ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือค่าฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี มีดังต่อไปนี้
- ต่ำกว่า 5.7% หมายถึง ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- 7-6.4% หรือมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมระหว่าง 42-48 มิลลิโมล/โมล หมายถึง มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (Prediabetes)
- 5% ขึ้นไป หรือมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม 48 มิลลิโมล/โมล ขึ้นไป หมายถึง เป็นโรคเบาหวาน
2. การ เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ไม่อดอาหาร แบบ Random blood glucose test
การเจาะน้ำตาลแบบสุ่ม (Random blood glucose test) เป็นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการสุ่มเวลาในการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วหรือเจาะเส้นเลือดที่แขนโดยไม่ต้องอดอาหารล่วงหน้า คุณหมอมักใช้วิธีนี้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานสำหรับผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หากตรวจพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือตั้งแต่ 11.1 มิลลิโมล/ลิตรขึ้นไป หมายถึง ผู้ทดสอบเป็นโรคเบาหวาน
หากคุณหมอสงสัยว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาจให้เข้ารับการทดสอบเลือดเพิ่มเติมเพื่อหาออโตแอนติบอดี (Autoantibodies) หรือสารภูมิคุ้มกันที่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะในร่างกาย และอาจให้เข้ารับการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารคีโตน (Ketone) ซึ่งเกิดจากร่างกายเผาผลาญไขมันเป็นน้ำตาลเพื่อใช้เป็นพลังงาน เนื่องจากการทำงานของอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตผิดปกติ
โดยทั่วไป อาหารหรือเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไปจะไม่กระทบต่อผลลัพธ์ของการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ไม่อดอาหาร จึงทำให้ผู้ที่จะเข้าทดสอบรับการตรวจน้ำตาลในเลือดวิธีนี้ ไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือเครื่องดื่มใด ๆ ก่อนเข้ารับการทดสอบ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเข้ารับการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ไม่อดอาหาร ควรเตรียมตัวในเบื้องต้นด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนถึงเวลานัดตรวจวัดระดับน้ำตาล และสามารถรับประทานยารักษาโรคประจำตัวได้ตามปกติ ทั้งนี้ควรพกบัตรประชาชนและบัตรนัดไปโรงพยาบาลด้วยเพื่อใช้ยืนยันตัวตน
ระดับน้ำตาลในเลือด แค่ไหนเสี่ยงเบาหวาน
เกณฑ์ระดับน้ำตาลในเลือด อาจมีดังนี้
- ระดับน้ำตาลในเลือด 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าอยู่ในระดับปกติ
- ระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน
- ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1
- ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารอยู่ที่ 90-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร (1-2 ชั่วโมง) น้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนนอนอยู่ที่ 90-150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารอยู่ที่ 70-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร (1-2 ชั่วโมง) น้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนนอนอยู่ที่ 90-150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย