โรคเบาหวาน คือกลุ่มโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นต่อเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงจากอินซูลินที่ไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่อาจตอบสนองต่ออินซูลิน โรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย หาก ลูกเป็นโรคเบาหวาน ตั้งแต่เด็กคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขภาพของลูกด้วยการหมั่นพาเข้าตรวจสุขภาพ และปฏิบัติตามที่คุณหมอแนะนำ
[embed-health-tool-bmi]
ประเภทของโรคเบาหวาน
ประเภทของโรคเบาหวาน มีดังนี้
- เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้น้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย
- เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปากแห้ง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย
ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานในเด็ก
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในเด็กหากไม่รีบรักษา ได้แก่
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานอาจทำให้เด็กเสี่ยงเป็นหลอดเลือดตีบ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดในสมองแตก เนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- เส้นประสาทเสียหาย น้ำตาลในเลือดปริมาณมากอาจทำให้ผนังหลอดเลือดของทุกส่วนในร่างกายรวมถึงหลอดเลือดเส้นประสาทเสียหายและแคบลง ทำให้เด็กอาจรู้สึกชา เจ็บปวด
- สุขภาพตาเสื่อม ระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในระดับสูงอาจทำลายหลอดเลือดเรตินาดวงตา นำไปสู่การมองเห็นเปลี่ยนแปลง ภาพซ้อน ตาพร่ามัว
- กระดูกพรุน โรคเบาหวานอาจทำลายมวลกระดูกของเด็ก ทำให้เด็กเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่อเจริญเติบโต
- ไตเสียหาย ไตมีส่วนช่วยในการขจัดของเสียออก แต่หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้เด็กที่เป็นโรคเบาหวานมีอาการเบาหวานแย่ลง ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก็สามารถทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในการกรองของเสียออกได้
เริ่มต้นดูแลลูกอย่างไรเมื่อ ลูกเป็นโรคเบาหวาน
หากลูกเป็นเบาหวาน คุณพ่อคุณแม่ควรปรับพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเพิ่มความแข็งแรงให้ลูก ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีไขมันและแคลอรีต่ำ มีใยอาหารสูง เพิ่มปริมาณผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี
- พาลูกออกกำลังกาย ตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายให้ลูกอย่างน้อย 60 นาที/วัน หรืออาจเข้าขอรับคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อร่วมวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- รักษาด้วยอินซูลิน คุณพ่อคุณแม่ควรเรียนรู้ถึงการใช้อินซูลิน เพราะเนื่องจากอินซูลินมีหลายประเภทได้แก่ อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว อินซูลินออกฤทธิ์ระยะสั้น อินซูลินออกฤทธิ์ระดับปานกลาง และอินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน อีกทั้งยังมีอินซูลินที่สามารถฉีดได้ด้วยตนเองโดยรูปแบบปากกาที่มีเข็มติดอยู่ตรงปลายแท่ง หากคุณพ่อคุณแม่มีความดังวลใจอาจพาลูกฉีดอิซูลินจากคุณหมอได้โดยตรง\
- สังเกตอาการเบาหวาน หากลูกรู้สึกร่างกายขาดน้ำ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เหนื่อยล้าง่าย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะรดที่นอน อารมณ์แปรปรวน หิวบ่อย อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวานที่คุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกเข้าตรวจสุขภาพโดยคุณหมอในทันที