backup og meta

อาหารเสริม เบาหวาน ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/01/2022

    อาหารเสริม เบาหวาน ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

    การดูแลรักษาร่างกายของตัวเองขณะเป็นเบาหวาน อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะการที่จะต้องควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในการควบคุม หลายคนที่เป็นเบาหวาน อาจจะรู้สึกกังวลว่าตัวเองจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีพอ อย่างไรก็ตาม การรับประทาน วิตามิน อาหารเสริม เบาหวาน อาจช่วยให้ควบคุม เบาหวาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    อาหารเสริม คืออะไร

    อาหารเสริม (Food Supplements) หมายถึงสารประกอบที่มีวิตามิน แร่ธาตุ หรือสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น สมุนไพร หรือวิตามินและอาหารเสริมในรูปแบบเม็ด เรามักจะรับประทานอาหารเสริมเพื่อช่วยเพิ่มสารอาหารบางชนิด ที่ร่างกายของเราอาจจะต้องการเป็นพิเศษ รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน

    อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการรับประทานอาหารเสริมแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานก็ควรที่จะใช้ยารักษาโรคเบาหวานตามปกติเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติอยู่เสมอ

    วิตามินและ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

    วิตามินและอาหารเสริม ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น อาจมีดังนี้

  • โครเมียม (Chromium)
  • โครเมียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้น้อย แต่จำเป็นสำหรับร่างกาย โครเมียมจะใช้ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลกลูโคสมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    อย่างไรก็ตามงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้วิตามิน สำหรับการรักษาโรคเบาหวานนั้นยังไม่มีผลที่ชัดเจนนัก การรับประทานอาหารเสริมนี้ในขนาดต่ำอาจจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ยังต้องการงานวิจัยเพิ่มขึ้นที่จะชี้ชัดว่า การรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะขาดโครเมียมอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ การเสริมโครเมียมโดยไม่จำเป็นอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้

    • แมกนีเซียม (Magnesium)

    ผู้ที่มีปัญหากับเกี่ยวกับการหลั่งอินซูลิน และผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นั้น มักจะมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดนักว่า การบริโภคอาหารเสริมแมกนีเซียมนั้นจะช่วยบรรเทาหรือลดปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่

    • วิตามินบี 1 หรือไทอะมีน (Thiamine)

    คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นมักจะมีภาวะขาดไทอะมีนด้วยเช่นกัน สารไทอะมีนนั้นเป็นวิตามินที่สามารถละลายน้ำได้ และดูดซึมไปใช้ในเซลล์ได้ค่อนข้างยาก แต่ไทอะมีนในรูปแบบอาหารเสริมอย่าง Benfotiamine นั้นเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ทำให้สามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่ายกว่า มีงานวิจัยบางชิ้นที่ชี้นำว่า Benfotiamine นั้น สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้

    • กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-Lipoic Acid หรือ ALA)

    กรดอัลฟาไลโปอิกนั้นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีงานวิจัยบางชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า อาหารเสริมชนิดนี้อาจสามารถช่วยลดภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่น ช่วยลดอาการดื้อต่ออินซูลิน และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารได้

    แต่อย่างไรก็ตามยังต้องการงานวิจัยมากกว่านี้ เพื่อยืนยันถึงผลกระทบและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น การรับประทานอาหารเสริมกรดอัลฟาไลโปอิกอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงไปจนถึงระดับอันตรายได้

    ข้อควรระวังในการใช้อาหารเสริมระหว่างเป็นโรคเบาหวาน

    แม้ว่าอาหารเสริมเหล่านี้อาจจะมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก็ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในการเลือกรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารเสริม เนื่องจากอาหารเสริมบางชนิด อาจมีการปนเปื้อนของสารอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุอยู่ในฉลากยา

    อาหารเสริมบางประเภท สามารถมีปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้อยู่ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ ที่คุณใช้ เช่น สมุนไพรต่าง ๆ ปฏิกิริยานี้อาจเพิ่มหรือลดผลของยาที่คุณกำลังใช้ และทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นไปได้ยากกว่าปกติก็เป็นได้

    ดังนั้นการรับประทานวิตามินและอาหารเสริม อาจจะสามารถช่วยสนับสนุนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามควรเลือกใช้อาหารเสริมอย่างระมัดระวัง หรือปรึกษาแพทย์ก่อนจะรับประทานอาหารเสริม

    สมาคมโรคเบาหวานประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Diabetes Association)ได้กล่าวว่า ยังไม่มีการพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของการรับประทานวิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ไม่ได้มีภาวะขาดวิตามินหรือแร่ธาตุนั้น ๆ อยู่แล้ว เพื่อความปลอดภัยคุณควรจะปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง ก่อนที่จะเลือกหาวิตามินและอาหารเสริมใด ๆ มารับประทาน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา