backup og meta

ข้อควรรู้ของ ยาทำแท้ง ที่ถูกกฎหมาย

ข้อควรรู้ของ ยาทำแท้ง ที่ถูกกฎหมาย

ยาทำแท้ง เป็นยายุติการตั้งครรภ์ที่ช่วยหยุดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และขับเอาเนื้อเยื่อออกจากช่องคลอด ซึ่งเป็นยาทางการแพทย์ที่ถูกกฎหมายและต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและการดูแลของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันผลข้างเคียงและอันตรายจากยาปลอมที่อาจทำให้ร่างกายเสียเลือดมากจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

[embed-health-tool-ovulation]

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำแท้ง

การทำแท้งเป็นการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การใช้เครื่องมือทางการแพทย์อย่างเครื่องดูดสูญญากาศ และการใช้ยา โดยยาทำแท้งเป็นยาที่ใช้เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก และขับเนื้อเยื่อออกจากมดลูก ซึ่งยาทำแท้งมักใช้หยุดการตั้งครรภ์ในอายุครรภ์ที่ไม่เกิน 9-12 สัปดาห์ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ

ในประเทศไทยสามารถให้ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องกฎหมาย แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้

  • การตั้งครรภ์เกิดขึ้นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 15 ปี
  • การตั้งครรภ์เกิดขึ้นจากการถูกข่มขืน ถูกล่อลวง อนาจาร บังคับหรือข่มขู่
  • การตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของมารดา
  • ทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของมารดา
  • การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 12 สัปดาห์ หรือมากกว่า 12-20 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ

ยาทำแท้ง มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันในประเทศไทยมียาทำแท้ง 2 ชนิด ที่สามารถใช้ทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและการดูแลของคุณหมออย่างเคร่งครัด ดังนี้

ยาไมโซพรอสทอล (Misoprostol)

ยาไมโซพรอสทอลอาจใช้ในการทำแท้งร่วมกับยามิเฟพริสโตน ออกฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัวและขับเอาเนื้อเยื่อออกจากมดลูกเพื่อยุติการตั้งครรภ์ การใช้ยาไมโซพรอสทอลอาจมีผลข้างเคียง เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง ท้องเสีย
  • อาจมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น วิงเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวน ภาวะขาดน้ำ ปัสสาวะน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ มีเลือดออกทางช่องคลอด ประจำเดือนผิดปกติ

ข้อควรระวังในการใช้ยาไมโซพรอสทอล

ในขั้นตอนการซักประวัติควรแจ้งประวัติสุขภาพให้คุณหมอทราบ โดยเฉพาะหากเป็นโรคกระเพาะหรือโรคลำไส้อักเสบ รวมทั้งในระหว่างการใช้ยาหากมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น

  • วิงเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวน
  • ภาวะขาดน้ำ ปัสสาวะน้อย
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เลือดออกทางช่องคลอด ประจำเดือนผิดปกติ

ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อวินิจฉันอาการและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

ยามิเฟพริสโตน (Mifepristone)

ยามิเฟพริสโตนเป็นยาที่มักใช้ร่วมกับยาไมโซพรอสทอล ขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มีบทบาทสำคัญต่อการตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดการแท้งบุตร มักใช้ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์จนถึงสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์

การทำแท้งด้วยยามิเฟพริสโตนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ท้องเสีย
  • อ่อนแรง

หากพบว่าอาการดังกล่าวรุนแรงขึ้น มีไข้ ปวดท้อง หัวใจเต็นเร็ว หมดสติ หรืออาการเกิดขึ้นนานกว่า 24 ชั่วโมง ควรเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

ข้อควรระวังของการใช้ยามิเฟพริสโตน

หากมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่ควรใช้ยามิเฟพริสโตนในการทำแท้ง เพราะไม่สามารถทำให้เกิดการแท้งได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจทำให้มดลูกแตกจนมีเลือดออกรุนแรง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ ผู้ที่ตั้งครรภ์เกิน 10 สัปดาห์ มีปัญหาต่อมหมวกไต มีภาวะเลือดออกผิดปกติ และคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัย ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยามิเฟพริสโตนในการทำแท้ง

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการทำแท้งโดยเข้าข่ายเงื่อนไขดังที่กล่าวมาข้างต้น สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านที่อยู่ภายใต้โครงการพิเศษสำหรับผู้หญิงที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม หรือติดต่อสายด่วน 1663 เพื่อรับคำปรึกษาและส่งต่อไปยังสถานพยาบาลใกล้บ้าน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Misoprostol – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-6111/misoprostol-oral/details. Accessed February 7, 2023

Mifepristone 200 Mg Tablet Abortifacients – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-20222-325/mifepristone-oral/mifepristone-oral/details. Accessed February 7, 2023

คำถามก่อนเข้ารับยุติการตั้งครรภ์. https://www.rsathai.org/networkservice/. Accessed February 7, 2023

ยายุติการตั้งครรภ์/ยาทำแท้ง คืออะไร ประกอบด้วยยาอะไรบ้าง. https://www.rsathai.org/contents/15277/. Accessed February 7, 2023

ความก้าวหน้าของการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา. https://www.rsathai.org/contents/372/. Accessed February 7, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/08/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยายุติการตั้งครรภ์ ซื้อที่ไหน ซื้อใช้เองอันตรายไหม

ทำแท้ง ถูกกฏหมายหรือไม่ และข้อเท็จจริงที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 16/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา