backup og meta

คุณแม่ตั้งท้องไปทำฟัน มีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่

คุณแม่ตั้งท้องไปทำฟัน มีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่

ช่วงเวลาในการตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ตัวเองและทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง หลายคนอาจสงสัยว่า คุณแม่ตั้งท้องไปทำฟัน ได้หรือไม่ ไปทำฟันแล้วจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ ในความเป็นจริงแล้ว คุณแม่ตั้งท้องสามารถไปทำฟันได้ โดยควรแจ้งให้คุณหมอหรือเจ้าหน้าที่ทีให้บริการทราบ นอกจากนี้ การมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดียังอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

คุณแม่ตั้งท้องไปทำฟัน มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งท้องอาจสงสัยว่า การทำฟันขณะตั้งท้องมีความเสี่ยงกับพัฒนาการของทารกในครรภ์หรือไม่ ในความเป็นจริงแล้ว คุณแม่ตั้งท้องสามารถตรวจสุขภาพฟันและทำฟันได้ตามปกติ โดยที่ไม่มีอันตรายใด ๆ การมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้มากกว่า เพราะในขณะที่ตั้งท้องเป็นช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการมีปัญหาเกี่ยวกับเหงือก จนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเองหรือทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น เมื่อไปทำฟันควรแจ้งกับทันตแพทย์และเจ้าที่ที่ให้บริการทราบว่า กำลังตั้งครรภ์ เพื่อความสะดวกในการเข้ารับบริการ

คุณแม่ตั้งท้องไปทำฟัน มีข้อควรรู้อะไรบ้าง

สำหรับข้อควรรู้สำหรับคุณแม่ตั้งอาจมี ดังนี้

ตรวจเช็กสุขภาพฟันก่อนตั้งท้อง

ก่อนการตั้งท้องควรไปตรวจเช็กสุขภาพฟัน และจัดการกับปัญหาสุขภาพในช่องปากให้เรียบร้อย เพื่อที่ในระหว่างตั้งท้องจะได้มีสุขภาพช่องปากที่ดี อย่างไรก็ตาม เมื่อตั้งท้องระดับฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้หิวบ่อย หิวง่าย รับประทานของหวานมากขึ้น ซึ่งเอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาฟันผุและปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพเหงือกได้

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการ ทำฟันขณะตั้งครรภ์

แม้การไปพบทันตแพทย์จะสามารถทำได้ในขณะตั้งท้อง แต่ก็มีช่วงเวลาที่เหมาะแก่การทำฟันอยู่ด้วยเช่นกัน โดยช่วงเวลาดังกล่าว คือ ช่วงไตรมาสที่ 2 และช่วงที่ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งท้อง โดยในส่วนของช่วงไตรมาสที่ 3 นั้น แม้จะมีความปลอดภัย แต่ยังคงมีปัญหาในส่วนของการเอนหลัง หรือการนอนขณะทำฟัน เนื่องจากมีขนาดครรภ์ใหญ่ จนอาจทำให้เกิดความลำบากต่อคุณแม่ได้

แจ้งทันแพทย์ว่ากำลังตั้งท้อง

คุณแม่ที่ต้องการทำฟันขณะตั้งท้อง ควรแจ้งทันตแพทย์ก่อนเสมอว่า กำลังตั้งท้อง เพื่อที่ทันตแพทย์และเจ้าที่ที่ให้บริการจะได้มีการเตรียมเบาะ และคอยดูแลให้มีการนั่งหรือนอนในท่าที่จะไม่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังในขณะรอ รวมถึง ควรแจ้งรายชื่อยาที่มีอาการแพ้ให้ทันตแพทย์ทราบด้วย

อย่างไรก็ตาม ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) และอะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ก็มีความปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ แต่หากมีอาการแพ้ยาดังกล่าวก็ควรแจ้งให้คุณหมอทราบ

การเอกซเรย์ทำฟันขณะตั้งท้อง

คุณแม่หลายคนมีความกังวลว่า หากต้องไปทำฟันแล้วจำเป็นที่จะต้องมีการเอกซเรย์ รังสีจากการเอกซเรย์จะส่งผลต่อสุขภาพทารกในครภ์และตัวเองหรือไม่ ในความเป็นจริงแล้ว การเอกซเรย์ขณะตั้งท้องมีความปลอดภัย เนื่องจากรังสีเอกซ์สำหรับทันตกรรมนั้นมีปริมาณที่น้อยมาก อีกทั้งทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการจะมีการคลุมร่างกายบริเวณท้องและคอ ด้วยผ้ากันเปื้อนหรือผ้าคลุมที่มีสารตะกั่ว เพื่อช่วยลดการสัมผัสกับรังสีและป้องกันไทรอยด์จากรังสี

การฉีดยาชาขณะทำฟันในช่วงที่ตั้งท้อง

คุณแม่หลายคนมีความกังวลว่า การฉีดยาชาตอนทำฟันจะส่งผลกระทบไปถึงทารกในครรภ์หรือไม่ จากผลการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ใน Journal of the American Dental Association พบว่า การฉีดยาชาสำหรับการทำฟันในช่วงที่มีการตั้งท้องไม่ได้ส่งผลเสียที่อันตรายหรือรุนแรง ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าการฉีดยาชาก่อนถอนฟันปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า การทำฟันขณะตั้งท้องสามารถทำได้อย่างปลอดภัยแน่นอน โดยควรแจ้งให้ทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการทราบ นอกจากนี้ ยังควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันฟันผุ ปัญหาเกี่ยวกับเหงือก และยังลดความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Is It Safe To Go To the Dentist During Pregnancy?. https://www.mouthhealthy.org/en/pregnancy/concerns. Accessed on February 6, 2020.

Can I go to the dentist when I’m pregnant?. https://utswmed.org/medblog/pregnancy-dentist/. Accessed on February 6, 2020.

Dental Care and Pregnancy. https://www.webmd.com/oral-health/dental-care-pregnancy#1. Accessed on February 6, 2020.

Pregnancy and Oral Health. https://www.cdc.gov/oralhealth/publications/features/pregnancy-and-oral-health.html. Accessed May 31, 2021.

Oral care in pregnancy. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6883753/. Accessed May 31, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/11/2022

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

กินยาคุม แบบผิดวิธี อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้

แปรงสีฟัน เลือกให้ถูกต้อง เพื่อสุขภาพฟันที่ดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 23/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา