สำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 27
พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 27
ลูกจะเติบโตอย่างไร
ตอนนี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณมีขนาดเท่ากับกะหล่ำดอก ซึ่งถ้ามีสุขภาพดีก็จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 900 กรัม และความสูงอยู่ที่ประมาณ 36.8 เซนติเมตร
ภายในสัปดาห์แรกของการ ตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 3 นี้ ลูกน้อยของคุณจะมีลักษณะเหมือนตอนที่คลอดออกมา ถึงแม้ว่าปอด ตับ และระบบภูมิคุ้มกันจะยังต้องการเวลาในการพัฒนา แต่ถ้าทารกคลอดในตอนนี้ ก็มีโอกาสจะรอดชีวิต
ถึงแม้การได้ยินจะยังคงพัฒนาต่อไป แต่ลูกน้อยในครรภ์ของคุณอาจเริ่มจำเสียงของพ่อแม่ได้แล้ว โดยหูของทารกยังมีแว๊กซ์ปกคลุมอยู่อย่างหนา ซึ่งนั่นจะช่วยปกป้องผิวจากอาการแห้งแตก เมื่อโดนของเหลวที่มีลักษณะเป็นกรด ฉะนั้น เสียงที่ลูกของคุณได้ยินจึงเป็นเสียงอู้อี้
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต
ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ร่างกายของคุณจะทำหน้าที่ดูแล และปกป้องลูกน้อยในระหว่าง ตั้งครรภ์ แต่สำหรับการดูแลเด็กแรกเกิดนั้น เป็นทักษะที่คุณจะต้องเรียนรู้ ฉะนั้น ก็ควรหาความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่ ซึ่งจะได้เรียนรู้กระบวนการในการคลอดบุตร ทางเลือกในการเยียวยาอาการปวด นอกจากนี้ยังอาจได้เรียนรู้เกี่ยวปัญหาที่พบได้บ่อยของเด็กแรกเกิด การให้นมบุตร การป้อนอาหาร และการดูแลสุขภาพทารก
ควรระมัดระวังอะไรบ้าง
ก่อนถึงช่วงสุดท้ายของการ ตั้งครรภ์ ทารกจะอยู่ในตำแหน่งพร้อมคลอด ศีรษะของทารกและน้ำหนักครรภ์จะเพิ่มมากขึ้น และจะกดทับอยู่บนเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง ดังนั้นอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาท จะนำไปสู่อาการปวดบริเวณสะโพก และทำให้เป็นตะคริวบริเวณหลัง และลามไปยังขาทั้งสองข้าง ซึ่งเคล็ดลับในการเคลื่อนทารกในครรภ์ออกจากเส้นประสาทก็คือ
- การนั่ง การพักขาจะช่วยลดอาการปวดขา หลัง และอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาท นอกจากนี้การนอนยังช่วยลดอาการกดทับ ตราบใดที่คุณค้นหาท่าที่เหมาะกับคุณได้
- ความร้อน การแปะแผ่นเพิ่มความร้อนจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
- การออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือการยืดแขน ยืดขา สามารถช่วยลดอาการการกดทับได้
- การว่ายน้ำ การว่ายน้ำและการออกกำลังกายในน้ำนั้น ถือเป็นทางเลือกที่ดีถ้าคุณมีอาการปวดสะโพก การว่ายน้ำช่วยยืดกล้ามเนี้อหลัง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดด้วย
- วิธีการอื่น ๆ การบำบัดโรค เช่น การฝังเข็ม ศาสตร์วิชาการแพทย์ไคโรแพรคติก หรือการนวด อาจช่วยลดอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทได้ แต่ควรทำกับผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ เท่านั้น
การพบคุณหมอ
ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง
เมื่อ ตั้งครรภ์ มาถึงตอนนี้ ความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดนั้นค่อนข้างต่ำแล้ว อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอเมื่อมีอาการต่อไปนี้
- มีอาการปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือนร่วมกับอาการท้องเสีย คลื่นไส้ และท้องอืด
- มีการบีบรัดตัวของมดลูกทุก ๆ 10 นาที (หรือเร็วกว่านั้น) และอาการไม่ดีขึ้นเลยเมื่อเปลี่ยนอริยบท
- มีอาการปวดหลังต่อเนื่อง หรืออาการปวดหลังช่วงล่าง
- มีของเหลวไหลออกมา เช่น น้ำหรือเลือด
- มีอาการปวด เนื่องจากการกดทับกระดูกเชิงกราน ต้นขา และขาหนีบ
- มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอด
การทดสอบใดที่ควรรู้
ในเดือนนี้จะมีการตรวจสอบใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง ได้แก่
- ชั่งน้ำหนักและวัดความดันโลหิต
- ตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าน้ำตาลและโปรตีน
- วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
- วัดขนาดมดลูกโดยการคลำจากภายนอก เพื่อดูว่าใกล้ถึงกำหนดคลอดหรือยัง
- วัดความสูงของยอดมดลูก
- การตรวจสอบอาการบวมของมือและเท้า และอาการเส้นเลือดขอด
- การตรวจระดับน้ำตาล
- การตรวจเลือดเพื่อหาภาวะโลหิตจาง
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ
- อาการหรือปัญหาสุขภาพที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะอาการผิดปกติต่าง ๆ
- จัดเตรียมรายการข้อสงสัยและปัญหา ที่คุณอยากซักถามคุณหมอไปให้พร้อม
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์
- ระมัดระวังการใช้งานเครื่องกำจัดขนไฟฟ้า
ยังไม่มีงานวิจัยที่มากพอจะชี้ชัดได้ว่าเครื่องกำจัดขนไฟฟ้านั้น มีความปลอดภัยในระหว่าง ตั้งครรภ์ หรือเปล่า ปัจจุบันยังไม่มีรายงานใด ๆ ที่ระบุว่าก่อให้เกิดอันตรายกับการตั้งครรภ์ ความเสี่ยงจึงอาจจะมีอยู่น้อย
- หลีกเลี่ยงการทำเล็บ
ถึงแม้คุณจะอยากทำเล็บใจจะขาด แต่ก็ควรยับยั้งใจเอาไว้ก่อน เนื่องจากการทำเล็บชนิดนี้จะก่อให้เกิดอาการแพ้ รวมทั้งการติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในเล็บหรือบริเวณรอบ ๆ เล็บ ปัญหาพวกนี้อาจซ่อนอยู่ และจะแสดงอาการออกมาถ้าคุณทำเล็บในระหว่าง ตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าอาการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกของคุณโดยตรง แต่คุณก็ควรรอให้คลอดก่อน แล้วค่อยทำเล็บ
[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]