backup og meta

ติดเชื้อ แบคทีเรียในช่องคลอด ส่งผลยังไงกับคุณแม่ตั้งครรภ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 18/02/2022

    ติดเชื้อ แบคทีเรียในช่องคลอด ส่งผลยังไงกับคุณแม่ตั้งครรภ์

    การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของเชื้อแบคทีเรียปกติที่มีอยู่ภายในช่องคลอด โดยอาจสังเกตได้จากอาการตกขาวสีเทาหรือสีขาว อวัยวะมีกลิ่น ซึ่งอาจพบได้ในหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 10-30 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ก่อนตั้งครรภ์จึงควรตรวจสุขภาพก่อนเพื่อคัดกรองความเสี่ยงในการเกิดโรค และอาจช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

    อาการของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดในคุณแม่ตั้งครรภ์

    หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด อาจจะมีอาการเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ ในบางกรณี ผู้ป่วยจะเห็นตกขาวสีเทาหรือออกขาว ๆ และมีกลิ่นคาวปลา นี่ถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง จำเป็นต้องมีการตรวจภายใน พร้อมกันนี้ คุณหมอจะตรวจตกขาวโดยใช้สไลด์สด หรือการตรวจสไลด์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ การตรวจค่าพีเอช (แบคทีเรียในช่องคลอดมักจะทำให้เกิดค่าพีเอชที่ 4.5 หรือมากกว่านั้น) การตรวจสไลด์ด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH slide) หรือการตรวจสไลด์ด้วยกล้องจุลทรรศน์เช่นกัน รวมถึงการทดสอบด้วยด่าง (whiff test) หรือการหาสารผสมที่ทำให้เกิดกลิ่นคาวปลา

    การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดส่งผลอย่างไรต่อการตั้งครรภ์

    ในรายงานหลายรายงาน นักวิจัยได้พบความเชื่อมโยงที่สำคัญ ระหว่างแบคทีเรียในช่องคลอดกับการคลอดก่อนกำหนด ยิ่งไปกว่านั้น ได้มีการศึกษาอื่นๆเพื่อระบุยืนยันข้อมูลก่อนหน้านี้ และนำข้อมูลต่าง ๆ มาปะติดปะต่อกัน เพื่อพิสูจน์ถึงโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การแท้ง ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย และถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด

    ทำไมจึงควรตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด

    อ้างอิงจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และมีอาการของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ควรได้รับการตรวจคัดกรองและรักษา ศูนย์ดังกล่าวยังแนะนำให้ผู้หญิงที่เคยคลอดบุตรก่อนกำหนด ควรตรวจหาแบคทีเรียในช่องคลอด

    อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีอาการหรือสัญญาณใด ๆ ของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด แต่หากมีความกังวล อาจลองปรึกษาคุณหมอดูก่อนว่าสมควรที่จะตรวจหรือไม่

    การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดในหญิงตั้งครรภ์

    แนะนำให้เข้ารับการรักษา เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะคลอดบุตรก่อนกำหนด แพทย์อาจแนะนำการรักษาหนึ่งในสองรูปแบบ ดังนี้

    • รับประทานยาและการรักษาเฉพาะจุดในการรับประทานยา โดยใช้ยาคลินดามัยซิน (clindamycin) 300 มิลลิกรัม หรือยาเมโทรนิดาโซล (metronidazole) 500 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
    • รับประทานยาคลินดามัยซิน 5 กรัม หรือ ยาเมโทรนิดาโซล ก่อนนอนเป็นเวลา 5 วัน แม้ว่าอย่างหลังจะทำให้อาการทุเลาลง แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะป้องกันโรคแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์

    เมื่อปีพ.ศ. 2548 กลุ่มนักวิจัย ได้แก่ แมคโดนัลด์ เอช โบรค็อกเคิลเฮอร์สท์ พี และพาร์สันส์ เจ ได้ศึกษาผลของการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ ผลที่เกิดขึ้นค่อนข้างดี เนื่องจากพบว่า ยาปฏิชีวนะสามารถลดความเสี่ยง ของการเกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย ในกรณีของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด นอกเหนือไปจากความเป็นไปได้ที่จะเกิดการคลอดบุตรก่อนกำหนด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 18/02/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา