backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

วอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand Disease)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/10/2020

วอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand Disease)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ตามร่างกายเริ่มมีอาการฟกช้ำง่าย เลือดหยุดยากทุกครั้งมีบาดแผล ซึ่งสัญญาณดังกล่าวนี้อาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มที่สามารถส่งผลให้คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรค วอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand Disease) หรือ โรคเลือดออกง่าย และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คำจำกัดความ

วอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand Disease) คืออะไร

วอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand Disease) คือ โรคเลือดออกง่าย เป็นโรคที่เกิดจากการขาดโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Von Willebrand factor หรือ VWF ซึ่งโปรตีนชนิดนี้ค่อนข้างมีคุณสมบัติที่สามารถช่วยให้เลือดของคุณนั้นเกิดการแข็งตัวได้เร็วขึ้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือบาดแผลต่าง ๆ จนกลายเป็นสะเก็ดแผลที่เราคุ้นเคยกันในที่สุด

แต่ถ้าหากร่างกายของคุณนั้นมีโปรตีน VWF ในระดับต่ำ ที่ไม่สามารถเกาะตัวเป็นก้อนเพื่อไปอุดเส้นเลือดที่ได้รับความเสียหายได้ ก็อาจทำให้บาดแผลของคุณนั้นมีเลือดไหลออกเป็นเวลานาน และอาจนำไปสู่ตกการเลือดอย่างหนักกับกรณีที่ประสบกับบาดแผลใหญ่ได้ เช่น แผลผ่าตัด เป็นต้น

วอนวิลลิแบรนด์ สามารถพบบ่อยได้เพียงใด

วอนวิลลิแบรนด์อาจพบได้บ่อยกับบุคคลทั่วไปทุกช่วงวัย เพราะเนื่องจาเป็นโรคที่เป็นการส่งทอดมาจากพันธุกรรมของคนในครอบครัว จึงอาจทำให้ได้รับภาวะของโรคนี้สืบต่อกันมา

อาการ

อาการของ วอนวิลลิแบรนด์

อาการของโรคนี้นั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สภาวะทางร่างกาย แต่อาการที่คุณสามารถสังเกตได้เด่นชัด อาจมีดังต่อไปนี้

  • บริเวณผิวหนังมีรอยฟกช้ำ หรือช้ำง่าย
  • เลือดออกที่มากจนเกินไป
  • ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด
  • เลือกออกเป็นระยะเวลานาน
  • เลือดออกหนักผิดปกติช่วงที่มีประจำเดือน พร้อมกับมีลิ่มเลือดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 นิ้ว
  • สาเหตุ

    สาเหตุของการเกิดวอนวิลลิแบรนด์

    สาเหตุที่ทำให้คุณนั้นต้องประสบกับโรควอนวิลลิแบรนด์ ส่วนใหญ่มักมาจากยีนที่ผิดปกติจากการสืบทอดพันธุกรรม โดยเฉพาะกับบุคคลในครอบครัวของตนเอง โดยสามารถรับมาได้ 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทมักแตกต่างกันออกไป ดังนี้

    • ประเภทที่ 1 เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากมีโปรตีน VWF ในระดับต่ำเล็กน้อยแต่ยังคงดำรงชีวิตได้ตามปกติ ไม่มีผลกระทบใด ๆ มากนัก
    • ประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่คุณมีระดับโปรตีน VWF ในระดับที่คงที่ แต่ยังคงมีข้อบกพร่องในการทำงานที่ผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดเลือดออกอย่างง่ายดาย
    • ประเภทที่ 3 ถือว่าเป็นประเภทที่อันตราย หรือรุนแรงมากที่สุด เพราะเป็นภาวะที่โปรตีน VWF ไม่สามารถจับตัวเป็นก้อนได้เลย และส่งผลให้เกิดการตกเลือดได้ เมื่อเกิดบาดแผลขนาดใหญ่ขึ้น

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากวอนวิลลิแบรนด์

    ปัจจัยเสี่ยงของโรควอนวิลลิแบรนด์หลัก ๆ แล้ว คือ การที่บุคคลในครอบครัวของคุณเคยมีประวัติการตกเลือด เลือดออกง่าย ยีนผิดปกติ ที่อาจได้รับมาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจากแม่เพียงฝ่ายเดียว หรือพ่อเพียงฝ่ายเดียว และตัวคุณนั้นยังอาจสามารถส่งทอดไปยังบุตรของคุณได้ในอนาคตอีกด้วย

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยวอนวิลลิแบรนด์

    คุณหมออาจมีการเริ่มวินิจฉัยจาก การสอบถามประวัติที่เกี่ยวข้องกับบุคลในครอบครัว พร้อมทั้งอาการที่คุณประสบมาอย่างละเอียด จากนั้นอาจเป็นการนำคุณเข้าตรวจเลือดให้แน่ชัด ถึงแอนติเจนของ VWF และการทดสอบการแข็งตัวของเลือดว่ามีความไวเพียงใด เป็นต้น

    การรักษาวอนวิลลิแบรนด์

    การรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับอาการเบื้องต้น และผลวินิจฉัยจากแพทย์ แต่โดยส่วนใหญ่แพทย์นั้นมักมีการแนะนำให้ใช้การรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ใช้ยาเดสโมเพรสซิน (Desmopressin) ซึ่งเป็นยาที่มีจำหน่ายในรูปแบบฉีด และแบบพ่นจมูก โดยเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ช่วยในการควบคุมการตกเลือด
  • การบำบัดทดแทน เป็นเทคนิคที่แพทย์ของคุณอาจมีการใช้โปรตีนดัดแปลงพันธุกรรมที่พัฒนามาจากพลาสมาของมนุษย์เข้าไปทดแทน VWF ที่ขาดหาย
  • ยาที่ใช้กับบาดแผล เป็นยาที่เปรียบเสมือนกาวสมานบาดแผลให้ชิดติดกัน เพื่อหยุดเลือดที่ไหลออกมา
  • การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาโรควอนวิลลิแบรนด์

    เมื่อพบว่าคุณมีอาการป่วยจากโรคทางพันธุกรรมอย่าง โรควอนวิลลิแบรนด์ ที่ยากต่อการรักษาให้หายขาดได้ การหมั่นปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันจึงเป็นสิ่งสำคัญ และเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพของตนเองให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ คุณสามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงกิจกรรมรุนแรงที่ก่อให้เกิดการฟกช้ำ หรือบาดแผลใด ๆ บนร่างกาย

    อีกทั้งยังควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งเมื่อคุณมีการเข้ารับการผ่าตัดต่าง ๆ เช่น ทันตกรรม การคลอดบุตร เพื่อให้แพทย์นั้นได้เลือกเทคนิค และยารับประทานที่เหมาะสมปลอดภัยแก่ภาวะทางสุขภาพของคุณที่กำลังประสบ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/10/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา