backup og meta

คํานวณอายุครรภ์ ทำได้อย่างไร และวิธีนับอายุครรภ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 21/07/2023

    คํานวณอายุครรภ์ ทำได้อย่างไร และวิธีนับอายุครรภ์

    คํานวณอายุครรภ์ ด้วยตัวเองสามารถทำได้ไม่ยาก แต่คุณแม่ควรมีรอบเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ มีการจดบันทึกประจำเดือนเป็นประจำ และจำประจำเดือนครั้งสุดท้ายได้ จึงจะคํานวณอายุครรภ์ได้ และนอกจากการคํานวณอายุครรภ์ วิธีนับอายุครรภ์ที่ถูกต้อง ก็สำคัญเช่นกัน เพื่อให้คุณแม่ติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ ความสมบูรณ์ของเด็ก อีกทั้งดูแลสุขภาพร่างกายให้เหมาะสมในแต่ละไตรมาส การทราบอายุครรภ์ยังช่วยให้แพทย์วางแผนการตรวจครรภ์ 

    คํานวณอายุครรภ์ ทำได้อย่างไร 

    วิธีคํานวณอายุครรภ์ ทำได้โดยคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ไม่ได้นับตามวันที่ปฏิสนธิ เป็นการนับอายุครรภ์จากประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยการคํานวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ทำให้คุณแม่สามารถวางแผนเรื่องการฝากครรภ์ได้ตามเวลาที่เหมาะสม เมื่อคุณแม่ใช้ที่ตรวจครรภ์แล้วพบว่า ตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์ทันทีไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ ดังนี้

    • ฝากครรภ์เร็วเพื่อคัดกรองความเสี่ยง 
    • ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ หากแพทย์พบว่า การตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงจะส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดูแลเฉพาะบุคคลได้อย่างรวดเร็ว
    • เมื่อฝากครรภ์แล้ว แพทย์จะตรวจคัดกรองและตรวจยืนยัน โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด คัดกรองเบาหวาน 
    • ตรวจอนามัยในช่องปาก ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจอัลตร้าซาวด์ และตรวจครรภ์ 
    • แพทย์จะช่วยประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม
    • การฝากครรภ์คุณภาพ จะได้รับความรู้ตามมาตรฐานโรงเรียนพ่อแม่

    วิธีนับอายุครรภ์

    เมื่อทราบถึงการคํานวณอายุครรภ์ในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ควรฝึกนับอายุครรภ์หรือคํานวณอายุครรภ์เป็นรายสัปดาห์ วิธีนับอายุครรภ์ของแพทย์ มักจะนับเป็นรายสัปดาห์ เพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ หากคุณแม่คํานวณอายุครรภ์เองได้ จะสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม โดยการคํานวณอายุครรภ์ นับอายุครรภ์โดยทั่วไปเป็น 40 สัปดาห์ แยกออกเป็น 3 ไตรมาส 9 เดือน หรือประมาณ 280 วัน 

    ไตรมาสที่ 1 หรือไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ 

    • สัปดาห์ 1 – 4 = 1 เดือน
    • สัปดาห์ 5 – 8 = 2 เดือน
    • สัปดาห์ 9 – 13 = 3 เดือน

    ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ 

    • สัปดาห์ 14 – 17 = 4 เดือน 
    • สัปดาห์ 18 – 22 = 5 เดือน
    • สัปดาห์ 23 – 27 = 6 เดือน

    ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ 

    • สัปดาห์ 28 – 31 = 7 เดือน 
    • สัปดาห์ 32 – 35 = 8 เดือน 
    • สัปดาห์ 36 – 40 = 9 เดือน  

    คํานวณอายุครรภ์เพื่อทราบวันคลอด

    การคำนวณวันคลอดก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยหลักจะใช้วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายเช่นเดียวกับการคํานวณอายุครรภ์ ซึ่งมีวิธีคํานวณอายุครรภ์เพื่อทราบวันคลอด 2 วิธี

    1. วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย+9 เดือน+7 วัน
    2. นับย้อนหลังไป 3 เดือนจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย+7 วัน

    คุณแม่สามารถคํานวณอายุครรภ์เพื่อทราบวันคลอดอย่างคร่าว ๆ ได้ แต่การคลอดธรรมชาตินั้น อาจคลอดก่อนหรือคลอดหลังวันที่คํานวณเอาไว้ได้จากหลายสาเหตุ โดยแพทย์จะให้คำแนะนำคุณแม่เพื่อเตรียมตัวก่อนการคลอด ดังนั้น คุณแม่ควรตรวจครรภ์เป็นประจำ พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ สังเกตอาการใกล้คลอดด้วยตัวเอง และหากพบอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ควรไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 21/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา