backup og meta

เจาะเลือดตรวจครรภ์ มีวิธีการและการเตรียมตัวอย่างไร

เจาะเลือดตรวจครรภ์ มีวิธีการและการเตรียมตัวอย่างไร

เจาะเลือดตรวจครรภ์ คือ การทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการเจาะเลือด ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องได้รับการตรวจโดยคุณหมอเท่านั้น การเจาะเลือดสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้เร็วกว่าชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง และอาจแม่นยำกว่า แต่อาจใช้เวลารอผลลัพธ์นานกว่าการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง การเจาะเลือดตรวจครรภ์จึงอาจเหมาะสำหรับใช้เพื่อยืนยันผลของการตั้งครรภ์ให้แน่ชัดอีกครั้งหลังจากการตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

[embed-health-tool-ovulation]

เจาะเลือดตรวจครรภ์ มีกี่ประเภท

การเจาะเลือดตรวจครรภ์อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

การตรวจเลือดหาค่า HCG เชิงคุณภาพ

การตรวจเลือดหาค่า HCG เชิงคุณภาพ เป็นการตรวจหาฮอร์โมน HCG (Human chorionic gonadotropin) ที่ร่างกายผลิตขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ คุณหมออาจสั่งให้ตรวจเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ภายใน 10 วัน หลังปฏิสนธิ โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำเพื่อทำการทดสอบ หากผลการทดสอบเป็นลบแสดงว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่หากผลการทดสอบเป็นบวกแสดงว่าตั้งครรภ์

ในบางกรณีที่ผลของการตรวจเลือดเป็นบวกและไม่ได้ตั้งครรภ์ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เช่น ไข่ผสมแล้วฝังตัวที่ท่อนำไข่ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาเหล่านี้

  • การแท้งบุตร
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ครรภ์ไข่ปลาอุก (Hydatidiform mole) คือ การตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ ตัวอ่อนของทารกและรกไม่เจริญเติบโตตามปกติ และเนื้อเยื่อของตัวอ่อนกลายเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงในมดลูกแทน
  • มะเร็งเนื้อรก (Gestational trophoblastic tumor)
  • มะเร็งรังไข่

การตรวจเลือดหาค่า HCG เชิงปริมาณ

การตรวจเลือดหาค่า HCG เชิงปริมาณ เป็นวิธีการวัดปริมาณ HCG ในเลือด สามารถตรวจพบได้แม้ว่าจะมีปริมาณจะน้อยมาก ซึ่งเป็นการทดสอบที่ช่วยบอกอายุที่แน่นอนของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยังช่วยติดตามปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ โดยคุณหมออาจใช้วิธีการทดสอบนี้ร่วมกับการทดสอบแบบอื่นเพื่อตรวจหาความผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น ตรวจหาการตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือการแท้งบุตร การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม โดยคุณหมอจะเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำเพื่อทำการทดสอบ ผลลัพธ์จะแสดงเป็นหน่วยสากล/มิลลิลิตร (mUI/mL) หากไม่ได้ตั้งครรภ์ค่าของ HCG จะน้อยกว่า 5 mIU/mL

ในบางกรณีผลลัพธ์ที่มากกว่าค่าปกติ อาจหมายถึงภาวะเหล่านี้

ผลลัพธ์ที่ต่ำกว่าค่าปกติ อาจหมายถึงปัญหาเหล่านี้

ความเสี่ยงของการเจาะเลือดตรวจครรภ์

การเจาะเลือดตรวจครรภ์อาจมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • มีเลือดออกมาก
  • อาการช้ำ ห้อเลือด
  • หน้ามืด หมดสติ
  • การติดเชื้อ

ความแม่นยำของการเจาะเลือดตรวจครรภ์

การทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือด สามารถให้ผลแม่นยำ 99% และสามารถตรวจเจอแม้ปริมาณ HCG จะยังไม่มากนัก การตรวจเลือดให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์​ ที่อาจให้ผลแม่นยำประมาณ 97-99%

การเตรียมตัวก่อนเจาะเลือดตรวจครรภ์

โดยปกติการเจาะเลือดตรวจครรภ์อาจไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ แต่การทดสอบที่เร็วเกินไปอาจทำให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนได้ โดยปกติจะมีการตกไข่เกิดขึ้น 14 วันก่อนก่อนมีประจำเดือนครั้งต่อไป และหากมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่ไข่ตก ตัวอสุจิและไข่จะสามารถเข้าไปผสมกันได้ทันที ซึ่งตัวอสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ในมดลูกได้ประมาณ 48-72 ชั่วโมง และไข่จะมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 12-24 ชั่วโมงหลังการตกไข่ หากผู้ที่มีประจำเดือนปกติที่มีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาไข่ตกก็เป็นไปได้ไข่และอสุจิสามารถปฏิสนธิได้ทันที ดังนั้น การตรวจการตั้งครรภ์ ควรรออย่างน้อย 10 วัน เพื่อผลการทดสอบที่แม่นยำมากขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Knowing if you are pregnant. https://www.womenshealth.gov/pregnancy/you-get-pregnant/knowing-if-you-are-pregnant. Accessed December 16, 2021

Pregnancy testing. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/pregnancy-testing. Accessed December 16, 2021

HCG blood test – qualitative. https://medlineplus.gov/ency/article/003509.htm. Accessed December 16, 2021

Pregnancy Test. https://medlineplus.gov/lab-tests/pregnancy-test/. Accessed December 16, 2021

Pregnancy Tests. https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-tests#1. Accessed December 16, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจครรภ์ได้ตอนไหน

ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด หมายความอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา