เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด เกิดจากร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ
คุณต้องการออกจากระบบใช่หรือไม่
เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด เกิดจากร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ
เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด เกิดจากร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ นอกจากนี้ ภาวะที่ร่างกายสังเคราะห์อินซูลิน (Insulin) ได้ไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกัน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจควบคุมอาการของโรคได้ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย และการควบคุมน้ำหนัก แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีตามต้องการ ก็อาจต้องใช้อินซูลินหรือยารักษาเบาหวานร่วมด้วย
เบาหวานชนิดที่ 2 อาจพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก แต่ในปัจจุบัน เด็กป่วยเป็นโรคอ้วนมากขึ้น จึงอาจส่งผลให้จำนวนเด็กที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี จากรายงานทางสถิติของโรคเบาหวานโดยองค์การอนามัยโลก พบว่า
อย่างไรก็ดี เบาหวานชนิดที่ 2 สามารถจัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
สัญญาณและอาการของเบาหวานชนิดที่ 2 มักเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ บางครั้งผู้ป่วยอาจเป็นเบาหวานมานานหลายปีโดยไม่รู้ตัว โดยอาการที่พบได้ทั่วไปของเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่
คุณควรไปพบคุณหมอ เมื่อมีอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ควรทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์และระดับความรุนแรงของคุณ
เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากร่างกายดื้อต่ออินซูลิน หรือตับอ่อนสังเคราะห์อินซูลินได้ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ น้ำตาลจึงสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป และเกิดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 มีหลายประการ เช่น
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
หากคุณหมอสงสัยว่าผู้ป่วยอาจเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คุณหมออาจให้เข้ารับการตรวจร่างกายและการตรวจวินิจฉัยโรค ดังต่อไปนี้
การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเกี่ยวข้องกับการจัดการระดับน้ำตาลในเลือด หลายคนอาจรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และจัดการความเครียด ทำให้สุขภาพดีขึ้น หรือบางคนอาจต้องรับประทานยาร่วมด้วย ซึ่งวิธีการรักษาเบาหวานอาจทำได้ดังนี้
เมื่อน้ำหนักตัวลดลง ระดับน้ำตาลในเลือดก็อาจลดลงไปด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ผู้ป่วยควรลดน้ำหนักลงให้ได้อย่างน้อย 7% ของน้ำหนักตัว เช่น หากน้ำหนัก 82 กิโลกรัม ก็ควรลดน้ำหนักให้ได้ 5.9 กิโลกรัม เมื่อน้ำหนักลดลงก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น
การรับประทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงให้น้อยลง กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น รวมถึงการบริโภคไฟเบอร์เพิ่มขึ้น ถือเป็นเคล็ดลับในการรับประทานอาหารที่ดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
หากไม่ทราบว่าควรรับประทานอาหารชนิดใด ควรงด หรือลดอาหารชนิดใด อาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ นักโภชนาการ เพื่อให้ได้รับคำตอบที่เหมาะสมกับตนเองที่สุด
การออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลาง 30-60 นาที หรือออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นสูง 15-30 นาทีเป็นประจำทุกวัน อาจช่วยให้ร่างกายรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ดีขึ้น
รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดิน การเต้น การว่ายน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 วัน ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายแบบแรงต้าน (Resistance Exercise) เช่น การยกน้ำหนัก โยคะ สัปดาห์ละ 2 วัน
แผนการเฝ้าระวังของผู้ป่วยแต่ละคนขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางรายอาจต้องตรวจและบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดวันละหลายครั้ง โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้อินซูลิน ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 บางรายอาจต้องใช้ยาเบาหวาน หรือฉีดอินซูลินด้วย โดยยาที่นิยมใช้ในการรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 อาจได้แก่
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองตามเคล็ดลับต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ดีขึ้น
ใช้เครื่องมือนี้เพื่อช่วยคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณ และดูว่าคุณมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีหรือไม่ เครื่องมือนี้ยังสามารถใช้เพื่อคำนวณค่าดัชนีมวลกายของลูกคุณได้อีกด้วย
เพศชาย
เพศหญิง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Diabetes mellitus type 2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-2-diabetes/home/ovc-20169860. Accessed January 5, 2017.
Diabetes mellitus type 2. http://www.webmd.com/diabetes/type-2-diabetes-guide/type-2-diabetes#2-3. Accessed January 5, 2017.
Diabetes Mellitus Type 2.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK513253/.Accessed January 5, 2017.
Type 2 Diabetes Mellitus.https://emedicine.medscape.com/article/117853-overview.Accessed June 15, 2021
Diabetes mellitus type 2 (non-insulin dependent, mature age onset).https://healthengine.com.au/info/diabetes-mellitus-type-2-non-insulin-dependent-mature-age-onset.Accessed June 15, 2021
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย