backup og meta

ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยตัวเอง คุณก็ทำได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/06/2020

    ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยตัวเอง คุณก็ทำได้

    ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยตัวเอง คุณก็ทำได้

    การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เป็นส่วนสำคัญในการประเมินความเสี่ยงการเป็นเบาหวาน และถ้าคุณเป็นเบาหวาน การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง จะเป็นตัวช่วยในการวางแผนการรักษาและป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน คุณสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวคุณเองได้ที่บ้าน โดยใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ซึ่งสามารถทำได้ ตามคู่มือการใช้งานของเครื่องแต่ละประเภท

    ทำไมจึงต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

    การ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยตนเอง ยังช่วยให้เราทราบข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ 

    • ทำให้ทราบว่า เราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้มากน้อยเพียงใดในการดูแลภาวะเบาหวาน 
    • ทำให้ทราบว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าไปและการออกกำลังกายนั้นมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร เพื่อปรับพฤติกรรมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย
    • ทำให้เข้าใจว่าปัจจัยอื่น ๆ เช่น อาการเจ็บป่วย หรือความเครียดนั้น ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร
    • สามารถติดตามผลอันเนื่องมาจากการรักษาด้วยยาเบาหวานที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
    • ทำให้ทราบว่าค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่มีระดับสูงหรือต่ำ
    • ตรวจให้แน่ใจว่าอาการที่กำลังเกิดขึ้น เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไปหรือไม่

    ควร ตรวจน้ำตาลในเลือด เมื่อไหร่

    แพทย์ผู้รักษาสามารถให้คำแนะนำได้ว่า คุณควร ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อใดและบ่อยแค่ไหน โดยทั่วไป ความถี่ของการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวาน และแผนการรักษา เป็นต้น

    • หากคุณเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด 410 ครั้งต่อวัน โดยอาจจะต้องตรวจก่อนมื้ออาหารและก่อนทานของว่าง ก่อนและหลังออกกำลังกาย ก่อนนอน และบางครั้งอาจมีการตรวจในช่วงกลางคืนด้วย นอกจากนี้คุณอาจจะต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้นกว่าเดิม หากคุณมีการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันที่แตกต่างไปจากเดิม หรือเริ่มมีการใช้ยาเบาหวานตัวใหม่เพิ่มเข้ามา
    • หากคุณเป็นเบาหวานชนิดที่  2 และต้องใช้อินซูลินเพื่อการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 23 ครั้งต่อวัน โดยขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของอินซูลินที่คุณใช้อยู่

    บ่อยครั้งที่การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจะแนะนำให้ตรวจก่อนอาการและก่อนนอน หากคุณได้รับอินซูลินหลายครั้งต่อวัน หรือหากคุณได้รับอินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาว คุณอาจตรวจระดับน้ำตาลเพียง 2 ครั้งต่อวัน คือก่อนอาหารเช้าและก่อนอาหารเย็น ถ้าคุณรักษาเบาหวานโดยที่ไม่ได้รับอินซูลิน แต่ใช้วิธีการใช้ยารับประทานหรือเพียงควบคุมอาหาร หรือออกกำลังกายเป็นหลัก คุณอาจจะตรวจน้ำตาลแบบเป็นคู่ เช่น ก่อนและหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ตอนเช้าและก่อนนอน หรือก่อนและหลังออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3-4 วัน อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    เป้าหมายระดับน้ำตาลควรเป็นเท่าไหร่

    เป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาล ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่

    • ชนิดและความรุนแรงของเบาหวาน
    • อายุ
    • ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน
    • ภาวะตั้งครรภ์
    • ตรวจพบภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน
    • สุขภาพโดยรวมและยาอื่น ๆ ที่รับประทานร่วมด้วย

    สำหรับผู้มีภาวะเบาหวานทั่วไป สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริก(The American Diabetes Association) แนะนำระดับน้ำตาลเป้าหมายในการควบคุมเบาหวาน ดังนี้

    • ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร อยู่ระหว่าง 80130 mg/dL 
    • ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 2 ชั่วโมง น้อยกว่า 180 mg/dL 

    ขั้นตอนการ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยตนเอง

    การตรวจน้ำตาลในเลือด ทำได้โดยใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ซึ่งเครื่องจะอ่านค่าน้ำตาลจากหยดเลือดที่ได้จากการเจาะบริเวณปลายนิ้ว โดยคุณอาจขอคำแนะนำเพิ่มเติมในการตรวจจากแพทย์ผู้รักษา

    คุณควรอ่านคู่มือการใช้งานที่แนบมาในกล่องของเครื่องตรวจระดับน้ำตาลอย่างละเอียด พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว โดยทั่วไปแล้วมีคำแนะนำคร่าว ๆ ดังนี้

    • ล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้ง
    • ใส่แผ่นทดสอบเข้าไปในเครื่อง
    • เจาะเลือดจากปลายนิ้ว โดยใช้เข็มและปากกาเจาะเลือดที่มาพร้อมชุดตรวจ 
    • หยดเลือดลงบนแผ่นทดสอบ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดจะปรากฎบนหน้าจอภายในไม่กี่วินาที

    เมื่อคุณได้ผลระดับน้ำตาลในเลือดจากการตรวจในแต่ละครั้ง สามารถบันทึกลงสมุดประจำตัว ใส่วันที่ เวลา ค่าระดับน้ำตาลที่ได้ แล้วนำผลไปปรึกษาแพทย์เมื่อถึงวันนัด เพื่อติดตามผลและมอนิเตอร์ค่าระดับน้ำตาลเป้าหมายในลำดับต่อไป

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา