การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ลดปวดหลัง ช่วยป้องกันน้ำหนักขึ้นมากเกินระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้คลอดง่ายขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ยังอาจช่วยส่งเสริม พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ได้อีกด้วย ดังนั้น การออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นระดับปานกาย อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้
การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ ส่งผลอย่างไรต่อ พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายได้ โดยการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นปานกลาง เช่น โยคะ การเดิน เป็นระยะเวลา 20 นาที/วัน หรือ 3 วัน/สัปดาห์ และไม่ควรออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป เพระาอาจเสี่ยงต่อการแท้งลูกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายที่ถูกวิธียังอาจมีประโยชน์ต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เช่น ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังจากการขยายตัวของเชิงอุ้งกราน ทำให้คลอดลูกง่ายขึ้น ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น ที่สำคัญยังอาจช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ด้วย
การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ นอกจากจะส่งผลดีต่อคุณแม่แล้ว ยังอาจส่งผลดีต่อทารกในครรภ์ในด้านต่าง ๆ เช่น อาจช่วยให้ระบบหัวใจแข็งแรง ช่วยให้ทารกมีพัฒนาการสมองที่ดี โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Trials เมื่อ พ.ศ. 2564 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ที่มีผลต่อสมองของทารกแรกเกิด พบว่า คุณแม่ที่ออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์มีการสร้างเซลล์ประสาทของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampal Neurogenesis) เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้ทารกมีความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ที่มีผลต่อสมองของทารกในครรภ์
ข้อควรระวังในการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์
การออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่เคยออกกำลังกายต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ควรออกกำลังกายไม่มากกว่า 15 นาที/วัน และออกเพียง 3 วัน/สัปดาห์ จากนั้นอาจจะค่อย ๆ ปรับเป็น 15 นาที/วัน สำหรับการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ การออกคาร์ดิโอที่มีความหนักระดับกลาง เช่น การเดิน โยคะ ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่อาจเป็นอันตราย เช่น กิจกรรมที่ต้องกลั้นหายใจนาน ๆ เพราะอาจทำให้เลือดขาดออกซิเจน หรือกีฬาที่ต้องใช้กำลังขามาก ๆ เช่น การวิ่ง ดังนั้น การออกกำลังกายจึงเป็นเรื่องที่ต้องประเมินสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วย
นอกจากการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์แล้ว การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ขนมปังโฮลวีต ผักและผลไม้ เช่น มะม่วง มะละกอ แอปเปิ้ล ส้ม ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้อีกด้วย
[embed-health-tool-due-date]