่างปลาแซลมอน ปลาทูน่า หรือปลาแมคเคอเรล
- เครื่องดื่ม ผู้ป่วยเบาหวานควรดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ไม่ผสมน้ำตาลเพิ่ม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย