กรดไหลย้อนในทารก เป็นอาการที่คุณพ่อคุณแม่อาจพบได้หลังจากที่ลูกรับประทานอาหารเสร็จ โดยเฉพาะหลังจากที่ทารกดื่มนม เนื่องจากอวัยวะและการทำงานของระบบย่อยอาหารของทารกอาจยังพัฒนาไม่เต็มที่ ส่งผลให้ทารกอาจมีอาการแสบร้อนทรวงอก ไอ หายใจผิดปกติ ไม่สบายเนื้อสบายตัว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อนในทารก เพื่อเตรียมรับมือได้ทันหากลูกเผชิญกับปัญหากรดไหลย้อน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนในทารก
อาการแสบร้อนกลางทรวงอกในทารกและเด็กเล็กเป็นสัญญาณของการเกิดโรคกรดไหลย้อน อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหารซึ่งเชื่อมต่อระหว่างปากและกระเพาะอาหารบริเวณส่วนล่างของหลอดอาหารมีกล้ามเนื้อที่เรียกว่า กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้กรดไหลออกจากกระเพาะอาหาร หากกล้ามเนื้อส่วนนี้คลายตัวมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไป สร้างความระคายเคืองแก่หลอดอาหาร เกิดอาการแสบร้อนในทรวงอก แต่อาการกรดไหลย้อนในทารกอาจหายไปเองได้เมื่ออายุ 1 ขวบ
สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อนในทารก ส่วนใหญ่เกิดจากระบบย่อยอาหารที่ยังเจริญไม่เต็มที่ รวมถึงกรณีที่ทารกมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น น้ำหนักเกิน ได้รับสารพิษจากควันบุหรี่อาจมีอาการทางระบบประสาท สมองพิการ
อาการกรดไหลย้อนในทารก เป็นอย่างไร
อาการกรดไหลย้อนในทารก อาจทำให้ทารกรู้สึกแสบร้อนในทรวงอก บริเวณลำคอ และคอหอย ทารกบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ปวดหลัง เจ็บหน้าอก ไอ เสียงแหบ หงุดหงิด เจ็บปวดเมื่อกลืนอาหาร เจ็บคอ และหายใจมีเสียงหวีดร่วมด้วย
นอกจากความรู้สึกไม่สบายตัว ทารกที่มีอาการกรดไหลย้อนอาจมีปัญหาในเรื่องการเพิ่มน้ำหนักตัว มีแผลเกิดขึ้นในหลอดอาหารเนื่องจากกรดไหลย้อน หากไม่ได้รับการรักษากรดไหลย้อนอาจส่งผลให้หลอดอาหารแคบลงหรือเกิดเซลล์ผิดปกติในหลอดอาหาร และสัญญาณเตือนที่แสดงออกมา ดังนี้
- เจ็บหน้าอก
- หายใจไม่สะดวก
- เสียงแหบ
- ไอต่อเนื่อง
- กลืนอาหารลำบาก
- เจ็บคอ
- อาเจียน
- สำลักอาหาร
- ร้องไห้ระหว่างรับประทานอาหารหรือหลังจากรับประทานอาหาร
วิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อนในทารก
วิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อนในทารก อาจให้ทารกนอนในตำแหน่งสูงขึ้น การดื่มนมสูตรเข้มข้น การใช้จุกหลอก ทำให้เรอหรือจับทารกให้อยู่ในท่าตั้งตรงเป็นเวลา 30 นาทีหลังจากรับประทานนมหรืออาหาร นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีการดังต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการกรดไหลย้อนในเด็ก หากทารกมีอาการกรดไหลย้อนในทารกแย่ลง ควรพาเข้าพบคุณหมอ เพื่อการวินิจฉัยต่อไป
[embed-health-tool-vaccination-tool]