backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39

[embed-health-tool-due-date]

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39

ลูกจะเติบโตอย่างไร

สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39 นี้ ลูกน้อยของคุณจะมีขนาดตัวเท่ากับฟักทอง โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 3.30 กิโลกรัม และสูงประมาณ 50 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า

การ ตั้งครรภ์ ในบางกรณีอาจเกิดปัญหาสายสะดือพันรอบคอทารกในครรภ์ ซึ่งหากเกิดกรณีนี้ อาจต้องใช้วิธีผ่าคลอด เนื่องจากสายสะดือที่พันคอทารกในครรภ์ทำให้เกิดแรงเหนี่ยวรั้งในระหว่างทำคลอด แต่คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลแต่อย่างใด เว้นแต่ว่าสายสะดือจะมัดเป็นปมแน่น แต่กรณีนี้ก็เกิดขึ้นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของการตั้งครรภ์เท่านั้น

ในสัปดาห์ที่ 39 ของการ ตั้งครรภ์ นี้ ไขหุ้มทารกที่เคลือบผิวทารกในครรภ์อยู่ จะหลุดออกไปเกือบหมดแล้ว และทารกจะมีขนอ่อนขึ้นทั่วร่างกาย ส่วนร่างกายของคุณแม่จะทำหน้าที่ส่งสารภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยในครรภ์ผ่านทางรก ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของทารกน้อยสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ในช่วง 6-12 เดือน หรือช่วงขวบปีแรกของการใช้ชีวิต

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

สัญญาณที่แสดงว่าคุณแม่ ตั้งครรภ์ พร้อมคลอดและสามารถสังเกตได้ง่ายก็คือ ถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกว่าน้ำเดิน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อนับจากนี้ไป เวลาที่มีน้ำเดิน คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจมีน้ำคร่ำไหลทะลักออกมา ในขณะที่คุณแม่บางคนอาจมีน้ำคร่ำค่อย ๆ ไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์หลายคนจะยังไม่เกิดอาการน้ำเดิน หรือถุงน้ำคร่ำแตกจนกว่าจะพร้อมคลอดจริง ๆ นอกจากนี้ สำหรับหญิงที่ ตั้งครรภ์ บางคน แพทย์อาจต้องเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตก เพื่อเร่งให้พร้อมคลอดได้เร็วขึ้น หากคุณรู้สึกว่ามีอาการน้ำเดิน หรือเจ็บท้องแบบมดลูกบีบตัวอย่างสม่ำเสมอ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

หากทารกอยู่ในครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ หรือ 294 วันขึ้นไป ถือว่าเป็น “การตั้งครรภ์เกินกำหนด” ซึ่งมีความเสี่ยงกับทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ จึงเป็นการดีกว่าหากทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งโดยปกติแล้ว ทารกน้อยจะลืมตาดูโลกในช่วงอายุครรภ์ 37-41 สัปดาห์

การพบคุณหมอ

ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง

ว่ากันว่าสมุนไพรบางอย่างสามารถช่วยกระตุ้นคุณแม่ ตั้งครรภ์ ให้คลอดได้เร็วขึ้น แต่ก็ยังไม่ผลการวิจัยที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการใช้สมุนไพรช่วยเร่งให้คลอดเร็วขึ้นนั้นปลอดภัยกับคุณแม่และทารก ฉะนั้น คุณจึงไม่ควรใช้สมุนไพรใด ๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ก่อน

การทดสอบที่ควรรู้

ตอนนี้ใกล้ถึงวันครบกำหนดคลอดเข้าไปทุกที เมื่อไปพบคุณหมอตามนัดหมาย คุณหมออาจทำการตรวจกระดูกเชิงกรานตามปกติ เพื่อดูท่าทางของทารกน้อยในครรภ์ว่าตอนนี้อยู่ในท่าเอาหัวลง ที่เรียกว่า ทารกท่าศีรษะ (Vertex or Cephalic Presentation) หรือท่าเอาก้นลง ที่เรียกว่า ทารกท่าก้น (Breech Presentation)

ซึ่งทารกส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าเอาหัวลงเมื่อถึงช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ในท่าที่เตรียมพร้อมคลอดนี้ ลูกน้อยของคุณจะอยู่ในส่วนโค้งของกระดูกเชิงกรานอย่างพอเหมาะพอดี

ซึ่งในช่วงการตรวจกระดูกเชิงกรานนั้น คุณหมออาจจะทำการตรวจปากมดลูกด้วย เพื่อดูว่าปากมดลูกเริ่มเปิด หรือบางลง หรือนิ่มขึ้นหรือยัง โดยข้อมูลที่ได้จะแสดงให้เห็นเป็นตัวเลขและเปอร์เซ็นต์

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการ ตั้งครรภ์

คุณแม่ ตั้งครรภ์ บางคนอาจมีเหตุให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนน้อย และกังวลว่าจะทำให้ลูกน้อยในครรภ์นอนไม่พอไปด้วย แต่ความเป็นจริงก็คือ ทารกน้อยในครรภ์สามารถนอนหลับได้แม้คุณแม่จะตื่นอยู่ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกอ่อนเพลีย ส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายด้าน รวมถึงอาจกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การขับรถ การทำงาน

  • การใช้ยาแก้ปวด

การใช้ยาถือเป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน อย่างยาแก้ปวด ที่หลายคนอาจคิดว่าไม่เป็นอันตรายใด ๆ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรกินยาแก้ปวด เนื่องจากยาแก้ปวดส่วนใหญ่อาจทำให้เส้นเลือดหดตัว และอาจส่งผลให้เส้นเลือดของทารกในครรภ์หดตัวได้ด้วย

หากเส้นเลือดของทารกในครรภ์เกิดการหดตัวเร็วเกินไปเมื่ออยู่ในครรภ์ ก็อาจกลายเป็นตัวขัดขวางพัฒนาการ หรือทำให้เส้นเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงบริเวณสันหลังเกิดการฉีกขาด ทำให้ลูกของคุณกลายเป็นอัมพาตได้

แม้จะยังไม่มีผลยืนยันถึงอันตรายของยาแก้ปวดที่มีต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์อย่างแน่ชัด แต่เพื่อความปลอดภัย คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ไม่ควรกินยาแก้ปวดเอง หากรู้สึกปวดศีรษะ ปวดหลัง ควรปรึกษาแพทย์

แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby?. http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed March 3, 2015

Pregnancy calendar week 39. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week39.htm. Accessed March 3, 2015

Your pregnancy: 39 weeks. http://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-39-weeks_1101.bc. Accessed March 3, 2015

Infants (0-1 year of age). https://www.cdc.gov/ncbddd/childdevelopment/positiveparenting/infants.html. Accessed July 22, 2021

Slideshow: Fetal Development Month by Month. https://www.webmd.com/baby/ss/slideshow-fetal-development. Accessed July 22, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/11/2021

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลังคลอด ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

วิธีอาบน้ำทารก และการดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 22/11/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา