- ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ : ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง
- ภาวะก่อนเบาหวานหรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน : ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน : ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป
ทั้งนี้ สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า เป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ที่เป็นเบาหวานคือ ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหาร ควรอยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร ไม่ควรสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จึงจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย
วิธีป้องกัน Blood Sugar สูงเกินไป
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหากปล่อยไว้อย่างเรื้อรังนอกจากจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของโรคเบาหวาน เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ปากแห้ง สายตาพร่ามัว เเล้ว ยังนำไปสู่โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายอื่นๆตามมา ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตนเองด้วยวิธีการเบื้องต้นดังต่อไปนี้
- ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เพราะนอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนัก ป้องกันหรือลดมิให้มีภาวะน้ำหนักเกินซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมของโรคเบาหวานเเล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินได้ดีขึ้น จึงช่วยทำให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้นด้วย
- หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารจำพวกแป้งในปริมาณมาก และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากแป้งขัดขาว ขนมปังขาว เส้นพาสต้า ข้าวเหนียว ขนมเบเกอร์รี่ขนมหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตประมาณไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั่งหมดที่ควรได้รับต่อวัน ทั้งนี้ความต้องการพลังงานจะเเตกต่างกับไปตาม อายุ เพศ เเละกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน เบื้องต้นผู้ชายควรได้รับพลังงานทั้งหมดประมาณ 2,000 – 2,500 กิโลแคลอรี่/วัน ขณะที่ผู้หญิงควรได้รับพลังงานทั้งหมด 1,500 – 2,000 กิโลแคลอรี่/วัน
- รับประทานยาลดระดับน้ำตาลหรือใช้ยาฉีดอินซุลินตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด และไม่ปรับขนาดยาหรืออินซูลินด้วยตัวเอง
- นอนหลับให้เพียงพอ หรือ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากหากพักผ่อนไม่เพีงพอจะทำให้ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเเห่งความเครียด รวมถึง ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความหิว ถูกหลังออกมามากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ มีส่วนส่งผลกระตุ้นความอยากอาหาร อีกทั้งยังมีฤทธิ์ต้านกับ ฮอร์โมนอินซูลิน จึงส่งผลให้ควบคุมเบาหวานได้ยากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรหมั่นตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบถึงระดับน้ำตาลในเเต่ละวันของตน ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดว่าได้ตามเป้าหมาย หรือ อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยหรือไม่ เเละหากระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำเกินไปจะได้รีบปรับการดูเเลตนเองรวมทั้งปรึกษาคุณหมอ เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนที่อันตรายในอนาคต
ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ได้เเก่
- หลังตื่นนอน ก่อนรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มใด ๆ
- ก่อนมื้ออาหารแต่ละมื้อ
- หลังจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมง
- ช่วงที่มีอาการที่สงสัยว่าอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น หิว/โหยอาหารมาก รู้สึกหวิว ๆ ใจสั่น เวียนศีรษะ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย