สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 7
พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 7
ลูกจะเติบโตอย่างไร
สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 7 ลูกน้อยในครรภ์จะมีขนาดตัวเท่าผลบลูเบอร์รี่ และโตขึ้นเป็น 2 เท่าจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยความยาวลำตัวตอนนี้คือ 1.27 เซนติเมตร
ทารกเริ่มปรับตัวเข้ากับชีวิตในมดลูก ในช่วงสัปดาห์นี้สายสะดือจะก่อตัวขึ้น โดยทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างคุณกับทารกในครรภ์ สายสะดือจะลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารจากเลือดของคุณไปให้ลูกน้อย นอกจากนี้ยังช่วยกำจัดของเสียออกจากตัวลูกน้อยด้วย ปอด ไต และระบบทางเดินอาหารของทารก เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างอย่างตอเนื่อง ดวงตา จมูก ปาก และหู เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต
ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
คุณอาจสังเกตเห็นว่าเต้านมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้วฮอร์โมนการตั้งครรภ์จะทำให้เต้านมของคุณบวมและอ่อนนุ่มขึ้น เนื่องจากมีเลือดไปหล่อเลี้ยงที่เต้านมมากขึ้น รวมทั้งไขมันสะสมอยู่ในบริเวณนั้นมากขึ้นด้วย นอกจากนี้คุณยังอาจสังเกตเห็นหัวนมตั้งตึงมากขึ้น ฐานหัวนมสีคล้ำขึ้นและขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ เป็นการเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมบุตรนั่นเอง
ควรระมัดระวังอะไรบ้าง
ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มดลูกของคุณแม่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะทำให้ท้องป่องหรือไม่ก็ได้ ถ้าคุณเคยตั้งครรภ์มาก่อน ท้องของคุณอาจจะขนาดใหญ่กว่าครั้งก่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณท้องเคยยืดออกไปแล้วครั้งหนึ่ง จึงทำให้ท้องขยายได้ง่ายและเร็วขึ้นในการตั้งครรภ์คราวนี้ แต่โชคร้ายหน่อยตรงที่คุณจะรู้สึกปวดหลัง และเจ็บตรงกระดูกเชิงกรานเร็วขึ้น ในช่วงสัปดาห์ที่ 7 นี้ หากคุณแม่ยังไม่อยากให้ใครรู้ว่าตั้งครรภ์ ก็ยังสามารถพรางได้ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ
การพบคุณหมอ
ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง
หากคุณแม่ตั้งครรภ์อาการใด ๆ ที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบาย หรือมีอาการเลวร้ายลง คุณอาจสังเกตุเห็นว่าอาหารหรือกลิ่นบางอย่างทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้ หรืออยากจะอาเจียนมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ การปรึกษาคุณหมออาจช่วยให้คุณได้รับวิธีการรับมือที่จะช่วยให้คุณอาการดีขึ้นได้
การทดสอบที่ควรรู้
เมื่อคุณไปพบคุณหมอ คุณหมอจะทำการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การชั่งน้ำหนัก การวัดความดันโลหิต และอาจต้องทำการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีน้ำตาลอยู่ในปริมาณสูงหรือไม่
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีความกังวลใจหลายด้าน และกลัวว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอาจส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น การกิน การยืน การเดินทาง การทำงานบ้าน รวมไปถึงเรื่องที่พบได้บ่อย เช่น
- การใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไป
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน อาจกังวลว่า นั่นอาจเป็นสาเหตุของการแท้งลูกได้หรือไม่ คำตอบคือ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวันทำให้แท้งลูกได้ แต่ถึงอย่างนั้นการนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก็ยังมีผลเสียซึ่งได้รับการพิสูจน์มาแล้ว นั่นก็คือ การนั่งนานจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ไม่ดี เลือดจึงไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างเป็นปกติ ทั้งยังอาจส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารส่งไปถึงลูกในครรภ์ได้น้อยกว่าที่ควรด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์จึงไม่ควรนั่งนานเกินไป ควรลุกยืน เปลี่ยนท่า หรือเดินไปมาอย่างน้อยทุก ๆ หนึ่งชั่วโมง เพื่อให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น
- ควันสูบบุหรี่
เพื่อความปลอดภัย แม่ท้องควรอยู่ในห่างจากสถานที่ที่มีการสูบบุหรี่ เนื่องจากไม่ใช่แค่ส่งผลเสียกับสุขภาพของคุณ แต่ยังส่งผลเสียไปยังทารกในครรภ์ได้ด้วย แม้จะยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญเผยว่าควันบุหรี่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนในรก ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยหรือมีทารกที่เกิดมามีไอคิวต่ำได้ด้วย และไม่ใช่แค่บุหรี่แบบมีควันเท่านั้น เพราะบุหรี่ไฟฟ้าก็เป็นอันตรายเช่นกัน
แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง
[embed-health-tool-due-date]