backup og meta

คนท้องเป็นเบาหวาน ควรดูแลตัวเองอย่างไร

คนท้องเป็นเบาหวาน ควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานและวางแผนตั้งครรภ์ ควรดูแลตัวเองให้ดีทั้งในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ โดยทั่วไป คนท้องเป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีน้ำตาลน้อย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจครรภ์กับคุณหมออย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

คนท้องเป็นเบาหวาน ควรดูแลตัวเองอย่างไร

วิธีในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ สำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน สามารถทำได้ดังนี้

1. วางแผนการตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน ควรรับคำปรึกษากับทีมแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ คุณหมอต้องประเมินถึงผลของโรคเบาหวานในร่างกาย และให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างช่วงตั้งครรภ์ หรือเปลี่ยนยาหากจำเป็น และวางแผนเพื่อติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ หากน้ำหนักเกิน คุณหมออาจแนะนำให้ลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

2. พบคุณหมออย่างต่อเนื่อง

คนท้องเป็นเบาหวาน ควรเข้ารับการรักษา หรือตรวจเช็กสุขภาพตามนัดหมายบ่อยกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี คุณแม่และคุณหมอจะทำงานร่วมกันเพื่อป้องกัน หรือทำให้ตรวจพบปัญหาได้เร็ว

3. กินอาหารที่มีประโยชน์

ทุกคนควรกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน นักโภชนาการสามารถช่วยวางแผนโภชนาการ และบอกวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่างตั้งครรภ์ที่เหมาะสมที่สุด

4. ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเป็นตัวช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้ว ควรใช้เวลาในการออกกำลังกายระดับปานกลาง เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือการเล่นกับลูก ๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน

5. กินยาและฉีดอินซูลินตามคำแนะนำ

ควรใช้ยารักษาโรคเบาหวานและอินซูลิน (Insulin) ตามที่แพทย์สั่ง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

6. ควบคุมและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเร่งด่วน

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาจนำไปสู่การเกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ในบางครั้ง หากใช้ยาโรคเบาหวานหรืออินซูลิน ควรมีของหวานพกติดตัว เช่น ลูกอม น้ำตาลกลูโคส (Glucose) ชนิดเม็ดหรือชนิดเจล เพราะหากเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรง คนที่อยู่ใกล้ชิด เช่น ญาติ เพื่อน เพื่อนร่วมงาน จะได้หาวิธีรับมือได้ทันท่วงที

7. ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ

เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายต้องกายพลังงาน เพื่อปรับภาวะในร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ และการปรับประเภทและปริมาณอาหาร รวมถึงการออกกำลังกาย และการใช้ยาหรืออินซูลิน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ขึ้นอยู่กับผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes and Pregnancy. https://www.webmd.com/diabetes/pregnancy-diabetes-and-pregnancy#1. Accessed January 5, 2017.

Pregnancy if You Have Diabetes. https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/diabetes-pregnancy. Accessed January 5, 2017.

Pregnancy. http://www.diabetes.org/living-with-diabetes/complications/pregnancy/. Accessed January 5, 2017.

7 Tips To Lower Diabetes Risk in Menopause During the Holidays. http://www.huffingtonpost.com/mache-seibel-md/7-tips-to-lower-diabetes-_b_13572764.html. Accessed January 5, 2017.

Gestational diabetes. https://www.nhs.uk/conditions/gestational-diabetes/. Accessed March 23, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/12/2022

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง ที่บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

เบาหวานกับผิวหนัง ทำไมจึงเกิดอาการคันและติดเชื้อง่าย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 15/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา