backup og meta

แม่ท้องทำเล็บ อย่างไรจึงจะปลอดภัย และความเสี่ยงที่ควรรู้

แม่ท้องทำเล็บ อย่างไรจึงจะปลอดภัย และความเสี่ยงที่ควรรู้

แม้ว่าจะเป็นคุณแม่ท้อง ก็ยังคงอยากจะสวยและดูดีเหมือนกับสาว ๆ ทั่วไป แต่คุณแม่หลายคนอาจจะมีความกังวลว่าการเสริมความงามอย่างการ ทำเล็บ ว่าเป็นอันตรายหรือเปล่า สารเคมีที่อยู่ในยาทาเล็บ จะทำให้เกิดปัญหาอะไรกับคุณแม่ท้องหรือไม่ ลองมาหาคำตอบเกี่ยวกับสารพัดปัญหา แม่ท้องทำเล็บ ด้วยกันกับ Hello คุณหมอ นะคะ

[embed-health-tool-due-date]

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อ แม่ท้องทำเล็บ

การติดเชื้อที่เล็บจากการ ทำเล็บ

สิ่งแรกที่คุณควรตรวจสอบในร้านเสริมสวยก็คือ ความสะอาด หากร้านนั้นทำความสะอาดเครื่องมือที่ไม่ดี อาจจะเกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ผิวหนังและเล็บ การติดเชื้อต่าง ๆ มีดังนี้

  • การติดเชื้อจากแบคทีเรีย การ ทำเล็บ อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย สัญญาณแรกของการติดเชื้อ คือ อาการบวม แดง หรือแสบร้อนที่เล็บ การใช้ยาฆ่าเชื้อหรือการเอาหนองในบริเวณที่ติดเชื้อออก เป็นวิธีในการรักษาการติดเชื้อประเภทนี้
  • การติดเชื้อรา การติดเชื้อชนิดนี้ทำให้เล็บเหลือง หรืออาจทำให้เล็บหลุด วิธีการรักษาคือ การรับประทานยาหรือการใช้ยาทาเฉพาะที่
  • การติดเชื้อไวรัส ตัวอย่างการติดเชื้อประเภทนี้คือ โรคหูด (Plantar warts) หูดเกิดขึ้นมีสีแตกต่างกัน และมีลักษณะคล้ายหนังหนาด้าน การรักษาทำได้โดยการใช้ยาทาเฉพาะที่

การได้รับสารเคมี

อุปกรณ์สำหรับทำเล็บเกือบทั้งหมดนั้นจะมีส่วนประกอบของสารระเหย หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์ทำเล็บที่ไม่มีกลิ่นนั้น ปลอดภัยกว่าผลิตภัณฑ์ทำเล็บที่มีกลิ่นแรง แต่ที่จริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ทำเล็บที่ไม่มีกลิ่นอาจจะไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป

สารเคมีที่คุณอาจได้รับจากการเข้ารับบริการ ทำเล็บ ได้แก่

  • โทลูอีน (Toluene) เป็นสารเคมีที่พบได้ในน้ำมัน สารนี้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น เวียนศีรษะ ไปจนถึงปัญหาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์
  • ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) คนมักใช้สารเคมีประเภทนี้เพื่อเก็บถนอมสิ่งทีตายแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการสูดกลิ่นหรือสัมผัสสารเคมีชนิดนี้
  • ไดบิวทิลฟทาเลต (Dibutyl phthalate/ DBP) เป็นอันตรายต่อระบบการสืบพันธุ์อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชาย ในปัจุบัน ทวีปยุโรปสั่งห้ามสารเคมีชนิดนี้ เนื่องจากทำให้ระบบต่อมไร้ท่อถูกทำลาย

การ ทำเล็บ กับการตั้งครรภ์

มีความเชื่อว่าการ ทำเล็บ อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ ความคิดที่ว่านี้มาจากความคิดที่ว่า การนวดบริเวณปลายนิ้วมือหรือเท้าสามารถก่อให้เกิดการบีบรัดตัวของมดลูกได้

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มากพอ ที่จะพิสูจน์ว่าความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริง สิ่งที่ดีที่สุดคือ ควรเว้นการนวดบริเวณดังกล่าว พร้อมทั้งปฎิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อการเข้ารับบริการทำเล็บอย่างปลอดภัย

  • ก่อนเลือกร้านเพื่อ ทำเล็บ คุณควรให้เวลาในการพิจารณาความสะอาดของร้านก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องมือและอ่างที่ใช้ในการทำเล็บ
  • ควรสอบถามทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ของร้าน อย่าอายที่จะสอบถาม เพราะการสอบถามเพื่อความมั่นใจเกี่ยวกับความสะอาดของต่าง ๆ ในร้านเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
  • ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการระบายอากาศ ขณะที่ทำเล็บนั้น ควรเลือกที่นั่งใกล้หน้าต่างหรือพัดลม
  • ไม่ควรไปทำเล็บหากมีแผลเปิดที่มือหรือเท้า จุลินทรีย์ต่าง ๆ สามารถแทรกซึมเข้าสู่ระบบต่าง ๆ ในร่างกายผ่านแผลเปิดเหล่านี้
  • หากคุณเลือกที่จะ ทำเล็บ เองที่บ้าน ควรทาเล็บในห้องที่มีอากาศถ่ายเท
  • เลือกผลิตภัณฑ์ทาเล็บที่ไม่มีสารเคมี
  • ท้ายที่สุดแล้ว การปรึกษาแแพทย์เป็นสิ่งที่ดีที่สุดก่อนตัดสินใจทำสิ่งใดที่เกี่ยวกับสุขภาพของคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Is it safe to get manicures and pedicures during pregnancy? https://www.parents.com/pregnancy/my-body/is-it-safe-to-get-manicures-and-pedicures-during-pregnancy/. Accessed 16 September 2019.

Is it safe to have gel nails applied during pregnancy? https://www.babycentre.co.uk/x25006667/is-it-safe-to-have-gel-nails-applied-during-pregnancy. Accessed 16 September 2019.

Health Hazards in Nail Salons. https://www.osha.gov/nail-salons. Accessed May 28, 2021.

First trimester phthalate exposure and anogenital distance in newborns. https://academic.oup.com/humrep/article/30/4/963/613595. Accessed May 28, 2021.

Health and safety inspection of hairdressing and nail salons by local authority environmental health practitioners. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23397656/. Accessed May 28, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/04/2023

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เจ็บท้องคลอด จริงหรือหลอก แยกได้อย่างไร

ฝากครรภ์ เรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกในท้องที่ไม่ควรมองข้าม


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 01/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา