backup og meta

ยาคุมกำเนิด กับ การตั้งครรภ์ และข้อควรรู้ก่อนใช้ยา

ยาคุมกำเนิด กับ การตั้งครรภ์ และข้อควรรู้ก่อนใช้ยา

การเรียนรู้ความเกี่ยวข้องระหว่าง ยาคุมกำเนิด และการตั้งครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจช่วยให้สามารถวางแผนครอบครัว หรือวางแผนในการมีลูกได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ยาคุมกำเนิดมีหลายรูปแบบ หากไม่แน่ใจว่าควรยาคุมรูปแบบใด ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกร เพื่อให้ได้ยาคุมที่เหมาะสมกับสุขภาพและความต้องการในการคุมกำเนิดที่สุด

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หากต้องการตั้งครรภ์ ควรหยุดกินยาคุมกำเนิดเมื่อไหร่

โอกาสในการตั้งครรภ์ของผู้หญิงหลังจากหยุดกินยาคุมกำเนิดนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของยาคุมกำเนิดที่กิน ยาคุมกำเนิดหลายยี่ห้อจะมีปริมาณฮอร์โมนแตกต่างกันไป ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอว่า ถ้ากินยาคุมกำเนิดแบบนี้จะต้องหยุดกินตอนไหนเพื่อให้ตั้งครรภ์

การศึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หลังหยุดกินยาคุมกำเนิด

จากการวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่า ร้อยละ 96 ของผู้หญิงที่เคยกินยาคุมกำเนิด จะสามารถตั้งครรภ์ภายใน 6-12 เดือน การทำงานของยาคุมกำเนิดนั้นคือ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ โดยเมื่อกินยาคุมกำเนิดเข้าไป ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิด ซึ่งได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะทำงานร่วมกันในงานคุมกำเนิด คือ ควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดภาวะตกไข่ ทำให้ของเหลวบริเวณปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น เพื่อให้อสุจิเข้าไปปฏิสนธิได้ลำบาก และทำให้ผนังมดลูกบางลง เพื่อไม่ให้ไข่ที่ปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว ไปฝังตัวอยู่ตรงผนังมดลูก

อย่างไรก็ตาม เมื่อหยุดกินยาคุมกำเนิดแล้ว ฮอร์โมนในร่างกายก็จะกลับสู่สภาวะเดิม ทำให้เกิดภาวะตกไข่เหมือนเดิม เมื่อมีประจำเดือนไปแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเกิดภาวะตกไข่ในอีก 1 เดือนต่อมา ตอนที่ร่างกายเกิดภาวะตกไข่ ก็จะสามารถเกิดการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิทำให้มีลูกได้ ส่วนวิธีสังเกตว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ก็อาจสังเกตจากประจำเดือน หากไม่ได้คุมกำเนิดตอนมีเพศสัมพันธ์แล้วประจำเดือนไม่มา ก็ลองซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจได้เลย

หลังคลอดลูก สามารถกลับมากินยาคุมกำเนิดได้เมื่อไหร่

หากต้องการกินยาคุมกำเนิดทันทีหลังคลอดลูก จำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอ เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่มือใหม่จะแตกต่างจากตอนที่กำลังตั้งท้อง หรือตอนที่ยังไม่มีลูก สมาคม Reproductive Health Professionals ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า คุณแม่มือใหม่ที่ร่างกายแข็งแรงสามารถกินยาคุมกำเนิดได้เหมือนกับสาวๆ คนอื่นๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องปรึกษาคุณหมอ เพราะการกินยาคุมกำเนิดทันทีหลังคลอด อาจมีผลข้างเคียงจากการกินยา จนส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่

เรื่องที่มาคู่กับการกินยาคุมกำเนิดของคุณแม่มือใหม่ ก็คือเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะคลอดลูกด้วยการผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติ ร่างกายก็ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูร่างกาย ดังนั้น ถ้าต้องการมีเพศสัมพันธ์ควรรอให้ร่างกายหายดี กลับมาแข็งแรงเป็นปกติก่อน ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังคลอดในการพักฟื้นร่างกาย ส่วนเรื่องความต้องการที่จะมีเพศสัมพันธ์นั้นขึ้นอยู่กับผู้หญิงแต่ละคน และขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ความเจ็บปวด ความกลัว หรือความเหนื่อยล้า ก็จะทำให้ไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์อีกไปซักพักหนึ่ง

ข้อควรระวังในการใช้ ยาคุมกำเนิด

สมาคม American Pregnancy Association ได้เตือนว่า ผู้หญิงที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับเกล็ดเลือด มะเร็งเต้านม โรคตับ หรือผู้หญิงที่สูบบุหรี่ ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ไม่ควรกินยาคุมกำเนิด นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีความดันสูง เป็นโรคเบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ไม่ควรที่จะกินยาคุมกำเนิด อาจใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่น เช่น สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Birth control pill FAQ: Benefits, risks and choices. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/in-depth/birth-control-pill/art-20045136. Accessed on July 4, 2018.

การใช้และปัญหาจากยาใกล้ตัว : ทำความรู้จักกับยาเม็ดคุมกำเนิด. https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/knowledge_general_population/29jun2016-1021-th. Accessed on July 4, 2018.

ยาคุมฉุกเฉิน-เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้. http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/54/. Accessed on July 4, 2018.

Sex after pregnancy: Set your own timeline. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/sex-after-pregnancy/art-20045669.  Accessed on July 4, 2018.

Birth Control Pill. https://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/birth-control-pill. Accessed December 15, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/04/2023

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เดินออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้ผู้หญิงได้

ตั้งครรภ์ หลังเป็นมะเร็งเต้านม เป็นไปได้และปลอดภัยหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 09/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา