backup og meta

เป็น เบาหวาน ตอน ตั้ง ครรภ์ คลอด เอง ได้ ไหม

เป็น เบาหวาน ตอน ตั้ง ครรภ์ คลอด เอง ได้ ไหม

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ และหากเป็นตอนตั้งครรภ์ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพของตัวเองและทารกในครรภ์ หากสงสัยว่า เป็น เบาหวาน ตอน ตั้ง ครรภ์ คลอด เอง ได้ ไหม คำตอบคือได้ แต่หากพิจารณาพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ที่เป็นข้อห้ามหรือข้อระวังในการคลอดเองตามธรรมชาติอาจจะพิจารณาผ่าตัดคลอด เช่น คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ทำให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนัดตัวที่เยอะเกิณเกณฑ์มาก ๆ เป็นต้น

[embed-health-tool-bmr]

เบาหวาน คืออะไร

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ความดันสูง วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด

ทั้งนี้ แม้เบาหวานจะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ในบางครั้งอาจเกิดขึ้นชั่วคราว โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งพบประมาณ 2-10% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด และจะหายไปเองหลังคลอด

เบาหวาน เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์อย่างไร

เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ทั้งก่อนตั้งครรภ์หรือขณะตั้งครรภ์ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และส่งผลเสียต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนี้

หญิงตั้งครรภ์

  • เพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคไต ในกรณีที่เป็นเบาหวานมานาน และมักเป็นกลุ่มที่เป็นมาก่อนตั้งครรภ์

ทารกในครรภ์

  • น้ำตาลในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • ออกซิเจนต่ำ
  • ธาตุเหล็กในเลือดต่ำ
  • หัวใจโตกว่าปกติ และทำงานผิดปกติ
  • พัฒนาการของระบบประสาทหรือปอดแย่ลง
  • เสียชีวิตในครรภ์
  • ตัวใหญ่กว่าปกติ หรือน้ำหนักตัวเกิน 4 กิโลกรัม
  • ในรายที่น้ำตาลในเลือดสูงมากจนเลือดไหวเวียนมาที่รกผิดปกติ อาจทำให้ทารกในครรภ์ไม่เจริญเติบโต หรือทารกตัวเล็กกว่าเกณฑ์ได้
  • ต้องคลอดก่อนกำหนด มีภาวะตายคลอด

ทารก หลังคลอด

  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • หายใจลำบาก
  • ตัวเหลือง
  • พิการแต่กำเนิด หัวใจ หลอดเลือด สมอง หรือไขสันหลัง
  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนตั้งแต่เด็ก หรือเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

เป็น เบาหวาน ตอน ตั้ง ครรภ์ คลอด เอง ได้ ไหม

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถคลอดบุตรเองได้ โดยคุณหมอมักแนะนำให้คลอดหลังสัปดาห์ที่ 38 เป็นต้นไป เพราะหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานจะทำให้ปอดของทารกในครรภ์พัฒนาได้ช้ากว่าปกติ แต่ใดๆก็ตามก็ขึ้นอยู่กับการควบคุมโรคในแต่ละคน หากพบว่าการคุมระดับน้ำตาลทำได้ยาก ต้องใช้ยาลดน้ำตาลในขนาดที่สูง หรือ เริ่มมีภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ครรภ์เป็นพิษ อาจพิจารณาให้คลอดก่อนตามข้อบ่งชี้ของแต่ละราย

อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการพิจารณาการผ่าตัดคลอดในกรณีที่ประเมินแล้วพบข้อห้ามในการคลอดเองตามธรรมชาติ เช่น ทารกในครรภ์ตัวใหญ่ หรือมีภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงแทรกซ้อน เป็นต้น

นอกจากนี้ หากคุณหมอพิจารณาให้คลอด ต่ร่างกายยังไม่เข้าสู่การเจ็บท้องตามธรรมชาติ คุณหมออาจชักนำคลอดด้วยวิธีต่อไปนี้

  • การสอดเจลเข้าไปในช่องคลอด เพื่อช่วยให้ปากมดลูกนุ่มลงและเปิดออก และทำให้มดลูกหดรัดตัวในเวลาเดียวกัน
  • การใช้ยาเหน็บช่องคลอดกระตั้นให้มีการกดรัดตัวของมดลูก  และทำให้ปากมดลูกมีความพร้อมในการเปิดเข้าสู่การคลอด
  • การให้ฮอร์โมนอ๊อกซิโตซิน (Oxytocin) ทางหลอดเลือดดำที่แขน เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัว วิธีนี้บางครั้งจะทำร่วมกับการสอดเจล
  • การสอดสายสวนแล้วปล่อยน้ำเข้าไป เพื่อดันให้ปากมดลูกเปิดออก และกระตุ้นให้มดลูกเกิดการหดรัดตัว
  • การเจาะถุงน้ำคร่ำ เป็นใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายตะขอด้ามยาวหรือกรรไกร เจาะถุงน้ำคร่ำให้แตก เพื่อชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดและหดรัดตัวของมดลูก

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างคลอด

ระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน สัมพันธ์โดยตรงกับสุขภาพของทารกในครรภ์ ดังนั้น ระหว่างตั้งครรภ์ คุณหมอจึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือฉีดอินซูลิน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป

นอกจากนี้ ระหว่างคลอด คุณหมออาจให้อินซูลินหญิงตั้งครรภ์ทางหลอดเลือดดำ และคอยตรวจสอบระดับน้ำตาล ผ่านเครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง หรือ Continuous Glucose Monitoring เพื่อให้แน่ใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม

การคลอดก่อนกำหนด

บางครั้ง หากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือบกพร่องในการใช้อินซูลิน รวมทั้งหากคุณหมอตรวจพบว่า ทารกตัวโตเกินไป หรือไม่เจริญเติบโตอย่างเหมาะสม รวมถึงมีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ คุณหมออาจแนะนำให้คลอดก่อนกำหนดเพื่อความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Labour and birth, for women with type 1 diabetes. https://www.ndss.com.au/about-diabetes/pregnancy/type-1-diabetes/labour-and-birth/. Accessed January 26, 2023

Pregnancy and giving birth. https://www.nhs.uk/conditions/type-1-diabetes/living-with-type-1-diabetes/pregnancy-and-giving-birth/#:~:text=You%20can%20have%20a%20natural,when%20the%20baby%20is%20large. Accessed January 26, 2023

Gestational Diabetes and Pregnancy. https://www.cdc.gov/pregnancy/diabetes-gestational.html. Accessed January 26, 2023

การชักนำการคลอดหรือการเร่งคลอด (Induction of Labor). https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/induction-of-labor/. Accessed January 26, 2023

การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy). https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/faculties/student-extern-intern/extern-intern-corner/learning-manual-for-extern/4672/. Accessed January 26, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/03/2023

เขียนโดย Duangkamon Junnet

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจเบาหวานคนท้อง เพื่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในท้อง

ค่าเบาหวานคนท้องปกติ ควรเป็นอย่างไร และวิธีการดูแลตัวเอง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 31/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา