backup og meta

โรคทางเดินหายใจในเด็ก คืออะไร? สร้างปัญหาให้ลูกรักมากแค่ไหน มาดูกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 07/07/2021

    โรคทางเดินหายใจในเด็ก คืออะไร? สร้างปัญหาให้ลูกรักมากแค่ไหน มาดูกัน

    โรคทางเดินหายใจในเด็ก เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจและส่วนอื่น ๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน รวมไปถึงเด็ก ๆ โรคทางเดินหายใจมีอยู่หลายชนิดมากมาย แต่วันนี้เราขอนำ โรคทางเดินหายใจในเด็ก ที่พบบ่อยมาแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนได้รู้จัก เพื่อเรียนรู้โรคและเฝ้าระวังไม้ให้เกิดกับลูกรักของคุณ

    ป้องกันลูกรักให้ห่างไกลจากโรคร้าย มาเช็คตารางวัคซีนได้ ที่นี่

    โรคทางเดินหายใจ คืออะไร?

    โรคทางเดินหายใจ หมายถึงโรคที่ส่งผลต่อปอดและอวัยวะอื่น ๆ ในระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก คอ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ การหายใจเอาควันบุหรี่มือสอง การสืบทอดทางพันธุกรรม การผ่าตัด และการติดเชื้อ โดยเฉพาะกับเด็กที่ยังมีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงพอที่จะต่อต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่าง ๆ จนส่งผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจในเด็ก

    โรคทางเดินหายใจในเด็ก ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?

    โรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่พบบ่อย ได้แก่

    โรคหอบหืด

    โรคหอบหืดเป็นภาวะที่ทำให้ทางเดินหายใจมีอาการแคบลงและบวมขึ้น อาจผลิตเมือกเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ซึ่งอาการหอบหืดอาจเกิดขึ้นเมื่อคุณออกกำลังกาย หรืออาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเกิดอาการ ดังนี้

    • หายใจถี่
    • แน่นหน้าอกหรือเจ็บ
    • เมื่อหายใจออกมีเสียงดัง
    • ปัญหาการนอนหลับเกี่ยวกับการหายใจถี่ หรือหายใจมีเสียงหวีด
    • อาการไอ

    หากอาการแย่ลงอาจแสดงสัญญาณเหล่านี้

    • มีอาการโรคหอบหืดบ่อยครั้งขึ้น
    • หายใจลำบากขึ้น และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

    โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD)

    โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นหนึ่งใน โรคทางเดินหายใจ ที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ โดยจะมีอาการหลัก ๆ อยู่ 2 กลุ่ม คือ ถุงลมโป่งพอง และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจเกิดจากการสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่มือสอง แสดงอาการ ดังนี้

  • มีอาการหอบมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรม
  • อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะ
  • ติดเชื้อที่หน้าอกบ่อยครั้ง
  • หายใรมีเสียงดัง
  • โรคพังผืดในปอด

    โรคพังผืดในปอดเป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้เกิดแผลเป็นในปอด และมักส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื้อเชื่อมต่อในปอดและถุงลม ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นในทันที หรือเกิดอาการหลังจากเป็นโรคนี้นานหลายปีแล้ว อาการส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่

    • หายใจไม่ทั่วท้อง
    • ไอแห้งเป็นเวลานาน
    • มีอาการเหนื่อยล้า
    • หายใจถี่
    • น้ำหนักลดลง

    โรคปอดบวม

    โรคปอดบวม เกิดขึ้นจากการติดเชื้อและอักเสบของปอด การติดเชื้อจะทำให้ภายในปอดเต็มไปด้วยหนองและของเหลวต่าง ๆ อาการอาจมีตั้งแต่อาการเบา ๆ ไปจนถึงอาการรุนแรง ดังนี้

    • อาการไอ มีเสมหะสีเขียว หรือเหลืองและอาจมีเลือดปน
    • มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น
    • หายใจถี่และสั้น
    • มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงเมื่อหายใจ หรือไอ
    • เบื่ออาหาร
    • คลื่นไส้อาเจียน
    • เหนื่อยล้า

    ไซนัสอักเสบ

    ไซนัสอักเสบ เป็น โรคทางเดินหายใจ ที่เกิดจากการอักเสบหรือบวมในเนื้อเยื้อโพรงจมูก ไซนัสคือช่องว่างระหว่างกระดูกและดวงตาหลังโหนกแก้ม มีหน้าที่สร้างเมือกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นภายในจมูก รวมทั้งป้องกันฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ เมื่อเชื้อโรคสะสมอาจทำให้เกิดการอักเสบและแสดงอาการ ดังนี้

    อาการไซนัสเฉียบพลัน

    • ปวดบริเวณจมูก
    • น้ำมูกไหล
    • ลมหายใจมีกลิ่น
    • อาการไอ
    • มีไข้
    • กลิ่นปาก
    • ความเหนื่อยล้า

    อาการไซนัสเรื้อรัง

    • รู้สึกแน่นบริเวณใบหน้า
    • คัดจมูก
    • มีหนองในโพรงจมูก
    • มีไข้
    • น้ำมูกไหลผิดปกติ
    • ปวดหัว
    • มีกลิ่นปากและปวดฟัน

    หลอดลมอักเสบ

    เกิดการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมที่นำอากาศเข้าออกจากปอด และหลอดลมอักเสบอาจเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้ มักเกิดจากโรคหวัดหรือ โรคทางเดินหายใจ อื่น ๆ แสดงอาการ ดังนี้

  • ไอ
  • มีเสมหะสีใส สีขาว สีเทาอมเหลือง หรือสีเขียว
  • เกิดอาการเหนื่อยล้า
  • หายใจถี่
  • มีไข้เล็กน้อย หนาวสั่น
  • แน่นหน้าอก
  • ติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ (RSV)

    การติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ เป็นสภาวะที่อันตรายต่อเด็กทารกและเด็กเล็ก เพราะอาจทำให้เกิดอาการป่วยอย่างรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อาการที่พบอาจมีดังนี้

    • อาการน้ำมูกไหล
    • ความอยากอาหารลดลง
    • อาการไอ และหายใจเสียงดัง
    • หงุดหงิดง่าย
    • ทำกิจกรรมลดลง
    • เกิดภาวะหยุดหายใจ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 07/07/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา