backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

หลังผ่าคลอด ฟื้นฟูร่างกายให้เร็วขึ้นได้ด้วยวิธีใดบ้าง

หลังผ่าคลอด ฟื้นฟูร่างกายให้เร็วขึ้นได้ด้วยวิธีใดบ้าง

หลังผ่าคลอด คือช่วงเวลาหลังการผ่าตัดเพื่อนำทารกออกมาจากครรภ์มารดา อาจเป็นการผ่าคลอดแบบปกติ หรือการผ่าคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งการผ่าคลอดในผู้ที่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์เพื่อช่วยชีวิตทารก หรือตัวคุณแม่ไว้ให้ปลอดภัยที่สุด เมื่อผ่าคลอดเสร็จแล้ว คุณแม่อาจต้องอยู่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วันเพื่อพักฟื้นร่างกาย หากต้องการผ่าคลอด ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงโดยเร็วที่สุด

[embed-health-tool-due-date]

หลังผ่าคลอด มีวิธีดูแลร่างกายอย่างไรบ้าง

หลังผ่าคลอด คุณแม่อาจรู้สึกอ่อนเพลียและเจ็บแผลผ่าตัด ควรพยายามพักผ่อนและค่อย ๆ ดูแลตนเองตามคำแนะนำของคุณหมอเพื่อฟื้นฟูร่างกายและแผลผ่าตัดด้วยวิธีต่อไปนี้

นอนหลับให้เพียงพอ

การผ่าคลอดเหมือนกับการผ่าตัดอื่น ๆ ที่ร่างกายต้องการเวลาในการฟื้นฟูหลังผ่าตัด โดยปกติ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่มักพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลาประมาณ 3-4 วัน หรือตามที่คุณหมอเห็นสมควร หลังจากนั้น คุณแม่ที่ผ่าคลอดควรพักฟื้นร่างกายอย่างน้อย 6 สัปดาห์ขึ้นไป และเพื่อให้เกิดการเยียวยาร่างกายอย่างเต็มที่ จึงควรนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอในช่วงเวลานี้

อย่างไรก็ตาม การพักผ่อนหลังคลอดสำหรับคุณแม่ อาจทำได้ยาก เนื่องจากต้องดูแลทารก ดังนั้น คุณแม่จึงควรนอนหลับพักผ่อนให้มากที่สุดในเวลาที่สามารถนอนได้ เช่น ตอนที่ลูกหลับ นอกจากนี้ อาจขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดหรือจ้างแม่บ้านในการทำงานบ้าน และงานอื่น ๆ เพื่อให้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้นหลังผ่าคลอด

ระมัดระวังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

แม่หลังผ่าคลอดควรระมัดระวังและดูแลตนเองมากเป็นพิเศษในช่วงแรก ๆ ควรหลีกเลี่ยงการเดินขึ้น-ลงบันได เท่าที่จะทำได้ และไม่ควรยกของหนัก เพราะโดยปกติแล้วอาจใช้เวลาถึง 8 สัปดาห์กว่าจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติ และคุณแม่ที่เพิ่งผ่านการผ่าคลอด ควรปรึกษาคุณหมอ กรณีที่ต้องการออกกำลังกาย ขับรถ หรือไปทำงาน นอกจากนี้ ไม่ใช่แค่เพียงการดูแลสุขภาพกาย แต่สุขภาพจิตก็สำคัญ การมีลูกอาจทำให้รู้สึกเหนื่อย เศร้า หรือผิดหวัง อาจมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ควรหาวิธีรับมือ อาจระบายให้คนที่ไว้ใจฟัง หรือปรึกษาแพทย์

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การรับอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ให้นมลูกเอง เนื่องจากทารกจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ นอกจากจะทำให้ทารกแข็งแรงแล้ว ยังทำให้คุณแม่แข็งแรงด้วย อีกทั้ง การรับประทานผักและผลไม้ขณะให้นมลูกอาจช่วยให้น้ำนมมีรสชาติดี นอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว คุณแม่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก และเพื่อให้มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูกน้อย

เดินออกกำลังกาย

หลังผ่าคลอด คุณแม่ไม่ควรออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก และควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก แต่ควรเลือกออกกำลังกายเบา ๆ  เช่น การเดิน เพราะการเคลื่อนไหวร่างกาย จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น ป้องกันเกิดพังผืดบริเวณบาดแผลผ่าตัด และป้องกันอาการท้องผูกด้วย

เมื่อไรที่ควรไปหาคุณหมอ

หลังผ่าคลอดเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้าน คุณแม่ควรสังเกตตัวเอง หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปหาคุณหมอทันที

  • มีรอยแดง บวม หรือมีหนองออกจากบริเวณที่ ผ่าคลอด
  • เจ็บบริเวณที่มีการผ่าคลอด
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ตกขาวมีกลิ่นแรง
  • เลือดออกทางช่องคลอดอย่างรุนแรง
  • น้ำคาวปลามีสี กลิ่น ผิดปกติ
  • ปวดบวมแดงบริเวณขา
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • เจ็บเต้านม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Recovery and Care After a C-Section. https://www.webmd.com/baby/recovery-after-c-section#1. Accessed August 17, 2022.

How to speed up recovery from a cesarean delivery. https://www.medicalnewstoday.com/articles/323229.php. Accessed August 17, 2022.

RecoveryCaesarean section. https://www.nhs.uk/conditions/caesarean-section/recovery/. Accessed August 17, 2022.

C-section recovery: What to expect. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/c-section-recovery/art-20047310. Accessed August 17, 2022.

C-Section Recovery Timeline and Aftercare. https://health.clevelandclinic.org/c-section-recovery/. Accessed August 17, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/11/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา