backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 28

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 28

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 28 ทารกในครรภ์มักมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และยาวตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าวัดได้ประมาณ 38 เซนติเมตร เป็นช่วงสัปดาห์ที่ทารกอาจกลับหัวเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ในบางรายทารกอาจยังไม่กลับหัว แต่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด เพราะยังมีเวลาเหลืออีกประมาณ 10 สัปดาห์ที่ทารกอาจเปลี่ยนท่าทางเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด

[embed-health-tool-due-date]

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 28

ลูกจะเติบโตอย่างไร

ในช่วงการตั้งครรภ์ ของสัปดาห์ที่ 28 นี้ ทารกในครรภ์มักมีขนาดเท่ากับมะเขือยาวลูกใหญ่ ซึ่งจะหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และยาวประมาณ 38 เซนติเมตร โดยวัดตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า ทารกอาจเริ่มกลับหัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับคลอด หากทารกยังไม่กลับหัว ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะยังมีระยะเวลาอีกประมาณ 10 สัปดาห์ก่อนคลอดที่ทารกสามารถเปลี่ยนท่าทางและกลับตัวได้เอง หากพบว่าทารกไม่กลับหัวเมื่อใกล้คลอด คุณหมออาจแนะนำการผ่าคลอด

นอกจากนี้ รอยหยักสมองของทารกในครรภ์ยังคงพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญยังมีชั้นไขมันและเส้นผมยังมีการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันอีกด้วย

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

คุณหมออาจตรวจเลือดในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ เพื่อทำการหากรุ๊ปเลือด Rh ซึ่งเป็นสสารชนิดหนึ่งที่พบในเซลล์เม็ดเลือดแดงของคนส่วนใหญ่ หากหญิงตั้งครรภ์มีกรุ๊ปเลือด Rh negative แต่ทารกมีกรุ๊ปเลือด Rh positive ทารกอาจมีแนวโน้มเกิดปัญหาสุขภาพ อย่างเช่น โรคโลหิตจาง คุณหมออาจฉีดวัคซีนที่มีชื่อเรียกว่า Rh immune globulin ให้หญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพเหล่านี้ โดยจะฉีดในช่วงสัปดาห์ที่ 28 และฉีดอีกครั้งหลังคลอดบุตรแล้ว

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

นอกจากหน้าท้องจะมีขนาดใหญ่ขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ เท้าและข้อเท้ามักบวมขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเย็นของวัน อาการบวมนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่อาจรบกวนการใช้ชีวิต เช่น ใส่รองเท้าและนาฬิกาข้อมือได้ยากขึ้น แหวนอาจจะคับขึ้นและถอดออกจากนิ้วได้ยาก

อาการบวมนิดหน่อยของเท้า ข้อเท้า และมือ ถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากมีของเหลวที่จำเป็นในการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผู้หญิง 75 เปอร์เซ็นต์เกิดอาการบวมในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 26 หรือช่วงไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป โดยที่อาการบวมจะแย่ลงถ้าอากาศร้อน หรือใช้เวลายืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ โดยส่วนใหญ่อาการบวมอาจลดลงหากนอนพักสองสามชั่วโมง หรือนอนพักผ่อนในตอนกลางคืน

การพบคุณหมอ

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง

ถ้าอาการบวมแย่ลง ควรรีบไปพบคุณหมอทันที อาการบวมมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ และมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ 

การทดสอบใดที่ควรรู้

คุณหมออาจขอตรวจร่างกายตามปกติ ซึ่งได้แก่ 

  • ชั่งน้ำหนักและวัดความดันโลหิต
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าน้ำตาลและโปรตีน
  • วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
  • วัดขนาดมดลูกโดยการคลำจากภายนอก
  • วัดความสูงของยอดมดลูก
  • ตรวจหาเส้นเลือดขอดที่ขา รวมทั้งอาการบวมที่มือและเท้า
  • ตรวจหาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีภาวะโลหิตจางหรือไม่
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ
  • สอบถามถึงอาการต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น โดยเฉพาะอาการที่ผิดปกติ

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

กิจกรรมและพฤติกรรมบางอย่างควรหลีกเลี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งได้แก่

การตั้งครรภ์อาจทำให้มีริ้วรอยและรอยแตกลาย ที่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจ จึงอาจอยากฉีดโบท็อกซ์ในช่วงนี้ แต่อาจจะเป็นกังวล ว่าจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการฉีดโบท็อกซ์ของผู้หญิงตั้งครรภ์ หากฉีดโบท็อกซ์ก่อนที่จะตั้งครรภ์มักไม่ส่งผลต่อทารกในครรภ์ เแต่หากตั้งครรภ์แล้ว ควรรอให้คลอดก่อน แล้วจึงค่อยฉีดโบท็อกซ์ เนื่องจากยังไม่มีรายงานว่าการฉีดโบท็อกซ์ระหว่างคลอดปลอดภัยต่อทารกในครรภ์หรือไม่

หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง (แม้จะไม่ได้เป็นแบบส้นแหลมก็ตาม) ในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินหรือยืนเป็นเวลานาน เพราะปกติแล้วเมื่อตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง และด้วยความที่เส้นเอ็นมักจะคลายตัวในระหว่างการตั้งครรภ์ จึงอาจทำให้การเดินมักไม่มั่นคงและกล้ามเนื้อฉีกขาดได้

โดยเฉพาะการสวมใส่รองเท้าส้นสูงมักทำให้เสี่ยงหกล้ม อาจทำให้หญิงตั้งครภ์และทารกในครรภ์บาดเจ็บได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby?. http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed May 16, 2022.

Pregnancy calendar week 28. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week19.html. Accessed May 16, 2022.

Pregnancy Week 28. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/week-by-week/28-weeks-pregnant/. Accessed May 16, 2022.

Your pregnancy: 28 weeks. https://www.babycenter.com/pregnancy/week-by-week/28-weeks-pregnant. Accessed May 16, 2022.

Week-by-week guide to pregnancy. https://www.nhs.uk/start4life/pregnancy/week-by-week/3rd-trimester/week-28/. Accessed May 16, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/10/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 30

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลนครพิงค์


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา