backup og meta

ของใช้เตรียมคลอด และการเตรียมตัวก่อนคลอด มีอะไรบ้าง

ของใช้เตรียมคลอด และการเตรียมตัวก่อนคลอด มีอะไรบ้าง

ของใช้เตรียมคลอด สำหรับคุณแม่ ควรได้รับการตระเตรียมไว้อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนถึงวันที่คุณหมอกำหนดคลอด เพื่อนำมาใช้ในโรงพยาบาลขณะที่พักฟื้นหลังคลอดบุตร ระยะเวลาดังกล่าวเพียงพอที่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป โดยเฉพาะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือภาวะคลอดก่อนกำหนด อาจจัดวางกระเป๋าที่ใส่ของใช้เตรียมคลอดไว้ใกล้มือที่หยิบฉวยได้ง่าย หรือเตรียมใส่ไว้ในรถ เมื่อถึงเวลากำหนดคลอดจะได้พร้อมออกเดินทางไปโรงพยาบาลได้ทันที

[embed-health-tool-due-date]

ของใช้เตรียมคลอด สำหรับคุณแม่ 

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับการคลอดบุตรล่วงหน้าอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ก่อนถึงกำหนดคลอด โดยของใช้เตรียมคลอดสำหรับบคุณแม่ที่พักในโรงพยาบาล 1-4 วัน มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • ผลตรวจ หรือเอกสารสำคัญที่ใช้ยื่นก่อนเข้าพักรักษาตัว เช่น บัตรโรงพยาบาล บัตรประจำตัวประชาชน
  • เสื้อคลุม หรือเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่นท้องจนเกินไป
  • เสื้อชั้นในที่สวมใส่สบาย หรือเสื้อชั้นในให้นมบุตรประมาณ 3 ตัว
  • ชุดชั้นใน 5-6 ตัว 
  • รองเท้าแตะ
  • แผ่นซับน้ำนม
  • ผ้าอนามัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
  • แปรงสีฟัน หวี อุปกรณ์อาบน้ำ 
  • ผ้าขนหนู
  • อุปกรณ์สายชาร์จสำหรับโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป
  • เสื้อผ้าเด็กอ่อน หมวก ผ้าอ้อม ผ้าห่อตัวทารก  

การเตรียมตัวก่อนคลอด

ก่อนถึงวันคลอดบุตร หรือระหว่างตั้งครรภ์ ควรเข้ารับคำแนะนำเบื้องต้นจากคุณหมอถึงวิธีการดูแลสุขภาพทารก เพื่อความปลอดภัย และดูแลทารกได้อย่างถูกต้อง สำหรับการเตรียมตัวก่อนคลอด อาจทำได้ดังนี้

  • เรียนรู้ถึงสัญญาณ หรืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อถึงช่วงใกล้คลอด และการดูแลทารกหลังคลอด
  • จัดการกับความกลัว และความกังวลใจ 
  • เรียนรู้วิธีการจัดการกับความเจ็บปวดในช่วงใกล้คลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญอาจสอนเรื่องการควบคุมการหายใจ เพื่อรับมือกับการขยายตัวของมดลูก รวมถึงการใช้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาเพทิดีน (Pethidine)
  • ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับโรงพยาบาลที่ต้องการพักรักษาตัว เช่น คุณหมอที่ทำการคลอดบุตร เส้นทางการเดินทางไปโรงพยาบาล ค่าใช้จ่าย 

สัญญาณเตือนของการคลอดบุตร

ระยะเวลาการคลอดบุตรอาจไม่ตรงตามที่คุณหมอกำหนดเสมอไป อาจสังเกตได้จากสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้ 

  • ปวดท้อง ปวดหลัง
  • ท้องเสีย
  • มีเลือดออกเล็กน้อย หรืออาจมีน้ำคร่ำไหลออกมา
  • มดลูกขยาย หรือหดตัว ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดมากที่สุด 

ระยะการขยายตัวของมดลูกก่อนคลอด 

ก่อนการคลอดบุตรแบบคลอดธรรมชาติคุณแม่อาจต้องรอให้ปากมดลูกขยายออกประมาณ 10 เซนติเมตร โดยอาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแฝง เป็นระยะที่อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย โดยมดลูกจะเริ่มขยายตัวตั้งแต่ 0-3 เซนติเมตร ซึ่งอาจเกิดขึ้นทุกช่วงเวลา ทุกช่วงชั่วโมง หรือบางวัน
  • ระยะแอคทีฟ เป็นระยะถัดมาจากระยะแฝง ที่จะเริ่มมีการหดเกร็งของมดลูกอย่างรุนแรง โดยห่างกันทุก ๆ 3-4 นาที และอาจมีอาการเจ็บปวดนานถึง 30-60 วินาที โดยระยะนี้มดลูกอาจขยายจาก 3 เซนติเมตร เป็น 7-8 เซนติเมตร
  • ระยะเปลี่ยนผ่าน เป็นระยะสุดท้ายที่มดลูกอาจทำการขยายตัวเต็มที่จาก 8 เซนติเมตร เป็น 10 เซนติเมตร ซึ่งอาจส่งผลให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้นกว่า 2 ระยะแรก ซึ่งอาจหมายความว่าทารกกำลังเคลื่อนศีรษะหรือกลับตัวลงมาบริเวณช่องคลอด เพื่อเตรียมพร้อมที่จะออกสู่โลกภายนอก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Preparing for labour. https://www.nidirect.gov.uk/articles/preparing-labour. Accessed June 16, 2022.

Pregnancy week by week. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy/art-20044568. Accessed June 16, 2022.

Preparing for labour. https://www.thewomens.org.au/health-information/pregnancy-and-birth/labour-birth/preparing-for-labour. Accessed June 16, 2022.

Preparing for the birth.  

https://www.nhs.uk/pregnancy/labour-and-birth/preparing-for-the-birth/. Accessed June 16, 2022.

Making a birth plan. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/making-a-birth-plan. Accessed June 16, 2022.

Planning for labour and birth. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/planning-for-labour-and-birth. Accessed June 16, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/04/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทารกคลอดก่อนกำหนด ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

ผ่าคลอด ทางเลือกสำหรับคุณแม่ที่ไม่พร้อมคลอดแบบธรรมชาติ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 09/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา