รับประทานไฟเบอร์เพิ่มขึ้น
ไฟเบอร์อาจช่วยให้ร่างกายย่อยคาร์โบไฮเดรตและดูดซึมน้ำตาลช้าลง ซึ่งอาจช่วยให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ซึ่งไฟเบอร์ที่ละลายน้ำอาจดีต่อร่างกายมากกว่าไฟเบอร์ชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผักและผลไม้ ถั่ว เมล็ดพืช ยังอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย โดยปริมาณไฟเบอร์ที่แนะนำ คือ ประมาณ 25 กรัม/วัน สำหรับผู้หญิง และ 35 กรัม/วัน สำหรับผู้ชาย
รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมและควบคุมสัดส่วนอาหาร
การควบคุมสัดส่วนอาจช่วยคุณควบคุมปริมาณแคลอรี่และรักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งการควบคุมน้ำหนักอาจช่วยส่งเสริมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีต่อสุขภาพ แลยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ โดยการควบคุมสัดส่วนอาหาร อาจทำได้ดังนี้
- วัดและชั่งน้ำหนัก
- ใช้จานเล็กลง
- หลีกเลี่ยงร้านอาหารที่ทานได้ไม่อั้น
- อ่านฉลากอาหารและตรวจสอบขนาดที่ให้บริการ
- เก็บบันทึกอาหาร
- รับประทานอาหารช้า ๆ
ดื่มน้ำมาก ๆ
การดื่มน้ำมาก ๆ อาจช่วยให้ไตขับน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายได้ นอกจากนี้ ยังอาจลดความเสี่ยงในการทำให้ระดับน้ำตาลสูง และป้องกันภาวะขาดน้ำได้ อย่างไรก้ตาม ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพราอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้
เลือกอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
ดัชนีน้ำตาล (GI) เป็นตัวชี้วัดว่าคาร์โบไฮเดรตสลายตัวได้เร็วแค่ไหนระหว่างการย่อยอาหาร และร่างกายดูดซึมได้เร็วแค่ไหน ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ปริมาณและประเภทของคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานจะเป็นตัวกำหนดว่าอาหารนั้นส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับประทานอาหารดัชนีน้ำตาลอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ สำหรับตัวอย่างอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ได้แก่
- โยเกิร์ตกรีกไม่หวาน
- ข้าวโอ้ต
- ถั่ว
- ถั่ว
- พืชตระกูลถั่ว
- พาสต้า
- ข้าวสาลี
นอกจากนี้ การเพิ่มโปรตีนหรือไขมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพยังอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารได้อีกด้วย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย