การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที เป็นเวลา 5 วัน/สัปดาห์ เช่น การวิ่ง เดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน โยคะ อาจช่วยกระตุ้นการผลิตอินซูลินภายในร่างกาย และอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีไขมันดี แคลอรี่ต่ำ และมีใยอาหารสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า อัลมอนด์ ถั่วลิสง มะเขือเทศ ผักใบเขียว ขนมปังโฮลวีต เพื่อช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล ไขมัน และคอเลสเตอรอลจากอาหาร และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งสูงในปริมาณมาก เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม ข้าวขาว เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไป
การสูบบุหรี่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ที่อาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
- ตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยอาจใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดตรวจด้วยตัวเอง พร้อมกับจดบันทึกค่าน้ำตาลในเลือดที่ได้แต่ละครั้ง เพื่อแจ้งให้คุณหมอทราบภายหลัง โดยการวัดระดับน้ำตาลในเลือดสามารถทำได้ 3 วิธีดังนี้
- การตรวจน้ำตาลในเลือดแบบสุ่ม เป็นการวัดระดับน้ำตาลที่สามารถตรวจในช่วงเวลาใดก็ได้และไม่จำเป็นต้องอดอาหารและเครื่องดื่ม
- การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหาร ก่อนการตรวจเลือดควรอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเจือจางของเลือด
- การตรวจเบาหวานจากการให้รับประทานกลูโคส คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังดื่มสารละลายกลูโคส โดยการตรวจครั้งที่ 1 ควรอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนตรวจ หลังจากนั้นให้ตรวจเลือดครั้งที่ 2 โดยให้ดื่มสารละลายกลูโคสประมาณ 2 ชั่วโมง ก่อนจะตรวจ และควรจดบันทึกให้ละเอียด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย