backup og meta

คลอดลูกในน้ำ คืออะไร มีประโยชน์และความเสี่ยงอย่างไร

คลอดลูกในน้ำ คืออะไร มีประโยชน์และความเสี่ยงอย่างไร

คลอดลูกในน้ำ เป็นทางเลือกหนึ่งในการคลอดลูก โดยขณะคลอด คุณแม่จะแช่อยู่ในสระน้ำอุ่นภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การคลอดลูกในน้ำอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บท้องขณะคลอด ลดระยะเวลาการคลอด และอาจช่วยให้คุณแม่รู้สึกเครียดน้อยกว่าการคลอดในโรงพยาบาลตามปกติ อย่างไรก็ตาม การคลอดลูกในน้ำอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีสภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เป็นโรคผิวหนัง ครรภ์เป็นพิษ

[embed-health-tool-due-date]

คลอดลูกในน้ำ คืออะไร

การคลอดลูกในน้ำ (Water birth) หมายถึงกระบวนการคลอดโดยให้ตัวคุณแม่แช่อยู่ในอ่างหรือสระน้ำอุ่นที่มีความลึกประมาณหนึ่ง ในปัจจุบัน มีทางเลือกสำหรับการคลอดในน้ำรูปแบบต่างๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับความชอบและสภาวะของตัวแม่เด็กและทารกในครรภ์ โดยสามารถเลือกคลอดในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้การสนับสนุนเรื่องการคลอดในน้ำ หรืออาจจะคลอดที่บ้านภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญก็ได้

ในช่วงระหว่างการคลอดนั้น ตัวคุณแม่จะต้องแช่อยู่ในน้ำอุ่น โดยเลือกได้ว่าจะแช่อยู่ในน้ำแค่ในช่วงเจ็บท้องคลอด แล้วออกมาคลอดข้างนอก หรือจะคลอดขณะที่ยังแช่อยู่ในน้ำเลยก็ได้ การคลอดในน้ำนั้นเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการทำธาราบำบัด (hydrotherapy) โดยใช้น้ำมาเป็นตัวช่วยในการลดความปวดและความเครียดระหว่างการคลอดได้เป็นอย่างดี

การคลอดในน้ำมีประโยชน์อย่างไร

การคลอดในน้ำนั้นมีประโยชน์ทั้งต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์เองและทารกในครรภ์ในด้านต่างๆ ดังนี้

ประโยชน์สำหรับแม่ตั้งครรภ์

สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (The American College of Obstetricians and Gynecologists) ได้กล่าวถึงการคลอดในน้ำไว้ว่า การที่ให้แม่แช่ตัวอยู่ในน้ำอุ่นในช่วงแรกของการเจ็บท้องคลอด อาจช่วยลดระยะเวลาช่วงเจ็บท้องคลอดให้สั้นลง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดที่บริเวณไขสันหลังและโดยรอบได้  อีกทั้ง การคลอดลูกในน้ำจะช่วยลดอัตราจำนวนแพทย์หรือพยาบาลที่ต้องทำการผ่าคลอดลง นอกจากนี้ผู้ที่คลอดลูกในน้ำยังมีความเครียดหลังคลอดน้อยกว่าผู้ที่คลอดลูกด้วยวิธีตามปกติอีกด้วย

น้ำอุ่นจะช่วยผ่อนคลาย ให้ความรู้สึกปลอบประโลม และสบายใจแก่ตัวแม่เด็ก น้ำจะช่วยพยุงน้ำหนัก ทำให้สามารถเคลื่อนไหวและปรับเปลี่ยนท่าทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น การลอยตัวในน้ำยังมีประโยชน์ต่อการหดตัวของมดลูก และช่วยเรื่องการไหลเวียนของโลหิต ทำให้สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณมดลูกและทารกในครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น และบรรเทาอาการปวดสำหรับหญิงตั้งครรภ์

นอกจากนี้ น้ำยังช่วยอาจลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด ทำให้ร่างกายสามารถสร้างเอนดอร์ฟิน (Endorphins) สารแห่งความสุขที่ช่วยยับยั้งอาการปวด ช่วยให้บริเวณปากช่องคลอดที่แช่อยู่ในน้ำมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้ช่วยลดการฉีกขาดจากการคลอดได้

ประโยชน์สำหรับทารกในครรภ์

การคลอดลูกในน้ำอาจดีสำหรับทารกในครรภ์ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในน้ำอุ่น คล้ายคลึงกับสภาพแวดล้อมขณะอยู่ในครรภ์ ซึ่งมีความอ่อนโยนต่อตัวทารก ช่วยลดความเครียดของทารก และอาจทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัยมากกว่าการคลอดตามแบบปกติ

ความเสี่ยงของการคลอดลูกในน้ำ

แม้ว่าการคลอดลูกในน้ำอาจมีประโยชน์ในการช่วยบรรเทาอาการปวดและลดความเครียดทั้งกับตัวแม่และเด็ก แต่การคลอดลูกในน้ำนั้นอาจไม่เหมาะสมคุณแม่บางราย สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาให้คำแนะนำว่าวิธีการคลอดลูกในน้ำนั้น เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 37 ถึง 41 สัปดาห์ และควรจะเป็นผู้ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ มีน้ำคร่ำใส และทารกในครรภ์กลับหัวแล้ว

นอกจากนั้น ทารกที่คลอดในน้ำอาจเกิดปัญหาการติดเชื้อหรือโรคอื่นๆ เช่น โรคปอดอักเสบลีเจียนแนร์ (Legionnaires’ disease) จากการที่ทารกหายใจเอาหยดน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลา (Legionella)  ที่ทำให้ทารกเกิดอาการไข้หวัด ไอ และอาจนำมาซึ่งโรคปอดบวมได้ นอกจากนี้ การคลอดลูกในน้ำยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาเกี่ยวกับอุณหภูมิของตัวเด็กทารก เพิ่มโอกาสที่สายสะดืออาจเกิดการบาดเจ็บ และอาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของตัวทารกได้เช่นกัน

การคลอดลูกในน้ำไม่เหมาะกับใคร

แม้ว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ต้องการคลอดลูกในน้ำ แต่ทั้งนี้ ต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแล เพราะอาจมีภาวะที่ไม่เหมาะสมแก่การคลอดลูกน้ำใน ซึ่งผู้ที่ไม่ควรคลอดลูกในน้ำ มีดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่มีติดเชื้อในเลือดหรือผิวหนัง เช่น โรคเริม โรคสะเก็ดเงิน
  • ผู้ที่มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ผู้ที่เคยคลอดลูกแล้วมีปัญหา คลอดติดไหล่ (Shoulder Dystocia)
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝด
  • ผู้ที่เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด
  • ผู้ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia)
  • ผู้ที่มีโอกาสที่จะคลอดยาก
  • ผู้ที่เคยผ่าตัดคลอดมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอาการตกเลือด
  • ทารกในครรภ์มีชีพจรอ่อน หรือจับหาชีพจรยาก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Water Birth. https://americanpregnancy.org/labor-and-birth/water-birth/. Accessed November 17, 2021.

The Basics of Water Birth. https://www.webmd.com/baby/water-birth#1. Accessed November 17, 2021.

A comparison of maternal and neonatal outcomes between water immersion during labor and conventional labor and delivery. https://bmcpregnancychildbirth.biomedcentral.com/articles/10.1186/1471-2393-14-160. Accessed November 17, 2021.

Maternal and Newborn Outcomes Following Waterbirth: The Midwives Alliance of North America Statistics Project, 2004 to 2009 Cohort. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jmwh.12394?__cf_chl_jschl_tk__=pmd_wy4RamQb_WTSb32F5mMYqyZIYjKXxFjMQj5.ijG0OIk-1635251649-0-gqNtZGzNAjujcnBszQhl. Accessed November 17, 2021.

The effects of immersion in water on labor, birth and
newborn and comparison with epidural analgesia
and conventional vaginal delivery. http://cms.galenos.com.tr/Uploads/Article_13217/JTGGA_13_1_45_49.pdf. Accessed November 17, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลังคลอด ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ยาระงับความรู้สึกสำหรับการคลอด (Epidural)


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา