ฟันน้ำนมผุ เป็นปัญหาสุขภาพฟันของลูกน้อยที่คุณพ่อและคุณแม่อาจจะมองข้ามความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพของฟันน้ำนมไป เพราะคิดว่าเดี๋ยวอย่างไรเสียฟันน้ำนมก็ต้องหลุดออกไป และมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ โดยหารู้ไม่ว่า ปัญหาฟันน้ำนมผุ นั้นอาจนำมาสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจฟันน้ำนมของลูกน้อยไม่ต่างจากการดูแลฟันแท้
[embed-health-tool-vaccination-tool]
ฟันน้ำนมผุ ปัญหาสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
ฟันน้ำนมผุ เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้ามจากคุณพ่อคุณแม่ เพราะเข้าใจว่าฟันน้ำนมนั้นเป็นเพียงฟันชุดแรก ซึ่งไม่นานก็ต้องหลุดออกไป และมีฟันแท้มาแทนที่ ดังนั้นฟันผุในฟันน้ำนมไม่น่าก่อให้เกิดปัญหาตามมา แต่ในความเป็นจริงนั้น ปัญหาฟันน้ำนมผุนั้นอาจส่งผลต่อสุขภาพปากและฟันของเด็กมากกว่าที่คิด
อาการฟันผุนั้นจะเกิดขึ้นจากการที่มีเศษอาหาร คราบนม หรือคราบน้ำหวานต่าง ๆ ตกค้างอยู่ภายในปาก เนื่องจากการที่พ่อแม่ให้เด็กทารกดื่มนม น้ำหวาน น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มหวาน ๆ ก่อนนอน โดยไม่แปรงฟันและบ้วนปากให้เรียบร้อย คราบเศษอาหารเหล่านี้จะกลายเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อแบคทีเรียภายในช่องปาก
เชื้อแบคทีเรียภายในช่องปากเหล่านี้จะสร้างกรดขึ้นมา กัดกร่อนชั้นผิวเคลือบฟัน และเนื้อฟัน ส่งผลให้เกิดอาการฟันผุ และปัญหาสุขภาพในช่องปากอื่น ๆ อาการฟันผุเหล่านี้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ ก็อาจส่งผลให้อาการลุกลาม และส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ เช่น
ปัญหาสุขภาพในช่องปากเหล่านี้ นอกจากจะสร้างความทรมานให้แก่ลูกน้อยแล้ว ยังอาจส่งผลให้ผู้ปกครองต้องเสียเงินค่ารักษาเป็นจำนวนมากอีกด้วย
เทคนิคป้องกันฟันผุในเด็กที่พ่อแม่ควรรู้
คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันของลูกน้อย ให้ห่างไกลจากปัญหาฟันน้ำนมผุได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- สำหรับเด็กทารก หลังจากป้อนนมหรือป้อนข้าวเสร็จ ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำ ถูเบา ๆ ในบริเวณเหงือก ฟัน และรอบ ๆ ปาก เพื่อกำจัดคราบอาหารที่ตกค้างอยู่
- แปรงฟันหลังรับประทานอาหารและก่อนอน หากเป็นเด็กเล็กมากอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาสีฟัน หากเป็นเด็กโตขึ้นมาหน่อย ควรเลือกใช้ยาสีฟันสำหรับเด็ก
- นวดเบา ๆ ที่เหงือกของลูกในจุดที่ไม่มีฟัน
- อย่าให้ลูกเข้านอนพร้อมกับขวดนมหรือน้ำหวาน ให้ป้อนเฉพาะแค่ในเวลาอาหารเท่านั้น
- จำกัดปริมาณขนมและน้ำหวานต่าง ๆ นอกจากนี้ ควรระวังอาหารที่มีน้ำตาลแฝงอยู่ เช่น ขนมปัง ข้าวขาว หรือน้ำผลไม้ต่าง ๆ อีกด้วย
- เมื่อฟันน้ำนมขึ้นจนครบ ควรให้ลูกได้รับฟลูออไรด์เพื่อปกป้องฟันอย่างน้อย 1 ครั้ง
- พาลูกไปตรวจสุขภาพของช่องปากและฟันเป็นประจำ
การดูแลสุขภาพฟันของลูกน้อยอย่างเหมาะสม จะสามารถช่วยป้องกันปัญหาฟันผุ ช่วยให้สุขภาพฟันและเหงือกของลูกแข็งแรง ไม่มีปัญหาฟันน้ำนมผุ และพร้อมสำหรับฟันแท้ที่จะขึ้นมาในภายหลัง นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกต หากพบว่าลูกมีสัญญาณของอาการฟันผุ ควรรีบติดต่อทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาในทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ ฟันของลูกอาจจะสึกกร่อน และส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันต่าง ๆ ได้