backup og meta

ตะคริวที่หลัง เป็นเพราะกล้ามเนื้อหรือกระดูกสันหลังกันแน่?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ตะคริวที่หลัง เป็นเพราะกล้ามเนื้อหรือกระดูกสันหลังกันแน่?

    ตะคริวที่หลัง อาจเกิดขึ้นได้จากการที่กล้ามเนื้อหดเกร็งบริเวณหลัง ในขณะที่คุณกำลังออกแรงหนักๆ หรือแม้ในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการยกของหนัก หรือการก้มลงไปผูกเชือกรองเท้า ก็อาจทำให้เกิดปวดแปลบแบบฉับพลันจากการหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่นอกการควบคุมของจิตใจ (involuntary muscle) ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณแสดงว่า คุณออกแรงมากเกินไป หรือในอีกกรณีอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีปัญหากระดูกสันหลังที่ซ่อนอยู่ได้ด้วยเช่นกัน

    ทำอย่างไรเมื่อเป็น ตะคริวที่หลัง

    เพื่อบรรเทาตะคริวบริเวณกล้ามเนื้อหลัง ให้คุณปรับท่าทางที่แนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดลง คุณอาจนอนหงายหรือตะแคงบนพื้นที่แข็งแรงหรือสอดหมอนไว้ระหว่างเข่าเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด

    ขณะที่เอนตัวลงนอน คุณสามารถวางถุงน้ำแข็งที่ห่อด้วยผ้าขนหนูนุ่มๆ ไว้ใต้บริเวณที่เกิดตะคริวนาน 15-20 นาที สามารถทำเช่นนี้ได้ 3-4 ครั้งต่อวัน ในช่วง 48 ถึง 72 ชั่วโมงแรกเพื่อลดความเจ็บปวดและการอักเสบลง ถ้าไม่ได้ผล ให้ใช้การประคบร้อนเพื่อเพิ่มการไหลเวียน แล้วคุณจะได้รู้สึกสบายขึ้น หรืออาจทำสลับระหว่างการประคบร้อนและเย็น เพื่อให้แน่ใจว่ากล้ามเนื้อมีปฏิกิริยาต่อทั้งความร้อนและความเย็นอย่างเหมาะสม ข้อควรระวังคือ อย่านอนทับถุงน้ำแข็งนานเกิน 20 นาที เนื่องจากการได้รับความเย็นนานเกินไปอาจทำให้เกิดแผลจากน้ำแข็งกัดหรือความเสียหายที่เส้นประสาทได้

    ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้จากร้านขายยา เช่น ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์สามารถช่วยลดความเจ็บปวดและการอักเสบได้ ยาเหล่านี้ ได้แก่ ไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin) นาโพรเซน (Aleve) และแอสไพริน ส่วนยาอะเซตามิโนเฟน (Tylenol) อาจพอบรรเทาความปวดได้ แต่ไม่ได้รักษาการอักเสบ

    แม้ว่าคุณอาจอยากอยู่นิ่งๆ หลังจากเกิดอาการ แต่การเคลื่อนไหวเล็กน้อยจะดีกว่าการนอนพักบนเตียงเท่านั้น การเคลื่อนไหวเล็กน้อยและไม่รุนแรง จะช่วยการไหลของเลือด และช่วยให้กล้ามเนื้อเยียวยาตัวเอง การอยู่นิ่งๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อติดแข็ง และทำให้ปวดมากขึ้น หรือเกิดตะคริวเพิ่มได้อีก ดังนั้น เมื่อเริ่มทนความเจ็บปวดได้แล้ว ให้ลองเดินช้าๆ สักสองสามนาทีหลายๆ ครั้งต่อวัน

    ติดต่อแพทย์ถ้าตะคริวยังไม่หายไป แพทย์อาจแนะนำให้ใช้รับยาคลายกล้ามเนื้อ หรือฉีดยาคอร์ติโซนเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด

    นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลทางการแพทย์ที่ระบุว่า การดัดดึงกระดูกสันหลัง (spinal manipulation) ด้วยความช่วยเหลือจากนักบำบัดกระดูกและนักบำบัดโรคด้วยการจับกระดูกสันหลัง (chiropractor) สามารถบรรเทาความเจ็บปวดที่หลังส่วนล่างได้ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง รวมทั้งบรรเทาอาการตะคริวที่หลังได้ด้วย การดัดดึงกระดูกสันหลังได้รับการรายงานว่ามีประสิทธิภาพเหมือนการบำบัดด้วยวิธีที่ใช้กันทั่วไป เช่น การใช้ยาบรรเทาปวด การประคบร้อน และการใช้ที่นอนแข็งๆ

    สาเหตุที่เป็นไปได้ของตะคริวที่หลัง

    การเกิดตะคริวที่หลังไม่ได้เกิดจากกลไกเดียว แต่อาการตะคริวที่เกิดขึ้นบริเวณหลัง เช่น การฉีกขาดของเอ็น เอ็นยึดกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้อ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด การยกของหนักหรือกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดแรงตึงที่กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณหลังส่วนล่างมากเกินไปจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ มักพบบ่อยในนักฟุตบอลและนักกอล์ฟที่มักมีการกลับหันหลังแบบฉับพลันบ่อยๆ

    ตะคริวที่หลัง ยังอาจเกิดขึ้นจากปัญหาด้านโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งรวมถึงความไม่สม่ำเสมอของกระดูก เช่น กระดูกสันหลังคดหรือหมอนรองกระดูกปูด (Bulging Disc) ที่ไปกดทับเส้นประสาท ทำให้กล้ามเนื้อที่อยู่โดยรอบหดตัวแบบควบคุมไม่ได้

    โรคข้อกระดูกอักเสบ ซึ่งมีการเสื่อมลงของกระดูกอ่อนข้อต่อและกระดูกเนื่องจากความชรา ก็อาจส่งผลกับกล้ามเนื้อหลังได้เช่นกัน แม้ว่าสามารถทำให้เกิดการเจ็บปวดหรือติดแข็งที่ข้อต่อได้ทุกส่วน ในกรณีเหล่านี้ กล้ามเนื้อจะมีปฏิกิริยาตามสัญชาตญาณกับความเจ็บปวดและการอักเสบที่เกิดจากปัญหาทางโครงสร้างร่างกายด้วยการทำให้เกิดตะคริว

    กล้ามเนื้อหลังของคุณอาจเกิดตะคริวได้ง่ายด้วย ถ้าคุณมีกล้ามเนื้อท้องที่อ่อนแอ เนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนนี้จะช่วยพยุงหลัง ส่วนกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแอหรือแข็งตึงจะได้รับบาดเจ็บได้ง่ายกว่ากล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่าและยืดหยุ่นมากกว่า

    เมื่อคุณหายจากอาการเจ็บปวดแล้ว หลีกเลี่ยงการนั่งท่าเดิมๆ เป็นระยะเวลานาน ลองลุกขึ้นยืนและยืดตัวทุกๆ 20 ถึง 25 นาที เคลื่อนไหวช้าๆ และระมัดระวังก่อนที่จะกลับไปทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ ใช้อุปกรณ์พยุงหลังส่วนล่างเพื่อคอยเตือนให้คุณนั่งและยืนให้ตรง เพื่อที่ว่าแรงกดจะกระจายไปอย่างเท่าๆ กันที่กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และควรยืดให้หลังตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และใช้ขาเมื่อยกของหนัก อย่าบิดเอว หลีกเลี่ยงอย่างอตัวเมื่อนั่ง

    ถ้าคุณมีน้ำหนักมากเกินไป การลดน้ำหนักสัก 2-3 กิโลจะช่วยบรรเทาความเครียดที่กล้ามเนื้อซึ่งเสี่ยงกับการเกิดตะคริว การออกกำลังกายทั่วไปที่รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อเหยียดกล้ามเนื้อ เช่น ท่าสควอทแบบพิงกำแพง (wall squats) Knees to Chest ยกลำตัว และยกขา จะช่วยให้คุณเคลื่อนไหวดีขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น

    ปัญหาเกี่ยวกับหลังส่วนใหญ่ รวมทั้งตะคริวที่หลังจะบรรเทาลงเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ว่าจะได้รับการรักษาหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าคุณเป็นตะคริวที่หลังจนไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญและหลีกเลี่ยงการทำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นตะคริวอีก

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา