backup og meta

เบาหวาน อาการคัน ปัญหาผิวหนังที่พบบ่อย

เบาหวาน อาการคัน ปัญหาผิวหนังที่พบบ่อย

เบาหวาน อาการคัน มักเป็นปัญหาผิวที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย เช่น ผิวแห้ง ติดเชื้อรา เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังและเส้นประสาทไม่ดี ทำให้เกิดอาการคัน การดูแลเบาหวานและผิวหนังที่ดี จะช่วยให้บรรเทาอาการคันลงได้

[embed-health-tool-bmi]

เบาหวาน อาการคัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีอาการคันที่ผิวหนัง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากผิวแห้ง การไหลเวียนของเลือดไม่ดี เส้นใยประสาทถูกทำลาย หรือการติดเชื้อรา

หากอาการคันเกิดจากการไหลเวียนเลือดผิดปกติ อาจทำให้รู้สึกคันบริเวณขา หรือเมื่ออาการคันเกิดจากเส้นใยประสาทถูกทำลาย เนื่องจากมีการสะสมของน้ำตาล และสารอื่น ๆ เช่น สารเร่งความชรา (Advance Glycation End Products หรือ AGEs) อาจสร้างความเสียหายให้กับเส้นใยประสาทและอาจทำให้เกิดอาการคันได้

นอกจากนี้ ปัญหาผิวอื่น ๆ จากโรคเบาหวาน อาจทำให้เกิดอาการคันได้เช่นกัน ดังนี้

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) เป็นแบคทีเรียที่พบได้ตามปกติบนผิวหนัง แต่ในผู้ป่วยเบาหวานอาจพบได้บ่อยและอาจสร้างปัญหาร้ายแรงให้กับผู้ป่วยเบาหวานระยะสุดท้ายได้ เช่น อาจทำให้เกิดฝีหรือตุ่มอักเสบ การติดเชื้อที่เท้าที่อาจร้ายแรงจนถึงขั้นสูญเสียเท้า
  • การติดเชื้อรา ส่วนใหญ่เชื้อรามักอาศัยอยู่ในบริเวณผิวหนังที่อับชื้นอย่างบริเวณข้อพับ รักแร้ เท้า ขาหนีบ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคัน หรือแผลพุพอง เช่น เชื้อราในร่มผ้า กลากเกลื้อน และน้ำกัดเท้า
  • ภาวะผิวแห้ง (Necrobiosis Lipoidica Diabeticorum หรือ NLD) ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ยาก มักเกิดขึ้นบริเวณขาส่วนล่าง โดยมีลักษณะเป็นจุดนูนสีแดง อาจกลายเป็นแผลขอบคล้ำได้ ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดและคัน
  • แซนโทมาโตซิสที่ลุกลาม (Eruptive Xanthomatosis) เป็นสภาพผิวที่เกิดจากการดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายกำจัดไขมันในเลือดยากขึ้น อาจทำให้เกิดตุ่มนูนสีเหลือง และผิวโดยรอบมีสีแดง มีอาการคัน มักเกิดขึ้นบริเวณดวงตา ข้อศอก ใบหน้า และก้น
  • โรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) เป็นภาวะผิวหนังที่บริเวณรักแร้ คอ ขาหนีบ ข้อศอก หัวเข้า เป็นสีน้ำตาลหรือสีคล้ำลง มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานมาก
  • โรคผิวหนังจากเบาหวาน (Diabetic Dermopathy) มีลักษณะวงรีหรือวงกลมเป็นหย่อม ๆ สีน้ำตาลอ่อน มักเกิดขึ้นบริเวณหน้าขาทั้งสองข้าง
  • อาการแพ้ (Allergic Reactions) เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ผิวหนังอาจเกิดขึ้นเมื่อตอบสนองต่อยาอินซูลินหรือยารักษาเบาหวาน อาจมีผื่น อาการซึมเศร้า หรือตุ่มนูน
  • แผลพุพองจากเบาหวาน (Diabetic Blisters) มีลักษณะเป็นตุ่มพองบริเวณหลังนิ้วมือ มือ นิ้วเท้า เท้า ขา และปลายแขน มักเกิดขึ้นในผู้ที่เป็นโรคระบบประสาทจากเบาหวาน
  • เส้นโลหิตบริเวณนิ้วตีบ (Digital Sclerosis) มีลักษณะเป็นผิวแข็งและหนาขึ้นที่บริเวณหลังมือ นิ้วเท้า หรือหน้าผาก อาจส่งผลให้ข้อนิ้วแข็งจนขยับไม่ได้
  • แกรนูโลมาวงแหวน (Disseminated Granuloma Annulare) มีลักษณะเป็นผื่นรูปวงแหวนหรือเป็นรูปโค้งบนผิวหนัง มักเกิดขึ้นบริเวณนิ้ว และหู อาจมีสีแดง สีน้ำตาล หรือไม่มีสี

การบรรเทา อาการคัน ในผู้ป่วยเบาหวาน

การบรรเทาอาการคันที่เกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน สามารถทำได้ ดังนี้

  • ตรวจสอบผิวทุกวันเพื่อหาสัญญาณของผื่น หรือการติดเชื้ออื่น ๆ
  • ป้องกันผิวแห้ง ผิวที่แห้งเกินไปอาจเกิดรอยแตก อาการคัน และการติดเชื้อได้ ดังนั้นจึงควรดูแลผิวให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ นิ้วเท้า และขาหนีบ โดยอาบน้ำด้วยอุณหภูมิปกติ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นมากเพื่อลดการสูญเสียความชุ่มชื้นของผิว ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสูตรอ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม เพราะสารเคมีอาจสร้างความระคายเคืองให้กับผิวได้ และหลังจากอาบน้ำควรซับผิวให้แห้งด้วยผ้าขนหนูนุ่มโดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ระหว่างนิ้วเท้า และใต้ราวนม จากนั้นให้ความชุ่มชื้นกับผิวด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและทำให้เกิดผิวแห้ง
  • ใช้ลิปบาล์มเพื่อป้องกันริมฝีปากแห้งและแตก
  • หลีกเลี่ยงการเกาขณะผิวแห้งเพราะอาจทำให้ผิวหนังเกิดแผลได้
  • หลังล้างมือทุกครั้งควรทาครีมเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับมือ
  • ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศเพื่อเพิ่มความชื้นให้กับอากาศภายในบ้าน เพื่อป้องกันผิวแห้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes and Your Skin. https://www.webmd.com/diabetes/guide/related-skin-conditions. Accessed September 28, 2021

DIABETES: 12 WARNING SIGNS THAT APPEAR ON YOUR SKIN. https://www.aad.org/public/diseases/a-z/diabetes-warning-signs. Accessed September 28, 2021

Skin Complications. https://www.diabetes.org/diabetes/complications/skin-complications. Accessed September 28, 2021

Skin disorders in diabetes mellitus: an epidemiology and physiopathology review. https://dmsjournal.biomedcentral.com/articles/10.1186/s13098-016-0176-y. Accessed September 28, 2021

Diabetes Skin Care Tips. https://www.webmd.com/diabetes/guide/diabetes-skin-care. Accessed September 28, 2021

The Association between Serum Cytokines and Damage to Large and Small Nerve Fibers in Diabetic Peripheral Neuropathy. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4415740/.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/05/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องลดน้ำหนัก และควรลดแบบไหน

อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุ และการรับมือ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา