backup og meta

ท่าออกกำลังกายคนท้อง เพิ่มความแข็งแรงให้คุณแม่และลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

    ท่าออกกำลังกายคนท้อง เพิ่มความแข็งแรงให้คุณแม่และลูกน้อย

    ท่าออกกำลังกายคนท้อง มีหลากหลาย หากไม่แน่ใจว่าควรออกกำลังกายด้วยท่าไหนดี ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อจะได้จัดหาท่าออกกำลังกายคนท้องที่เหมาะสมแก่ตนเองมากที่สุด คุณแม่บางคนไม่กล้าเสี่ยงออกกำลังกายเพราะกลัวอันตรายจะเกิดขึ้น ทั้งที่จริงแล้ว การออกกำลังกายขณะตั้งท้องนั้นมีความสำคัญ เพราะช่วยบรรเทาอาการไม่สบายตัว และยังช่วยเตรียมความพร้อมร่างกายสำหรับการคลอดได้ด้วย

    ท่าออกกำลังกายคนท้อง แบบไหนจึงปลอดภัย

    แม้ว่าโดยปกติแล้วคนท้องออกกำลังได้และเป็นเรื่องที่ปลอดภัย หากยังเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างปกติ ที่สำคัญ การออกกำลังกายไม่ได้ทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเพื่อการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเองและลูกในครรภ์

    ประโยชน์ของ ท่าออกกำลังกายคนท้อง ที่ถูกต้อง

    หญิงตั้งครรภ์ที่ออกกำลังกายด้วยท่าทางที่เหมาะสมและถูกต้อง ย่อมส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ดังต่อไปนี้

  • ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • คนท้องควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานขณะตั้งท้องได้ อาจปรึกษาคุณหมอถึง ท่าออกกำลังกายคนท้อง ที่ถูกต้องและเหมาะสม

  • ฟื้นตัวหลังคลอดเร็ว
  • การออกกำลังกายขณะท้องช่วยให้ครรภ์แข็งแรงและทำให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้นหลังคลอด จึงมีโอกาสกลับมาทำงานได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย

    • ช่วยให้คลอดง่าย

    การออกกำลังกายจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง มีความยืดหยุ่น ช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจช่วยให้คลอดตามธรรมชาติง่ายขึ้น

    • ช่วยปรับปรุงอารมณ์

    ผู้หญิงจะมีความอ่อนไหวต่อภาวะซึมเศร้ามากขึ้นกว่าเดิมในระหว่างที่ตั้งท้อง โดยผู้หญิงหนึ่งในสองคนจะมีภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น แต่การออกกำลังกายในระหว่างที่ตั้งท้องจะช่วยลดภาวะซึมเศร้าเพราะการปล่อยสารเอนดอร์ฟินที่ช่วยปรับปรุงอารมณ์ ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลด้วย

    • ลดความดันโลหิต

    ในบางครั้งความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งท้อง แต่หากมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะครรภ์เป็นพิษ การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องหรือเพียงแค่เดินเป็นประจำก็อาจช่วยรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ

    • บรรเทาอาการปวดหลังและอุ้งเชิงกราน

    เมื่อลูกน้อยในครรภ์เติบโตขึ้นจะทำให้มีแรงกดในช่วงหลังล่างเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างและกระดูกเชิงกราน การออกกำลังกายจะช่วยลดอาการปวดเหล่านั้นให้น้อยลงในช่วงไตรมาสสุดท้าย

    • ช่วยให้หลับสบาย

    หญิงตั้งท้องหลายๆ คนมักมีอาการนอนหลับยาก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้นหลังจากตื่นนอนก็รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น แต่ควรเลือกเวลาออกกำลังกายที่ไม่ใกล้กับเวลานอนมากจนเกินไป

    ประโยชน์จาก ท่าออกกำลังกายคนท้อง สำหรับทารกในครรภ์

    ประโยชน์ของการออกกำลังกายไม่ว่าจะเป็นการเดิน ว่ายน้ำ หรือการเล่นโยคะขณะตั้งท้องไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายคุณแม่แข็งแรงเท่านั้น แต่อาจส่งผลดีต่อทารกในครรภ์อีกด้วย เช่น ทารกจะมีการทำงานของสมองที่เจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากการออกกำลังกายอาจจะเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปยังสมองของทารก ซึ่งเป็นการเพิ่มความเข้มข้นของสารเคมีที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาสมอง ทำให้สมองมีการทำงานที่ดีขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาการด้านภาษาและการเคลื่อนไหว

    ท่าออกกำลังกายคนท้อง ที่ควรระวัง

    แม้คนท้องจะออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่มีท่าออกกำลังกายที่ควรระมัดระวัง ดังนี้

    • ท่าออกกำลังกายที่ใช้สมดุลของร่างกาย การออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อการล้มได้ง่ายหรือเป็นอันตรายต่อหน้าท้อง ควรปรับเปลี่ยนไปเป็นท่าออกกำลังกายอย่างอื่น เช่น การใช้กำแพงหรือเก้าอี้เพื่อเป็นตัวช่วยสร้างความสมดุลหรือหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่เสี่ยงเกินไป
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้หายใจไม่เพียงพอ การออกกำลังกายที่ต้องกลั้นลมหายใจเป็นระยะเวลานาน หรือหายใจได้ลำบากจะทำให้ทารกในครรภ์ถูกจำกัดการรับออกซิเจนไปด้วยซึ่งเป็นอันตรายต่อภาวะสมองของทารก
    • ไม่ควรออกกำลังกายในสภาพอากาศที่ร้อน การออกกำลังกายในสถานที่ที่ร้อนหรือการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายร้อนจัด และเหงื่อออกมากจะส่งให้ความดันสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
    • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ช่องท้อง รวมถึงกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวสั่นสะเทือน มีการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว หรือเคลื่อนไหวที่ต้องบิดเอวขณะยืน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา