backup og meta

แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา วิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 2 สัปดาห์ก่อน

    แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา วิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ

    เมื่อเกิดอุบัติเหตุน้ำร้อนลวกบริเวณผิวหนัง หลายครั้งผู้ประสบอุบัติเหตุและคนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงอาจตกใจ ทำอะไรไม่ถูก และนึกถึงความเชื่อที่ได้ยินเรื่องการดูแลแผลน้ำร้อนลวก แต่ความจริงแล้ว แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา จึงจะปลอดภัย และวิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ ทำได้อย่างไรบ้าง

    วิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ

    การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับบาดแผลจากไฟไหม้ แผลพุพอง หรือแผลน้ำร้อนลวก มีดังนี้

  • ออกจากแหล่งความร้อนโดยเร็วที่สุด และกำจัดแหล่งความร้อนที่จะทำให้บาดแผลลุกลามมากขึ้น เช่น เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่อยู่บริเวณแผล
  • ล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติ เพื่อลดความร้อนและทำให้แผลเย็นลง
  • กรณีมีบาดแผลถลอก มีตุ่มน้ำ สีของผิวหนังเปลี่ยนแปลง มีบาดแผลลึก หรือมีแผลไหม้เป็นบริเวณกว้าง สามารถปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาด และให้รีบไปพบแพทย์
  • แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา

    การดูแลแผลน้ำร้อนลวกที่ดีที่สุด ควรล้างด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ หรืออาจใช้สบู่อ่อน ๆ เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อนล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นให้ซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วรีบไปพบแพทย์ ในกรณีที่แผลน้ำร้อนลวกไม่รุนแรง สามารถใช้ว่านหางจระเข้ไปวางบนแผล เพื่อบรรเทาอาการแสบร้อน ก่อนใช้ควรทำความสะอาดแผล แล้วนำว่านหางจระเข้มาปอกเปลือก ล้างยางสีเหลืองออกให้หมด ให้เหลือแต่วุ้นใส ๆ แล้วนำไปวางบริเวณที่เป็นแผล ส่วนผลิตภัณฑ์เจลว่านหางจระเข้ที่มีจำหน่ายที่ร้านขายยา ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือที่มีเครื่องหมาย องค์การอาหารและยา (อย.) เท่านั้น 

    แผลน้ำร้อนลวกไม่ควรใช้อะไรทา

    • ยาสีฟัน การนำยาสีฟันมาทาบนบาดแผลน้ำร้อนลวกไม่ได้มีส่วนช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น เสี่ยงทำให้แผลเกิดอาการระคายเคือง มีโอกาสติดเชื้อ และรักษาได้ยากขึ้น
    • น้ำปลา น้ำปลา ไม่ได้มีส่วนช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล ทำให้รู้สึกแสบแผล เสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้ออีกด้วย
    • น้ำแข็ง การนำน้ำแข็งมาประคบบริเวณแผล เพื่อบรรเทาอาการแสบร้อน ไม่อาจช่วยรักษาได้ แต่การใช้ความเย็นมาประคบบริเวณที่เกิดแผล จะสามารถบรรเทาอาการปวดได้ อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำแข็งมาประคบอาจทำให้แผลติดเชื้อ เพราะในน้ำแข็งอาจมีสิ่งสกปรกติดมาได้ 
    • เนย ไม่ควรทาเนยหรือสารอื่น ๆ ที่ไม่ทราบคุณสมบัติชัดเจนลงบนบาดแผล เพราะผิวหนังที่มีบาดแผลจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย 
    • แป้งหมี่ ไม่สามารถรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการที่แผลจะติดเชื้อได้

    เมื่อเกิดแผลน้ำร้อนลวก แผลพุพอง แผลไฟไหม้ ควรปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง เพื่อลดโอกาสในการลุกลามของบาดแผล ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงรวมถึงเกิดการติดเชื้อผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 2 สัปดาห์ก่อน

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา