ลูกพีชประมาณ 130 กรัม มีน้ำตาลประมาณ 10.9 กรัม และมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ จึงอาจเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้ ลูกพีชยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โพแทสเซียม วิตามินเค วิตามินซี ทั้งยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจลดการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นและภาวะที่เซลล์ถูกอนุมูลอิสระทำลาย จนอาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน หรือทำให้อาการโรคเบาหวานแย่ลง
งานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Asian Pacific Journal of Tropical Medicine เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ทำการวิจัยเรื่องการค้นคว้าและความก้าวหน้าในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานของสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่า สารต้านอนุมูลอิสระในผัก ผลไม้ และธัญพืชอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน ได้
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยที่ยืนยันได้แน่ชัดว่า การบริโภควิตามินและแร่ธาตุที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี วิตามินซี เพียงชนิดเดียว จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้
กีวีมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ จึงช่วยชะลอการปล่อยน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอื่น ๆ เช่น แคโรทีนอยด์ วิตามินซี โดยเฉพาะไฟเบอร์ที่มีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม นอกจากนี้ กีวียังมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอลรอลไม่ดี (LDL) ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Chiropractic Medicine ปี พ.ศ. 2551 นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมและทบทวนงานศึกษาวิจัย 13 ฉบับที่ตีพิมพ์ในช่วงปีพ.ศ. 2513-2550 ซึ่งให้กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงรับประทานวิตามินซีอย่างน้อย 500 มิลลิกรัม/วัน และ 2,000 มิลลิกรัม/วัน เป็นเวลา 4-24 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดจึงวัดค่าระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ พบว่า การรับประทานวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้อย่างมีนัยสำคัญ
สับปะรดเป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเป็นเอกลักษณ์ และมีน้ำตาลเพียง 16 กรัม มีคะแนนค่าดัชนีน้ำตาล (GL) 66 คะแนน จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้ สับปะรดยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น ไฟเบอร์ วิตามินซี สารต้านอนุมูลอิสระ
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Indian journal of medical research ปี พ.ศ. 2550 ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 84 คน โดยทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลก่อนให้รับประทานวิตามินซีปริมาณ 500 มิลลิกรัม หรือ 1,000 มิลลิกรัม เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่า ผู้ที่ได้รับวิตามินซี 500 มิลลิกรัม อาจไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แต่สำหรับกลุ่มที่ได้รับวิตามินซี 1,000 มีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดลดลง และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีกด้วย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย