วิธีรักษาเบาหวานชนิดที่ 1
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องได้รับอินซูลินทดแทนเข้าร่างกายทุกวัน ซึ่งการนำอินซูลินเข้าร่างกายนั้นสามารถทำได้โดยการฉีดยาอินซูลินเท่านั้น ซึ่งมีทั้งการฉีดด้วยเข็ม การฉีดด้วยปากกา และการฉีดด้วยตัวปั๊ม ซึ่งวิธีเหล่านี้มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แพทย์ผู้รักษาจะทำหน้าที่วางแผนและเลือกวิธีที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยเบาหวานแต่ละราย รวมทั้งการเลือกใช้ยารับประทานร่วมด้วย
วิธีรักษาเบาหวานเบาหวานชนิดที่ 2
การรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นอกเหนือจากการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง หรือการใช้อินซูลิน เพื่อช่วยลดรักษาระดับน้ำตาลในเลือดแล้วนั้น จำเป็นต้องมีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมอาหาร การเพิ่มกิจกรรมการออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย การเข้าโปรแกรมลดหรือควบคุมน้ำหนักส่วนเกิน รวมทั้งการเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
วิธีรักษาเบาหวานเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
แพทย์อาจให้ยารับประทานเช่นเดียวกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่สิ่งสำคัญที่สุด หญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องเลือกสรรอาหารที่ร่างกายได้รับ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบสามมื้อต่อวัน พยายามเลือกรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนไขมันต่ำอย่างปลา และรับประทานผักให้มากขึ้น รวมทั้งผลไม้หรือธัญพืชแทนของหวานและของว่างชนิดอื่น ๆ งดเครื่องดื่มที่ให้ความหวานอย่างน้ำอัดลม อาจเลือกดื่มน้ำผลไม้ปั่นแต่ไม่เติมน้ำตาลลงไปเพิ่ม
แนวทางอื่น ๆ ในการรักษาเบาหวาน
นอกเหนือไปจากการรับประทานยาเพื่อรักษาโรคเบาหวานรวมทั้งการฉีดยาอินซูลินเข้าร่างกายแล้วนั้น แพทย์อาจใช้วิธีการอื่น ๆ ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อาการของโรค โรคแทรกซ้อน รวมทั้งความต้องการของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งปัจจุบันนี้มีนวัตกรรมและทางเลือกเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคอ้วน เพื่อให้ปริมาณน้ำหนักส่วนเกินลดลง และทำให้ปริมาณระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกายปรับคืนสู่สมดุล
- ตับอ่อนเทียม การติดตั้งเครื่องมือซึ่งทำหน้าที่เลียนแบบตับอ่อนในการผลิตอินซูลินภายในร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องให้อินซูลินแบบต่อเนื่อง เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลต่อเนื่อง และระบบประมวลผลเพื่อคำนวนการให้อินซูลิน
- การปลูกถ่ายตับอ่อน ใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เท่านั้น โดยใช้วิธีการผ่าตัดนำตับอ่อนเดิมออก แล้วนำตับอ่อนจากผู้บริจาคอวัยวะ เปลี่ยนเข้าไปใหม่ ทำให้ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินได้ด้วยตนเองแต่ยังอาจต้องใช้ยาบางตัวร่วมด้วยต่อไปในการรักษา
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย