สาเหตุที่อาจทำให้ เลิกบุหรี่ไม่ได้
นิโคติน
นิโคติน คือสารเสพติดชนิดหนึ่งที่พบได้ในบุหรี่ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้อย่างรวดเร็ว แต่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทำให้มีอาการเสพติดการสูบบุหรี่ รู้สึกว่าขาดการสูบบุหรี่ไม่ได้ เมื่อไม่ได้สูบบุหรี่ก็อาจแสดงอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ จนในที่สุดก็ต้องกลับไปสูบบุหรี่อีก หลายคนจึงเลิกบุหรี่ไม่ได้เสียที
การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายได้รับนิโคตินเข้าสู่ปอดและซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง และระบบเผาผลาญพลังงาน อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดไปยังทารกในครรภ์ผ่านทางรก น้ำคร่ำ เลือด และหากทารกกินนมแม่ที่สูบบุหรี่ ก็อาจได้รับนิโคตินผ่านน้ำนมแม่ด้วย
พันธุกรรม
พันธุกรรม เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อการเลิกบุหรี่ โดยเฉพาะเอนไซม์ไซโตโครมพี 450 (CYP2A6) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญนิโคติน จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์บูรพา เมื่อปี พ.ศ. 2554 ศึกษาเกี่ยวกับการยับยั้งเอนไซม์ไซโตโครมพี 450 ที่ย่อยสลายนิโคตินในคน พบว่า ผู้ที่มีอัตราการทำงานของเอนไซม์ไซโตโครมพี 450 ต่ำอาจมีแนวโน้มเลิกบุหรี่ได้ง่ายและเร็วกว่าผู้ที่มีอัตราการทำงานของเอนไซม์ไซโตโครมพี 450 สูง ดังนั้น การบำบัดโดยใช้ยายับยั้งเอนไซม์ไซโตโครมพี 450 ร่วมกับการบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่อื่น ๆ จึงอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการเลิกบุหรี่ให้สำเร็จได้มากขึ้นนั่นเอง
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย