backup og meta

โรคหัวใจ คนท้อง สามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง

โรคหัวใจ คนท้อง สามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง

โรคหัวใจ คนท้อง เป็นปัญหาสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะมีงานวิจัยที่พบว่า การตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองช่วงตั้งครรภ์ เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ จัดการกับความเครียด และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเป็นประจำทั้งระหว่างการตั้งครรภ์และหลังจากคลอดบุตร

[embed-health-tool-due-date]

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ โรคหัวใจ คนท้อง

การตั้งครรภ์ทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตทำงานหนักขึ้น เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ปริมาณเลือดจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30-50 เพื่อหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ นอกจากนี้หัวใจจะสูบฉีดเลือดมากขึ้นในแต่ละนาที รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจก็เพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับการคลอดบุตรจะยิ่งทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เนื่องจากระหว่างการคลอดบุตร โดยเฉพาะเวลาที่คุณแม่เบ่งคลอด การไหลเวียนโลหิตและความดันอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน ทำให้ใช้เวลาหลายสัปดาห์หลังจากการคลอด ก่อนที่หัวใจจะกลับมาทำงานในระดับปกติเหมือนตอนก่อนคลอด

จำนวนผู้หญิงที่หัวใจวายขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดบุตร หรือในช่วง 2 เดือนหลังจากคลอดบุตร เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีงานวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (the New York University School of Medicine) พบว่าความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวายในผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ในช่วงปี 2002 ถึง 2014

นอกจากนี้อัตราการเกิดโรคหัวใจวายยังเพิ่มขึ้นจาก 7.1 ในผู้หญิงตั้งครรภ์ 100,000 คนในปี 2002 เป็น 9.5 ในผู้หญิงตั้งครรภ์ 100,000 คนในปี 2014 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดโรคหัวใจวายในผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร สามารถมีเหตุผลมาจากความจริงที่ว่าผู้หญิงจำนวนมากเลือกที่จะมีบุตรในตอนที่อายุมาก

โดยผู้หญิงที่อายุระหว่าง 35-39 ปี มีแนวโน้มว่าจะมีอาการหัวใจวายขณะตั้งครรภ์มากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีอายุ 20-29 ปี ส่วนผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มว่าจะมีอาการหัวใจวายมากกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีอายุ 20-29 ปี

ถึงแม้ว่างานวิจัยจะพบว่าผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มีความดันโลหิตสูงหรือน้ำตาลในเลือดสูง สามารถเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจวายสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่แข็งแรงเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลในงานวิจัยชี้ว่า ในบรรดาผู้หญิงที่เกิดอาการหัวใจวายขณะตั้งครรภ์ หรือหลังจากคลอดบุตร ไม่เคยสังเกต และระวังตัวเองหรือเตรียมตัว เพื่อพร้อมรับมือกับปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ

หนึ่งปัจจัยสำคัญด้านการใช้ชีวิตและการเลือกรับประทานอาหาร ก็เป็นอีกตัวแปรที่ทำให้อัตราการเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานสูงขึ้น เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายโรคหัวใจ ร้อยละ 80 สามารถป้องกันได้จากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงด้วยการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ทานอาหารกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรค และตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรรักษาสุขภาพไม่ใช่แค่ในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น แต่เพื่อความสมบูรณ์พร้อมของร่างกายและจิตใจ ในการดูแลบุตร และสุขภาพดีตลอดชีวิต

วิธีป้องกัน โรคหัวใจ คนท้อง

การดูแลสุขภาพของตัวเอง คือ วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพของทารกด้วย ตัวอย่างเช่น 

  • พักผ่อนให้มาก ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรนอนกลางวัน และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงมาก เช่น การออกกำลังกายอย่างหนัก
  • ใส่ใจกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น การที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมถือเป็นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย แต่ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินไปจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นได้
  • จัดการกับความเครียด คุณแม่ตั้งครรภ์ควรจัดการกับความเครียด โดยอาจหาสาเหตุที่ทำให้เครียดและแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
  • พบคุณหมอตามนัด ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรไปพบคุณหมอเป็นประจำตามเวลานัด เพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารกในครรภ์
  • กินยาที่สั่งโดยแพทย์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนกินยา เนื่องจากแพทย์จะจัดยาที่ปลอดภัย ในปริมาณที่เหมาะสมให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์
  • รู้ข้อจำกัดของตนเอง ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการดื่มคาเฟอีน

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรไปพบคุณหมอทันทีเมื่อมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • หายใจลำบาก
  • หายใจถี่
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หรือชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • เจ็บหน้าอก
  • ไอเป็นเลือด หรือไอในตอนกลางคืน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

More Pregnant Women Having Heart Attacks. https://www.webmd.com/baby/news/20180718/more-pregnant-women-having-heart-attacks#1. Accessed on November 22, 2018.

Heart conditions and pregnancy: Know the risks. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy/art-20045977. Accessed on November 22, 2018.

Coronary heart disease and pregnancy. https://www.nhs.uk/pregnancy/related-conditions/existing-health-conditions/coronary-heart-disease/. Accessed October 29, 2021.

Pregnant women with heart disease need specialized care. https://www.heart.org/en/news/2020/05/04/pregnant-women-with-heart-disease-need-specialized-care. Accessed October 29, 2021.

Pregnancy and Heart Disease. https://www.acog.org/clinical/clinical-guidance/practice-bulletin/articles/2019/05/pregnancy-and-heart-disease. Accessed October 29, 2021.

Acute Myocardial Infarction During Pregnancy and the Puerperium in the United States. https://www.acog.org/clinical/clinical-guidance/practice-bulletin/articles/2019/05/pregnancy-and-heart-disease. Accessed October 29, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/12/2022

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

คนท้อง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย เป็นเรื่องปกติหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา