backup og meta

น้ำหนักตัวแม่ท้อง ที่เหมาะสม และข้อควรระวัง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์ · สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลนครพิงค์


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    น้ำหนักตัวแม่ท้อง ที่เหมาะสม และข้อควรระวัง

    น้ำหนักตัวแม่ท้อง ควรหนักเท่าไหร่ดี ถึงจะเรียกว่ามีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม เพราะโดยปกติแล้ว คนท้องจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการตั้งครรภ์  แต่หากมีน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป อาจเสี่ยงเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ  ทั้งต่อสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ได้ คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรประเมินน้ำหนักและพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อจะได้มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

    น้ำหนักตัวแม่ท้อง ควรเป็นอย่างไร

    น้ำหนักตัวแม่ท้องที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งน้ำหนักตัวเดิมก่อนการตั้งครรภ์ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สุขภาพของคุณแม่ และสุขภาพของทารกในครรภ์ ล้วนมีส่วนสำคัญต่อน้ำหนักตัวในช่วงตั้งครรภ์ทั้งสิ้น โดยน้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรอยู่ในขอบข่ายตามที่ Institute of Medicine and National Research Council แนะนำไว้ ดังนี้

    น้ำหนักตัวแม่ตั้งท้องลูกคนเดียว 

    น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวขณะ ตั้งครรภ์ ที่ควรเพิ่มขึ้น
    น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน (BMI ต่ำกว่า 18.5) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 13-18 กิโลกรัม
    น้ำหนักตัวปกติ (BMI ตั้งแต่ 18.5-24.9) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11-16 กิโลกรัม
    น้ำหนักตัวมาก (BMI ตั้งแต่ 25-29.9) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 7-11 กิโลกรัม
    โรคอ้วน (BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 5-9 กิโลกรัม

    น้ำหนักตัวแม่ตั้งท้องลูกแฝด

    น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวขณะ ตั้งครรภ์ ที่ควรเพิ่มขึ้น
    น้ำหนักตัวปกติ (BMI ตั้งแต่ 18.5-24.9) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 17-25 กิโลกรัม
    น้ำหนักตัวมาก (BMI ตั้งแต่ 25-29.9) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 14-23 กิโลกรัม
    โรคอ้วน (BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11-19 กิโลกรัม
  • ในกรณีที่มีน้ำหนักตัวมากตั้งแต่ก่อน ตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์แล้วจะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์หลายประการ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ในกรณีที่มีน้ำหนักตัวน้อยตั้งแต่ก่อน ตั้งครรภ์ จำเป็นที่จะต้องเพิ่มน้ำหนักให้เหมาะสม เพราะหากน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น ทารกที่เกิดมาเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์
  • ในกรณีที่ขณะ ตั้งครรภ์ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากจนเกินไป อาจเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะเจ็บครรภ์ก่อนคลอดกำหนด การเกิดลิ่มเลือดในช่วงหลังคลอด ทั้งยังอาจส่งผลต่อทารก เช่น ตัวทารกมีขนาดใหญ่มากเกินไปจนยากต่อการคลอดธรรมชาติ จนต้องมีการผ่าคลอด
  • วิธีดูแล น้ำหนักตัวแม่ท้อง ให้เหมาะสม

    เพื่อให้น้ำหนักตัวแม่ท้องอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ สามารถดูแลตนเองได้ ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนในการเพิ่มน้ำหนัก เช่น อาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน ของทอด 
    • สำรวจปริมาณแคลอรีในแต่ละวัน และจำกัดปริมาณแคลอรีที่ร่างกายแม่ ตั้งครรภ์ ควรได้รับอย่างเหมาะสม
    • แบ่งอาหารออกเป็น 5-6 มื้อ เป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันท้องว่าง ลดความอยากอาหารในมื้อต่อไป
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ ในรายที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพราะการออกกำลังกายสำคัญต่อน้ำหนักตัวแม่ท้อง อีกทั้งมีส่วนช่วยเตรียมร่างกายให้พร้อมต่อการคลอด และช่วยให้กระบวนการคลอดเป็นไปได้อย่างราบรื่นและที่สำคัญคือ มีส่วนช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้สมดุลขณะที่ตั้งครรภ์ด้วย
    • หลีกเลี่ยงการดื่มนมที่มีไขมันสูง เพราะเสี่ยงเกิดไขมันสะสม และทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม
    • เน้นรับประทานที่ให้ไขมันต่ำ เพื่อลดความเสี่ยงของการเพิ่มปริมาณแคลอรี ที่จะทำให้น้ำหนักขึ้น
    • ปรึกษากับคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเรื่องน้ำหนักตัวและวิธีรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสมขณะ ตั้งครรภ์

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

    สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลนครพิงค์


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา