อาการท้องอืดของคนท้อง มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และอาการอาจแย่ลงในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์ โดย อาการท้องอืด ที่เกิดขึ้นอาจมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ที่อาจทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานช้าลง นอกจากนี้ การรับประทานอาหารบางชนิดก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอีดในคนท้องได้เช่นกัน
[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]
อาการท้องอืดของคนท้อง เกิดจากอะไร
อาการท้องอืดที่เกิดขึ้นในคนท้อง มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอรโมนการตั้งครรภ์ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่ทำให้มดลูกผ่อนคลาย และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการย่อยอาหารผ่อนคลาย ส่งผลให้การย่อยอาหารช้าลง ซึ่งมักทำให้เกิดอาการท้องผูกและอาจส่งผลให้คนท้องมีอาการท้องอืดได้ด้วย
อาการท้องอืดของคนท้อง มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และอาการอาจแย่ลงในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกในท้องใช้พื้นที่มากขึ้นทำให้มดลูกขยายใหญ่ขึ้นและกดทับอวัยวะรอบข้าง สำหรับคนท้องที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome หรือ IBS) ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ อาการของโรคอาจแย่ลงระหว่างตั้งครรภ์ และอาจทำให้ปวดท้องบ่อย ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด เกิดขึ้นด้วย
นอกจากนี้ การรับประทานอาหารบางชนิดก็อาจส่งผลให้คนท้องมีอาการท้องอืดเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งอาหารที่อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด มีดังนี้
- ถั่ว เมล็ดธัญพืช และผักบางชนิด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง
- แป้งบางชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด
- นมและผลิตภัณฑ์จากนม
- อาหารบางชนิดที่มีฟรุกโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ผลไม้แห้ง ซอสมะเขือเทศ ลูกแพร์ แอปเปิล น้ำผึ้ง ข้าวสาลี น้ำผลไม้ อาหารแปรรูป
- อาหารที่มีกากใยสูง เช่น รำข้าวโอ๊ต ถั่ว ถั่วลันเตา
- อาหารไขมันสูงและของทอด
การดูแลตัวเองสำหรับคนท้องที่มี อาการท้องอืด
การดูแลตัวเองเพื่อลดแก๊สในกระเพาะและบรรเทาอาการท้องอืดที่เกิดขึ้นสำหรับคนท้องอาจทำได้ ดังนี้
- เคี้ยวอาหารให้นานกว่าปกติและเคี้ยวให้ละเอียด รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการพูดคุยขณะรับประทานอาหาร
- ดื่มน้ำจากแก้ว เพื่อจำกัดปริมาณการดื่มน้ำในแต่ละครั้ง
- ควรนั่งขณะรับประทานอาหาร ของว่าง หรือดื่มน้ำ ไม่ควรนอนหรือเดิน
- พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอระหว่างวัน เพื่อช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้
- ไม่ควรรับประทานอาหารมื้อใหญ่ แต่ควรเป็นแบ่งมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อแทน
- หลีกเลี่ยงการดื่นน้ำในปริมาณมาก ๆ เพียงครั้งเดียวในระหว่างมื้ออาหาร เปลี่ยนมาเป็นดื่มน้ำตลอดทั้งวันแทน
- งดสูบบุหรี่
- งดดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลม รวมถึงเครื่องดื่มที่ปรุงแต่งด้วยสารให้ความหวาน
- งดเคี้ยวหมากฝรั่งหรือดูดลูกอมแข็ง ๆ
หากอาการท้องอืดของคนท้องไม่ดีขึ้น หรือหากโรคลำไส้แปรปรวนที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม