backup og meta

โรคครูป เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 18/12/2022

    โรคครูป เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร

    โรคครูป (Croup) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่จะมาจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งพบมากในเด็กเล็ก ๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือน-3 ปี โดยการติดเชื้อดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดอาการอักเสบที่บริเวณกล่องเสียงจนถึงหลอดลมส่วนต้น เป็นผลให้หลอดลมมีลักษณะบวมและตีบแคบ เพราะหลอดลมของเด็กเล็กมีขนาดเล็กจึงแสดงอาการได้ชัดเจน

    โรคครูป เกิดจากอะไร

    โรคครูปนั้นมักจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซา (Parainfluenza) ซึ่งสามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้จากการหายใจหรือสัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุที่มีเชื้อนี้เกาะอยู่ แต่บางรายก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยจะมีอาการรุนแรงมากกว่าการติดเชื้อไวรัส

    นอกจากนี้ โรคครูปยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคภูมิแพ้หรือแม้แต่หายใจเอาสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองเข้าไป ภาวะกรดไหลย้อน

    มักจะเริ่มจากมีอาการคล้ายโรคหวัดที่เป็นระยะเวลา 3-5 วัน เช่น มีไข้ น้ำมูกไหล คัดจมูก และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาแดง มีผื่นขึ้น เสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองบวม หายใจเสียงดัง หายใจลำบาก ไอแบบมีเสียงก้องหรือคล้ายเสียงเห่า จะมีอาการไอมากขึ้นเมื่อเกิดการอักเสบและโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน

    วิธีการรักษาโรคครูป

    เมื่อพาลูกไปพบคุณหมอก็จะได้รับการรักษาด้วยการวัดระดับออกซิเจน รวมถึงคุณหมออาจตรวจลักษณะการหายใจของเด็กว่ามีลักษณะเหนื่อยหอบหรือไม่ จากนั้นจะประเมินความรุนแรงของโรค ดังนี้

    • อาการไม่รุนแรง คุณหมอจะให้ยาสเตียรอยด์โดยการฉีดหรือรับประทาน หากมีอาการดีขึ้นก็สามารถกลับบ้านได้แล้วนัดติดตามอาการภายใน 24-48 ชั่วโมง
    • อาการรุนแรงปานกลาง คุณหมอจะให้พ่นยาอะดรีนาลีนเพิ่มเติมจากยาสเตียรอยด์ จากนั้น ประเมินอาการที่โรงพยาบาล 2-4 ชั่วโมง ถ้าเด็กมีอาการดีขึ้นก็กลับบ้านได้และนัดติดตามอาการต่อไป
    • อาการรุนแรงมากหรือเสี่ยงต่อภาวะหายใจล้มเหลว เด็กควรต้องได้รับการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้คุณหมอได้ดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด

    โรคครูปเป็นโรคที่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ เพราะฉะนั้นคุณหมอจึงจำเป็นต้องมีการนัดติดตามอาการเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในช่วง 24-48 ชั่วโมงหลังกลับบ้าน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นโรคที่มีความรุนแรงจนก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ยังถือว่ามีความเสี่ยงเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่มีผลกระทบต่อการหายใจด้วยเช่นกัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 18/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา