โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย เป็นภาวะความผิดปกติของเลือดอย่างหนึ่ง โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม เกิดจากร่างกายสร้างฮีโมโกลบินที่ผิดปกติออกมา และส่งผลให้เกิดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป จนนำไปสู่ภาวะโลหิตจางได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย รักษาให้หายได้ไหม เป็นแล้วดูแลตัวเองอย่างไร

โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรม มักตรวจพบตั้งแต่เด็ก เมื่อเป็นแล้ว จะเติบโตช้ากว่าปกติ กระดูกผิดปกติ และมีภาวะโลหิตจาง อย่างไรก็ตาม โรคธาลัสซีเมียสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ซึ่งมักได้จากคนในครอบครัว และเมื่อเป็นโรคนี้ ควรดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่เหมาะสม และรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] โรคธาลัสซีเมียคืออะไร โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่เมื่อเป็นแล้ว ร่างกายจะผลิตฮีโมโกลบินได้น้อยกว่าปกติ โดยฮีโมโกลบินเป็นโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของโรคธาลัสซีเมียนในกลุ่มประชากรชาวเขาในประเทศไทย เผยแพร่ในวารสาร PLOS ONE พ.ศ.2564 ระบุว่า ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทยมีจำนวนทั้งหมดประมาณ 600,000 คน สาเหตุของโรคธาลัสซีเมีย คือความผิดปกติหรือการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฮีโมโกลบิน ซึ่งได้รับมาจากพ่อแม่ที่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือเป็นพาหนะของโรค โดยทั่วไป ผู้ป่วยธาลัสซีเมียจะเติบโตช้ากว่าปกติ มีความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก ม้ามโต และมีอาการของภาวะโลหิตจาง เช่น อ่อนเพลีย หายใจลำบาก เนื่องจากร่างกายมีฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ นอกจากนี้ โรคธาลัสซีเมียยังส่งผลต่อพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ ดังนั้น ผู้หญิงที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจึงอาจมีบุตรยากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียคิดเป็น 30-40 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทยทั้งหมด โดยกลุ่มนี้จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่สามารถถ่ายทอดโรคธาลัสซีเมียไปสู่ทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะหากมีสามีหรือภรรยาที่เป็นโรคธาลัสซีเมียหรือเป็นพาหะของโรคเหมือนกัน โรคธาลัสซีเมีย ตรวจเจอได้อย่างไร โรคธาลัสซีเมียรวมถึงสถานะการเป็นพาหะของโรค สามารถตรวจได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้ ตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin […]

สำรวจ โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย

ธาลัสซีเมีย อาการ สาเหตุ การรักษา

ธาลัสซีเมีย เป็นความผิดปกติที่ร่างกายสร้างฮีโมโกลบินที่ผิดปกติออกมา และส่งผลให้เกิดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไปและนำไปสู่โรคโลหิตจาง คำจำกัดความ ธาลัสซีเมียคืออะไร ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นภาวะความผิดปกติของเลือด ที่ร่างกายสร้างฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ซึ่งเป็นโมเลกุลโปรตีนภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนที่ผิดปกติออกมา ความผิดปกตินี้ส่งผลให้เกิดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไปและนำไปสู่โรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นอาการที่ร่างกายมีปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ปกติ และสุขภาพดีไม่เพียงพอ โรคธาลัสซีเมียนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดได้ หมายความว่ามีพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่เป็นโรคนี้ เนื่องจากการกลายพันธุ์ของยีน หรือการขาดชิ้นส่วนสำคัญของยีนบางชนิด โรคธาลัสซีเมียมีสองประเภทหลัก คือ อัลฟ่าธาลัสซีเมีย (alpha-thalassemia) และเบต้าธาลัสซีเมีย (beta-thalassemia) สำหรับโรคอัลฟ่าธาลัสซีเมียนั้น อย่างน้อยหนึ่งในยีนอัลฟ่าโกลบิน เกิดการกลายพันธุ์หรือผิดปกติ สำหรับโรคเบต้าธาลัสซีเมียนั้นคือ มีการส่งผลกระทบที่ยีนเบต้าโกลบิน โรคธาลัสซีเมียพบได้บ่อยได้แค่ไหน ตามที่ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC) ของสหรัฐฯ กล่าวไว้ก็คือ โรคธาลัสซีเมียพบได้มากในคนเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และประเทศในเขตเมดิเตอร์เรเนียน เช่น กรีซ หรือตุรกี แต่โรคนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดสอบถามแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคธาลัสซีเมียเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคธาลัสซีเมีย สัญญาณและอาการจะแตกต่างกันไป โรคธาลัสซีเมียระดับเบา โรคธาลัสซีเมียระดับเบามักจะไม่เกิดอาการใดๆ หากจะเกิดอาการก็คือ จะทำให้เกิดโรคโลหิตจางในระดับเบา โรคเบต้าธาลัสซีเมีย โรคเบต้าธาลัสซีเมียนั้นมีสองชนิดที่รุนแรงคือ โรคธาลัสซีเมียระดับรุนแรง และโรคธาลัสซีเมียอินเตอร์มีเดีย (Thalassemia Intermedia) ซึ่งเป็นโรคเบต้าธาลัสซีเมียในรูปแบบที่รุนแรงน้อยกว่า โรคโลหิตจางระดับรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ สัญญาณและอาการอื่นๆ อาจมีดังนี้คือ หงุดหงิด ตัวซีด ติดเชื้อบ่อย เบื่ออาหาร การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ดีซ่าน ซึ่งเป็นอาการผิวหนังหรือตาขาวเป็นสีเหลือง อวัยวะโต โรคธาลัสซีเมียในรูปแบบนี้มักจะรุนแรงมาก และจำเป็นต้องรับการถ่ายเลือดเป็นประจำ โรคอัลฟ่าธาลัสซีเมีย โรคอัลฟ่าธาลัสซีเมียก็มีสองชนิดที่รุงแรงเช่นกัน คือ โรคฮีโมโกลบินเอช (hemoglobin H disease) และภาวะทารกบวมน้ำ (Hydrops […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม