backup og meta

คนท้องกินยาพาราได้ไหม จะปลอดภัยหรือเปล่า

คนท้องกินยาพาราได้ไหม จะปลอดภัยหรือเปล่า

คนท้องกินยาพาราได้ไหม อาจเป็นคำถามที่คุณแม่ท้องสงสัย โดยปกติแล้ว คนท้องสามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้อย่างปลอดภัย ไม่ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ หากอยู่ในการควบคุมของคุณหมอ ใช้ยาในปริมาณที่พอเหมาะ มีขนาดยาที่ออกฤทธิ์ต่ำ และใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ

ยาพาราเซตามอล คืออะไร

ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) เป็นยาช่วยลดไข้ และแก้ปวดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยเนื่องจากเป็นไข้ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ในระบบประสาทส่วนกลางและยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซีเจเนส (Cyclooxygenase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและการอักเสบ

การใช้ยาพาราเซตามอล 1 ครั้ง ควรใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 8 เม็ด/วัน หรือ 4 กรัม/วัน ควรใช้ยาเฉพาะเวลาที่มีอาการปวดหรือมีไข้เท่านั้น ผู้ที่ใช้ยาทั้งที่ไม่มีอาการจะไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาและอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ไข้ หนาวสั่น จุดแดงเล็ก ๆ ผื่นคัน เจ็บคอ นอกจากนี้ การใช้ยาเกินขนาดหรือมากกว่า 1-2 เม็ด/ครั้ง อาจส่งผลเสียต่อตับได้

คนท้องกินยาพาราได้ไหม

คนท้องกินยาพาราได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและทารกในครรภ์ แต่ควรใช้เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเท่านั้น นอกจากนี้ ควรรับประทานยาในปริมาณที่เหมาะสมและออกฤทธิ์ต่ำสุด ใช้ระยะเวลาที่สั้นที่สุด และอยู่ในการควบคุมของคุณหมอเท่านั้น

ปริมาณการใช้ยาพาราเซตามอลที่แนะนำสำหรับคนท้อง คือ การรับประทานยา 1 ครั้ง ควรใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 8 เม็ด/วัน หรือ 4 กรัม/วัน หากไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องรับประทานยา หรือหากอาการไม่ดีขึ้นควรเข้าพบคุณหมอรับการตรวจและรักษาเพิ่มเติม ทั้งนี้ ยังไม่มีการยืนยันอย่างชัดเจนถึงความปลอดภัยของยาต่อการตั้งครรภ์ และการใช้ยาทุกชนิดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ จึงควรใช้ยาอย่างระมัดระวังและควรอยู่ในการควบคุมของคุณหมอเสมอ

งานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Reviews Endocrinology เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาพาราเซตามอลในช่วงตั้งครรภ์ พบว่า ยาพาราเซตามอลหรือยาอะเซตามิโนเฟน ใช้บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางและช่วยลดไข้ได้ เหมาะสมสำหรับใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อใช้ตามคำสั่งของคุณหมอ อย่างไรก็ตาม การได้รับยาพาราเซตามอลขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และทางเดินปัสสาวะ ทำให้เป็นโรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก หรืออาจทำให้ไอคิว (IQ) ต่ำลงได้

นอกจากนี้ การใช้ยาพาราเซตามอลในช่วงตั้งครรภ์ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพอื่น ๆ เช่น ยับยั้งฮอร์โมนแอนโดนเจน เพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจน รบกวนการสร้างสเตียรอยด์ เพิ่มภาวะเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress) รบกวนการทำงานของเอนโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoids) ลดปริมาณของเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ (stem cell) และมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

จึงควรรับประทานยาอย่างระมัดระวัง โดยการใช้ยาในขนาดยาต่ำที่สุด ในใช้ในระยะเวลาสั้นที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ข้อควรระวังในการบริโภคพาราเซตามอล

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยาพาราเซตามอล อาจมีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ นอกจากน้ำเปล่า เพราะอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการรรักษาของยาได้
  • ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาพาราเซตามอล
  • ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับหรือโรคไตวายรุนแรง
  • ห้ามใช้ยาที่หมดอายุหรือเสื่อมประสิทธิภาพ

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

พาราเซตามอล กินมากไปเสี่ยงทำลายตับ. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A5-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5/. Accessed April 20, 2022

Paracetamol use during pregnancy — a call for precautionary action. https://www.nature.com/articles/s41574-021-00553-7. Accessed April 20, 2022

Paracetamol (Acetaminophen): mechanisms of action. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18811827/#:~:text=Paracetamol%20has%20a%20central%20analgesic,active%20metabolite%20influencing%20cannabinoid%20receptors. Accessed April 20, 2022

Paracetamol Tablet – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-57595/paracetamol-oral/details. Accessed April 20, 2022

Paracetamol. https://www.medicinesinpregnancy.org/medicine–pregnancy/paracetamol/#:~:text=Paracetamol%20has%20been%20used%20by,of%20painkiller%20for%20pregnant%20women. Accessed April 20, 2022

Consumption of paracetamol during pregnancy. https://www.analesdepediatria.org/en-consumption-paracetamol-during-pregnancy-articulo-S2341287920301356. Accessed April 20, 2022

Using paracetamol during pregnancy may alter foetal development. https://www.clinicbarcelona.org/en/news/using-paracetamol-during-pregnancy-may-alter-foetal-development. Accessed April 20, 2022

Paracetamol for adults. https://www.nhs.uk/medicines/paracetamol-for-adults/. Accessed April 20, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/07/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

คนท้อง อาการและการดูแล

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา