backup og meta

ฮอร์โมนความเครียด ทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ไหม

ฮอร์โมนความเครียด ทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ไหม

ฮอร์โมนความเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คุณแม่แท้งบุตรได้ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่เครียดจัดจะเสี่ยงเกิดการแท้งบุตรระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงสามสัปดาห์แรกมากขึ้นถึงสามเท่า เมื่อเปรียบเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีความเครียด  ควรหากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย ไม่กังวลมากเกินไป หรือหากรู้สึกตกอยู่ในภาวะเครียดหรือซึมเศร้าควรพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือปรึกษาคุณหมอ เพื่อรักษาระดับความสุขระหว่างการตั้งครรภ์ อีกทั้งเป็นการลดความเสี่ยงแท้งบุตรหรือคลอดกำหนด

[embed-health-tool-due-date]

ฮอร์โมนความเครียด กับการคลอดก่อนกำหนด

หากหญิงตั้งครรภ์เครียดอาจมีความเสี่ยงทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ เพราะฮอร์โมนความเครียดที่หลั่งออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ สามารถทำให้มดลูกบีบตัวมากขึ้น จนเกิดการเร่งคลอดได้ โดยการคลอดก่อนกำหนด หมายถึง การเจ็บครรภ์คลอดตั้งแต่อายุครรภ์ 20– 37 สัปดาห์ หากคุณแม่คลอดก่อนกำหนด ส่วนใหญ่จะพบปัญหาทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อย นอกจากนั้น การก่อนกำหนดยังเป็นผลมาจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คุณแม่อายุมากเกินหรือน้อยเกินไป (น้อยกว่า 17 ปีหรือมากกว่า 35 ปี) มีประวัติการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์

ฮอร์โมนความเครียด กับการแท้งบุตร

ระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เพิ่มสูงขึ้น อาจมีส่วนทำให้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในหญิงตั้งครรภ์ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยที่ระบุชัดเจนว่าฮอร์โมนคอร์ติซอลเกี่ยวข้องโดยตรงกับการแท้งบุตร หรือฮอร์โมนคอร์ติซอลสามารถกระตุ้นกลไกอื่น ๆ บางประการในร่างกายที่ทำให้เกิดการแท้งบุตรได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางชิ้นที่ศึกษาเกี่ยวกับระดับฮอร์โมนความเครียดในหญิงตั้งครรภ์และพบความเกี่ยวเนื่องกัน

การศึกษาชิ้นหนึ่ง หัวข้อ ความสัมพันธ์ของความเครียดต่อต่อการแท้งบุตร เผยแพร่ในวารสาร Scientific Reports พ.ศ. 2560 ได้มีการศึกษาและวิเคราะห์บทความงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับความเครียดและความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงในการแท้งบุตร พบว่าจากงานวิจัย 1,978 ชิ้น มีบทความ 8 ชิ้นที่สอดคล้องกับหัวข้องานวิจัย โดยงานวิจัยได้ระบุว่า หญิงที่แท้งเสี่ยงสูงต่อการแท้งบุตรมีประวัติความเครียดทางด้านจิตใจ จึงสรุปว่า ความเครียดที่เกิดขึ้นในระยะต้นของการตั้งครรภ์เป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก

งานวิจัยอีกหนึ่งชิ้น หัวข้อ ระดับของฮอร์โมนเคอติซอล (Cortisol) ต่อการแท้งบุตรในหญิงตั้งครรภ์ระยะแรก เผยแพร่ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America พ.ศ.2549 นักวิจัยได้สังเกตหญิงตั้งครรภ์จำนวน 22 ราย โดยมี 9 รายที่การตั้งครรภ์สมบูรณ์ หมายถึง ทารกคลอดออกมาตามกำหนดและมีชีวิตรอด และอีก 13 ราย การตั้งครรภ์ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดการแท้งบุตร โดยพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับฮอร์โมนเคอติซอลหรือฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในช่วงสามสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์

ฮอร์โมนความเครียดอาจเป็นสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดและเสี่ยงต่อการสูญเสียทารกในครรภ์ได้ หากรู้สึกเครียดหรือมีเรื่องวิตกกัวล ควรพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือปรึกษาคุณหมอ เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนความเครียดไม่ให้สูงเกินไประหว่างการตั้งครรภ์ เป็นการป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงแท้งบุตรหรือคลอดกำหนด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stress in early pregnancy can cause miscarriage. http://www.news-medical.net/news/2006/02/22/16129.aspx. Accessed June 20, 2022.

How Stress Causes Miscarriage. https://www.webmd.com/baby/news/20030605/how-stress-causes-miscarriage#1. Accessed June 20, 2022.

Can too much stress cause early miscarriage?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/early-miscarriage/faq-20058214. Accessed June 20, 2022.

The association between psychological stress and miscarriage: A systematic review and meta-analysis. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5431920/. Accessed June 20, 2022.

World Health Organization. https://www.who.int/news-room/spotlight/why-we-need-to-talk-about-losing-a-baby. Accessed July 22, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/11/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

คอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียด ที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ทำให้เครียด!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 29/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา