backup og meta

คนท้องเลือดกำเดาไหล อันตรายหรือไม่

คนท้องเลือดกำเดาไหล อันตรายหรือไม่

เลือดกำเดาไหล เป็นเรื่องที่เกิดเส้นเลือดฝอยภายในจมูกของเราแตก ทำให้มีเลือดไหลออกมา ในช่วงตั้งครรภ์ก็สามารถเกิดเลือดกำเดาไหลได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาคุณแม่มือใหม่ไปดูว่า จริงๆ แล้ว เลือดกำเดาไหล ขณะตั้งครรภ์ นั้นอันตรายรึเปล่า แล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ป้องกันได้ด้วยวิธีใดบ้าง

คนท้องเลือดกำเดาไหล เกิดจากอะไร

เลือดกำเดาไหล ขณะตั้งท้อง ถือเป็นอาการหนึ่งที่พบได้ตามปกติในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากการตั้งครรภ์อาจทำให้หลอดเลือดภายในจมูกขยายตัวขึ้น และความดันโลหิตเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หลอดเลือดแดงบริเวณจมูกที่มีความบอบบางแตกได้ง่าย จนเกิดเป็นอาการ เลือดกำเดาไหลออกมา

แพทย์หลายท่านบอกว่าการที่มีเลือดกำเดาไหลออกมาเพียงเล็กน้อย เป็นครั้งคราว แล้วอีกสักพักก็หยุดไหลถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่อันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ คุณแม่จะมีแนวโน้มที่เลือดกำเดาจะไหลเมื่อเป็นหวัด เป็นไซนัส ติดเชื้อ เป็นภูมิแพ้ หรือว่ามีเยื่อบุในจมูกแห้ง หากที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อมแห้งก็เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เลือดกำเดาไหลได้ นอกจากนี้การบาดเจ็บ และเงื่อนไขทางการแพทย์บางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ก็อาจทำให้เกิดเลือดกำเดาไหลได้เช่นกัน

คนท้องเลือดกำเดาไหล ควรทำอย่างไร

เมื่อคุณแม่มีเลือดกำเดาไหลในช่วงที่ตั้งท้อง วิธีการเหล่านี้จะช่วยให้เลือดกำเดาหยุดไหลได้

  • นั่งหรือยืนให้หัวตั้งตรง เพราะการทำแบบนี้จะช่วยลดความดันในหลอดเลือดภายในจมูกและจะช่วยให้เลือดออกช้าลงได้
  • ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้บีบปีกจมูกเข้าหากัน บีบโดยไม่ปล่อยออกมาเป็นเวลา 10 นาที
  • หากยังมีเลือดไหลอยู่ ให้เอนไปข้างหน้าเล็กน้อยและหายใจเข้าทางปากเพื่อให้เลือดไหลออกมาทางจมูกแทนที่จะไหลลงมาทางด้านหลังคอ
  • อมน้ำแข็งหรือวางเจลประคบเย็น ที่ด้านหลังคอหรือหน้าผากเพื่อช่วยให้เลือดแข็งตัว
  • หลังจากที่บีบจมูกผ่านไป 10 นาทีค่อยๆ ปล่อยมือที่บีบอยู่เบา ๆ เพื่อดูว่าเลือดหยุดไหลหรือไม่ หากยังมีเลือดออกให้ลองทำตามขั้นตอนนี้อีกครั้งเป็นเวลา 10 นาที

อย่านอนหรือเอนศีรษะลง เพราะอาจทำให้คุณกลืนเลือดลงไป และอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนออกมาเป็นเลือดได้

วิธีป้องกัน คนท้องเลือดกำเดาไหล

ปัจจัยที่ทำให้ เลือดกำเดาไหล มาจากหลายสาเหตุทั้งสภาพแวดล้อม สภาพของร่างกาย ซึ่งปัจจัยบางอย่างเราก็สามารถที่จะควบคุมได้ อย่างเช่น เรื่องสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยซึ่งไม่ควรให้อากาศที่เราอยู่แห้งจนเกิดไป โดยอาจจะใช้เครื่องเพิ่มความชื้นภายในบ้านโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว หรือจะใช้ภาชนะใส่น้ำแล้ววางไว้ในห้องนอนเพื่อเพิ่มความชื้นก็ได้

นอกจากนี้เราก็ควรจะดูแลร่างกายของตนเองให้มีความชุมชื้น ไม่แห้งกร้าน โดยการดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย หรืออาจจะใช้สารที่ให้ความชุ่มชื้นแก้ผิวบริเวณจมูก เพื่อป้องกันความแห้งกร้านในจมูกของคุณ

ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำ ให้ใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ หรือน้ำมันหล่อลื่นชนิดพิเศษที่มีจำหน่ายทางร้านขายยา สเปรย์น้ำเกลือหรือหยดจมูกก็ช่วยได้เช่นกัน หากคุณเลือกใช้สเปรย์ฉีดยาหรือยาลดอาการคัดจมูก ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร และควรใช้ตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพราะยาเหล่านี้อาจทำให้จมูกของคุณแห้งและระคายเคืองได้เช่นกัน

เมื่อไรที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรไปพบคุณหมอ

หากมี เลือดกำเดาไหล บ่อยในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเลือดเดาไหลบ่อย ๆ เกิดจากอะไร เพื่อที่จะได้รักษาได้อย่างถูกจุด คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนอาจมีคำถามว่าแล้วเมื่อไรที่ควรไปพบคุณหมอ เช่น

  • เลือดไม่หยุดหลังจากผ่านไป 30 นาที
  • มีปริมาณเลือดไหลเป็นจำนวนมาก
  • มีปัญหาในการหายใจเพราะเลือดไหล
  • การที่เลือดออกทำให้เกิดความเหนื่อยล้า มึนหรือวิงเวียนศีรษะ
  • ตัวซีด ผิวซีดซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่เลือดไหล
  • มีอาการเจ็บหน้าอก

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nosebleeds during pregnancy. https://www.babycenter.com/0_nosebleeds-during-pregnancy_255.bc. Accessed December 23, 2019.

Nosebleeds during pregnancy. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/nosebleeds-during-pregnancy. Accessed December 23, 2019.

Nosebleeds in pregnancy Your pregnancy and baby guide. https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/nosebleed-pregnant/. Accessed December 23, 2019.

Nosebleeds. https://www.webmd.com/first-aid/nosebleeds-causes-and-treatments. Accessed June 26, 2021.

Nosebleed (Epistaxis). https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/13464-nosebleed-epistaxis. Accessed June 26, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/03/2023

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

คนท้อง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย เป็นเรื่องปกติหรือไม่

อาหารเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา